top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 วิธีเตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤต COVID-19

ในขณะนี้ หลาย ๆ ท่านอาจจะเริ่มคุ้นเคยกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่ในช่วงวิกฤต COVID-19 และการกักกันตัว แต่ทุกคนยังคงสงสัยว่า เมื่อไหร่สถานการณ์จะดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันนี้ วันพรุ่งนี้ แต่เชื่อเถอะค่ะ ว่าในที่สุด การแพร่ระบาดของเชื้อต้องสิ้นสุดลง และเราทุกคนจะได้กลับไปทำงานที่บริษัท ไปร้านอาหาร ไปเข้าวัด กลับไปดำเนินชีวิตแบบที่เราคุ้นเคยอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่า หน้าตาชีวิตของเราหลังวิกฤตจะเป็นอย่างไร นักจิตวิทยากล่าวว่า ที่แน่ ๆ เลย ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะกลับไปเป็นตาม “ปกติ” ได้ ทุกคนจะมีอะไรหลายอย่างที่ต้องปรับและทำความเคยชินใหม่ เนื่องจากมีหลายคนต้องเผชิญ trauma หลากหลายในช่วงวิกฤต ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิตภายใต้ความวิตกกังวล ความโดดเดี่ยวจากการกักกันตัว สถานการณ์การเงินหรือการงานที่แย่ลง หรือความสูญเสียของคนรู้จักหรือคนในครอบครัวเพราะ COVID-19 เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มารวมกันแล้ว ถือว่าเป็น trauma ระดับสูง และมีแนวโน้มสูงที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ฉะนั้นแล้ว เราควรจะเตรียมพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับการดำเนินชีวิตหลังวิกฤตอย่างไรได้บ้าง โดยที่สุขภาพจิตของเราจะไม่โดนผลกระทบจาก trauma ไปมากกว่านี้ วันนี้เรามีคำแนะนำจากนักจิตวิทยามาฝากค่ะ




COVID-19 และ trauma เหมือนกันตรงที่เป็นโรคหรือภาวะที่ไม่หายไปเองง่าย ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติได้ออกมาเตือนว่า โรคระบาดอย่าง COVID-19 มีแนวโน้มที่จะทิ้ง trauma ไว้ให้กับคนทั่วโลก ถึงแม้ว่าในวันหนึ่งจะมีวัคซีนมารักษาแล้ว นักจิตวิทยาได้ออกมาเตือนและคาดคะเนว่า อีกปัญหาหนึ่งที่จะตามมาเมื่อทุกคนได้กลับไปทำงานแบบเมื่อก่อน คือ ภาวะเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน ในครึ่งหลังของปี พ.ศ.​ 2563 เนื่องจากว่า การกักกันตัวในระยะยาวส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะต่าง ๆ ก่อให้เป็นปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียด ภาวะหมดไฟ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาการนอนไม่หลับ ความวิตกกังวล อาการโกรธ ฉุนเฉียวง่าย ภาวะซึมเศร้า และอาการในกุล่มของโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD)


เนื่องจากการเผชิญกับวิกฤต COVID-19 เป็นเหมือนกับการต่อสู้กับศัตรูที่เรามองไม่เห็นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลในระบบประสาท ทำให้ร่างกายพร้อมตอบสนองต่อความเครียด 24 ชั่วโมง บางอาการที่เห็นได้ชัดว่าเกิดมาจากความเครียดคือ ใจเต้นเร็ว หายใจสั้น ความรู้สึกอ่อนแรง เป็นต้น และเมื่อผ่านไปนาน ๆ เราจะเริ่มล้า ทั้งทางกายและทางใจ และส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต ทีนี้ โดยปกติแล้ว เราจะมีวิธีดูแลสุขภาพจิตของกันและกันเบื้องต้น คือ การสัมผัสตัว (human contact) เวลาไปพบกัน เช่น การจับมือ การกอด แต่ในเมื่อการกักกันตัวหรือการเว้นระยะห่างจากสังคมทำให้เราไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ ความรู้สึกเหล่านี้จึงยิ่งยากที่จะรับมือ ทั้งนี้ ยังมีความกังวลหลายรูปแบบรอคอยหลังวิกฤตหายไป เช่น


  • อาการย้ำคิดย้ำทำ อันเนื่องมาจาก ยังมีความกลัวว่าจะเป็น COVID-19 เช่น การล้างมือบ่อยจนเกินไป

  • ความกลัวว่าเราจะสูญเสียคนที่เรารัก

  • ความรู้สึกไม่มั่นคงเพราะสถานะการเงินที่ถูกกระทบจากวิกฤต

  • สถานะการงาน

  • ความสัมพันธ์กับครอบครัวหรือคนรอบข้างที่เปลี่ยนไปหลังจากการกักกันตัว


ฉะนั้นแล้ว เราจะมีวิธีรับมือหรือดูแลสุขภาพจิตของเราอย่างไร ให้มีความพร้อมต่อโลกใบใหม่หลังวิกฤต


1. ไม่ทิ้งความหวัง


เราอยากย้ำกับทุกท่านว่า โรคนี้ สถานการณ์นี้ วันหนึ่งมันต้องสิ้นสุดลง ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้นเอง เป็นการให้ความหวัง แต่ไม่ใช่ความหวังที่เป็นลม ๆ แล้ง ๆ นะคะ เพราะว่า ที่เราคิดแบบนี้ได้ เป็นเพราะเรายึดความจริง อย่างเช่น การที่เราเริ่มเห็นความพัฒนาของบางประเทศที่สามารถควบคุมสถานการณ์ COVID-19 อยู่ ทำให้ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นความก้าวหน้า การนำข้อเท็จจริงลักษณะนี้มาให้ความหวังกับตัวเราจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพจิต และ เป็นสิ่งที่จะช่วยพาเราก้าวผ่านจุดนี้ไปได้


2. Self-Care


ไม่ว่าจะสถานการณ์ใดก็ตาม วิกฤตที่เล็กหรือใหญ่โต เราทุกคนต้องมี self-care พกติดตัวเสมอ เสมือนกับเป็นอาวุธต่อสู้ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ


self-care นี้สำคัญอย่างมากในการรับมือกับ trauma เพราะ self-care คือวิธีดูแลตัวเองและเป็นตัวช่วยป้องกันให้เราไม่จิตตกไปกับสถานการณ์ นักจิตวิทยาแนะนำให้เราหมั่นใช้ self-care สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะในช่วงวิกฤต COVID-19 หรือหลังจากนี้ เลือกวิธีดูแลตัวเองที่ดีต่อสุขภาพและใช้ได้ผลกับเรา อย่างเช่น การออกกำลังกาย ทำโยคะ คือ วิธีทำ self-care ที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าหากไม่ได้ผลกับเราเพราะเราเป็นคนไม่ชอบออกกำลัง ให้ลองวิธีอื่น เป็นดูภาพยนต์ที่ตัวเองชอบ ฟังเพลง ทำงานศิลปะ อะไรก็ตามที่จะสามารถดึงจิตใจเราขึ้นมาก่อนที่เราจะดิ่งไปกับสถานการณ์



3. H-A-L-T


นักจิตวิทยาต่างประเทศสอนให้ท่องตัวอักษร 4 ตัวนี้ไว้ HALT (การยับยั้ง) โดยที่ตัวอักษรแต่ละตัวหมายถึง Hungry, Angry, Lonely และ Tired เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือมีอาการในกลุ่มของ trauma ที่กล่าวไว้ข้างต้น ให้เราลองหยุดคิด นึกถึงคำว่า HALT และถามตัวเองว่า เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ใน 4 ความรู้สึกนี้ การใช้การยับยั้งและนึกถึงคำว่า HALT เป็นการช่วยให้เราตั้งสติ และเมื่อเราพบว่าเราอาจจะกำลังเป็น 1 ใน 4 ความรู้สึก หรือเป็นมากกว่า 1 ให้เราสูดหายใจเข้าลึก ๆ และบอกตัวเองว่า ถ้าเราหิว ให้เรากิน ถ้าเราโกรธ ให้จัดการกับความโกรธอย่างถูกวิธี ถ้าเราเหงา ให้หาคนคุยด้วย ถ้าเราเหนื่อย ให้พัก


4. หาเวลาให้ตัวเอง


การหาเวลาให้ตัวเอง เป็น self-care วิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเวลา 10-15 นาทีให้ตัวเองได้พักจากการ Work from Home การเลี้ยงลูก การดูแลพ่อแม่ การหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในบ้าน ให้ตัวเองได้พัก ทำอะไรที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและฟื้นฟูจิตใจเรา คนส่วนมากมักจะใช้ข้ออ้างว่า ไม่มีเวลา โดยที่อาจจะไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้ว หากเราไม่มีเวลา เราสามารถทำเวลาได้ (make time) เช่น เลิกงานแล้ว คุณพ่อหรือคุณแม่ อาจจะขอให้ทำอะไรบางอย่างให้ ท่านอาจจะบอกเราว่า “อ้าว เสร็จงานแล้ว ทำนี่ให้หน่อย” แต่ถ้าหากเราทำไม่ไหวหรือไม่อยากทำเพราะเหนื่อยจากการทำงาน เราสามารถปฏิเสธท่านได้ เพื่อที่จะไปทำอย่างอื่นที่เราอยากทำและฟื้นฟูจิตใจเรา


5. งดเสพข่าว


เราอยากเตือนทุกท่านอีกครั้งให้เลี่ยงการเสพข่าว หรือ ให้เลือกข่าวที่จะเสพ ติดตามได้พอประมาณและติดตามจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น ให้พอทราบสถานการณ์และวิธีรับมือ แต่ไม่ให้มากจนเกิดความกังวลในการใช้ชีวิต อย่างที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ว่า ข่าวบางข่าวเป็นข่าวดี เป็นการแถลงข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องบวก ทำให้เรามีความหวังและมีแรงสู้ให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง : Robinson, B.E. (2020). What will it be like when the lockdown lifts? [Blog post]. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/intl/blog/the-right-mindset/202004/what-will-it-be-when-the-lockdown-lifts

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page