top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เทคนิครักษา Work Life Balance กับการทำงานในสถานการณ์ Covid - 19


จากสถานการณ์ Covid – 19 ที่ความรุนแรงขึ้น ๆ ลง ๆ ทำให้ภาครัฐและเอกชนหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนมาตรการป้องกันโรค Covid – 19 และแนวทางการการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 กันเป็นรายสัปดาห์เลยทีเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างเรา ๆ เกิดความเครียด เพราะนอกจากภาระงานที่มหาศาลแล้ว ยังต้องเจอกับสถานการณ์ Covid – 19 ที่กระทบกับชีวิตไปเสียทุกด้าน แล้วยังจะต้องมาปรับตัวกับมาตรการและแนวทางการการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 ที่ปรับเปลี่ยนค่อนข้างบ่อยอีกประกอบกับสถิติจากกรมสุขภาพจิตเมื่อปี 2563 พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยในปี 2563 อยู่ที่ 7.37 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งสูงกว่าปี 2563 ที่อยู่ที่ 6.64 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งสอดคล้องกับระดับความรุนแรงของสถานการณ์โรค Covid – 19 ที่เกิดขึ้น และที่สำคัญ คือ ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ส่วนใหญ่อยู่ใน “วัยทำงาน” และเมื่อไปดูงานวิจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่องความเครียดจากการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 ก็ไปเจอผลการศึกษาทางจิตวิทยาของบริษัท 3M Asia ที่พบว่า 70% ของคนทำงานรุ่นใหม่ในประเทศไทย ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจิตจากสถานการณ์ Covid - 19 ซึ่งเป็นผลมาจากการเสีย Work Life Balance จากการ Work from Home โดย ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงข้อสังเกตในประเด็นด้านสุขภาพจิตจากการ Work From Home ว่า การ Work From Home เป็นการทำงานในสภาพแวดล้อมที่คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินมากนัก จนเป็นเหตุให้เกิดการเสีย Work Life Balance ได้


นั่นแสดงให้เห็นว่า Work Life Balance มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงาน แต่เพราะสถานการณ์ Covid – 19 จึงทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work From Home ที่ส่งผลให้เวลาในการทำงานกลืนเวลาส่วนตัว และทำให้งานรุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล ทำให้เสีย Work Life Balance และเสียสุขภาพจิตตามมา ทั้งนี้ พญ. วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 ได้แนะนำข้อสังเกตว่าเรามี “ความเครียด” ไว้ว่า สัญญาณแรกที่สังเกตพบได้เร็วที่สุดของความเครียดจากการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 มีดังนี้

  1. มีปัญหาเรื่องการนอน เพราะคิดมาก คิดวนเวียนเรื่องเดิมซ้ำ ๆ (นอนน้อยเกินไป หรือไม่ก็นอนมากเกินไป )

  2. มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ หงุดหงิดง่าย อดทนไม่ค่อยได้ หัวร้อนง่าย

  3. มีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย รู้สึกผิดง่าย ท้อแท้ เหนื่อยล้า

  4. รับประทานอาหารผิดปกติ (รับประทานน้อยเกินไป หรือไม่ก็รับประทานมากเกินไป)

  5. แยกตัวจากสังคม ไม่อยากพูดคุยกับใคร แม้แต่ในโลกออนไลน์ก็ตาม

  6. เบื่อหน่าย มีความสนใจในสิ่งที่ชอบลดลงมาก

  7. สมาธิไม่ดี ขาดสมาธิในการทำงานอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจึงได้เสนอแนะเทคนิครักษา Work Life Balance กับการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 เพื่อลดความเครียด และรักษาสุขภาพจิตของเราให้แข็งแรง ดังนี้ค่ะ


1. มีสติในการใช้ชีวิต


สติ คือ การอยู่กับปัจจุบัน คือ การรู้ตัวว่าปัจจุบันเรากำลังทำอะไรอยู่ เพราะถ้าเราไม่อยู่กับปัจจุบัน เราจะโหยหาอดีตอันแสนสุขที่สามารถออกไปทำงานได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่อง Covid – 19 หรือคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ซึ่งจะยิ่งทำให้เราทุกข์ใจไปกันใหญ่ ดังนั้น การอยู่กับปัจจุบันจะทำให้เรามีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำ และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ


2. พักผ่อนให้เพียงพอ


การพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นหัวใจสำคัญของ Work Life Balance เพราะถ้าเรานอนน้อย มีภาวะเครียดสะสม มันก็ง่ายต่อการสติแตก หรือประสาทเสียค่ะ เพราะฉะนั้น การนอนให้เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมที่มีความสุข จะช่วยรักษาสมดุลของชีวิต และรักษาสมดุลทางอารมณ์ของเราได้ค่ะ


3. มีปัญหา ต้องรีบหาทางระบายออก


ปัญหาไม่ใช่เงิน ไม่ต้องสะสมจนมันพอกพูนนะคะคุณผู้อ่าน เพราะเมื่อเรายิ่งพอกปัญหา ปัญหามันก็ยิ่งเพิ่ม แล้วมันจะผูกปมปนกันจนสางยาก กว่าจะรู้ตัวเราก็อาจมีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือมีปัญหาในความสัมพันธ์กับคนที่เรารักไปเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าปัญหาจะเล็ก หรือใหญ่รีบหาทางเอาออกไปจากใจเราตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการหาที่ปรึกษา หรือทำกิจกรรมระบายความเครียดก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีค่ะ


4. ออกกำลังกายให้ร่างกายสดชื่น


นอกจากการดูแลสุขภาพจิตแล้ว การดูแลสุขภาพร่างกายก็สำคัญไม่แพ้กัน แล้วยิ่งในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดเช่นนี้ ร่างกายที่ดีจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับเราได้ค่ะ เพราะฉะนั้นแบ่งเวลามาออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ก็ช่วยให้ร่างกายสดชื่นด้วยสารเอนโดฟินแล้วค่ะ


5. มองโลกในแง่ดี


เมื่อโลกมันร้าย สิ่งที่เราทำให้มันดีขึ้นได้ ก็คือ การมองโลกในแง่ดี พยายามหามุมบวกของสถานการณ์ต่าง ๆ แม้บางทีจะหายากก็ตาม เช่น เมื่อต้อง Work From Home ไปพร้อม ๆ กับการดูแลลูกที่เรียน Online ถึงแม้จะวุ่นวาย แต่เราก็ได้ใช้เวลาอยู่กับลูก หรือ เพราะ Covid – 19 ทำให้การประสานงานยากมากขึ้น แต่นั้นก็ทำให้เราก้าวข้ามข้อจำกัด และเอาชนะโดยการปรับแนวทางการทำงานจนสารถทำให้งานสำเร็จได้ เป็นต้นค่ะ


ข้อท้าทายของการทำงานในสถานการณ์ Covid – 19 ก็คือ การรักษา Work Life Balance ของเราเอาไว้ค่ะ เพราะมีปัจจัยกระตุ้นมากมายที่ทำให้เสี่ยงต่อการเสียสมดุลชีวิต ทั้งการทำงานไม่เป็นเวลา การถูกรบกวนโดยคนในบ้าน หรือข้อจำกัดในการทำงาน ด้วยความห่วงใยจากเรา Istrong หวังว่าเทคนิคที่ได้แนะนำไปข้างต้นจะสามรถช่วยคุณผู้อ่านในการรักษา Work Life Balance ให้พอดีได้นะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :


อ้างอิง :

1. Chatchai Nokdee. (2564, กรกฎาคม 9). จัดการกับความเครียด เมื่อต้อง Work From Home. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2565, มกราคม 27 จาก https://www.thaihealth.or.th/

2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (มปป.). ไหวมั้ย... “วัยทำงาน” รับมือความเครียดจากสถานการณ์ Covid – 19. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2565, มกราคม 27 จาก https://www.thaihealth.or.th/sook/info-mind-detail.php?id=192

3. จรีพร จารุกรสกุล. (2564, มีนาคม 3). Covid-19 และสุขภาพจิตในที่ทำงาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2565, มกราคม 27 จาก https://www.wha-group.com/th/news-media/company-news/

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก

บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และคุณแม่ของลูก 1 คน แมว 1 ตัว ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิต


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page