top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

วิธีพูดคุยกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า และคำพูดที่ต้องห้าม


โรคซึมเศร้า

โลกของคนที่เป็นโรคซึมเศร้ากับโลกคนทั่วไปนั้นแตกต่างกันอย่างมาก หลายครั้งที่การใช้คำพูดกับคนทั่วไปกลับไม่ได้ผล หรืออาจยิ่งเป็นการผลักให้เขาคนนั้นยิ่งดิ่งเศร้ามากขึ้นอีกก็ได้ ดังนั้นหากคุณไม่เคยเรียนรู้มาก่อนอาจจะยากที่จะสรรหาคำพูดที่เหมาะที่ควร ประการแรกที่ต้องตระหนักไว้อย่างมากคือ การรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจเงียบ ๆ สำคัญกว่าการพยายามให้คำแนะนำใด ๆ จำไว้ว่า อย่าพยายามรักษาหรือแก้ไขคนใกล้ตัวที่กำลังป่วย คุณเพียงทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยได้มากกว่า รวมถึงสนับสนุนให้เขาคนนั้นได้พูดความรู้สึกออกมา โดยคุณไม่ต้องตัดสินใด ๆ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะปลีกตัวเองให้ออกห่างจากผู้คนอยู่แล้ว คุณเพียงแค่พยายามแสดงความห่วงใยและปรารถนาที่จะนั่งรับฟังอย่างเงียบ ๆ โดยไม่ยอมแพ้ไปซะก่อน

☑︎ คำแนะนำในการเริ่มต้นบทสนทนา: “ฉันรู้สึกเป็นห่วงเธอ” “ช่วงนี้ฉันสังเกตว่าเธอเปลี่ยนไป เลยอยากถามว่าเป็นยังไงบ้าง” “ฉันอยากจะมาพูดคุยกับเธอ เพราะเห็นช่วงนี้เธอดูซึม ๆ ไป” ☑︎ คำถามที่สามารถใช้ถามได้: “เธอเริ่มรู้สึกแบบนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่” “มีอะไรเกิดขึ้นรึเปล่าที่ทำให้เธอเริ่มรู้สึกแบบนี้” “ฉันจะช่วยเธอได้ยังไงบ้าง” “เธออยากรับความช่วยเหลือในเรื่องนี้มั้ย” ☑︎ คำพูดที่สามารถใช้ได้: “เธอไม่ได้ตัวคนเดียวลำพังนะ เพราะฉันอยู่ที่นี่เพื่อช่วยเธอ” “ตอนนี้เธออาจจะยังนึกภาพไม่ออก แต่ความรู้สึกพวกนี้ไม่ได้อยู่ตลอด มันสามารถหายไปได้” “ฉันอาจไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เธอกำลังรู้สึกหรือเผชิญได้หมด แต่ฉันเป็นห่วงและอยากจะช่วยนะ” “เวลาที่เธออยากยอมแพ้ อยากให้เธอลองพยายามฝืนสู้กับมันไปอีกวัน อีกชั่วโมง หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ที่เธอสามารถทำได้” “เธอสำคัญกับฉันมากนะ” “บอกฉันได้มั้ยว่าอยากให้ฉันทำอะไรเพื่อช่วยเธอ” ☒ คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง: “ความรู้สึกพวกนี้มันอยู่แค่ในความคิดเธอ” “พวกเราทุกคนต่างก็เคยผ่านช่วงเวลาแบบนี้” “มองด้านดี (คิดบวก) ไว้สิ” “ชีวิตเธอยังมีคุณค่าอีกมากมาย ทำไมถึงอยากคิดสั้นล่ะ” “ฉันช่วยอะไรเธอไม่ได้จริงๆ” “อย่าไปสนใจความรู้สึกพวกนั้น” “ออกมาจากตรงนั้นสิ” “เธอมีปัญหาอะไร” “ยังไม่ดีขึ้นอีกเหรอ” สิ่งเหล่านี้คือไกด์ไลน์ สำหรับใครที่ไม่เคยมีความรู้และประสบการณ์ในการพูดคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน แต่จำไว้ว่า สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การพูด แต่คือการนั่งอยู่ข้างๆ และรับฟังเขาอย่างใส่ใจและไม่ตัดสินใด ๆ จากมุมมองของตัวเองต่างหาก


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

1 Comment


If you run into any problems while doing your research, don't hesitate to contact us https://researchpaperwriter.net/. Eleven years of experience, positive ratings on sites like Trustpilot and Sitejabber, and a wide variety of paper types they can handle are all reasons to be confident in their services. Among the numerous advantages are safeguards for personal information, rapid delivery, and assured high quality. On top of that, their 24/7 support is great for those times when you truly need it. Hopefully, this will assist you in having fewer writing assignments due for school.

Like
facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page