top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทำไมยังคิดถึงแฟนเก่า! 4 วิธีการตัดใจอย่างได้ผล


แพรเชื่อว่า หลายๆ คนคงเคยผ่านการผิดหวังในเรื่องความรักมาบ้าง และเข้าใจว่า ช่วงเวลานั้นมันช่างยากลำบากเพียงใด หากเรายังคงมีความรักหลงเหลืออยู่กับแฟนเก่าของเรา ความต้องการที่อยากจะก้าวเดินต่อไปข้างหน้า ต่อสู้กับความคิดถึงแฟนเก่าตลอดเวลา และต้องการกลับไปในวันเก่าๆ นำมาซึ่งความทุกข์ทรมานทางจิตใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ดูเหมือนไม่มีความสุขเลย

หลายคนอาจมีคำถามเหมือนกับแพรว่า การลืมใครสักคน และ เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำไมมันถึงยากเย็นขนาดนี้ วันนี้แพรมีบทความด้านจิตวิทยามาอธิบายกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองของเราหลังจากเลิกรากับคนรัก และ วิธีที่จะช่วยให้สมองของเราสามารถตัดใจได้ ให้ทุกคนทราบกันค่ะ

อาการอกหัก เป็นอาการที่เรารู้สึกเจ็บปวดทางจิตใจ ซึ่งนักประสาทวิทยาของมหาวิทยาลัย Columbia ได้ทำการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลของสมองต่อการเจ็บปวดทางใจ และ ทางกาย เอาไว้ โดยการ สแกนสมองผู้เข้าร่วมการทดลองซึ่งเพิ่งผ่านการเลิกรากับคนรักไม่เกิน 6 เดือน ด้วยเครื่อง MRI

ผู้เข้าทำการทดลองจะต้องดูรูป 3 รูปก่อนทำการสแกนสมองได้แก่


1) รูปคนรักเก่า และคิดถึงความทรงจำดีๆที่มีร่วมกัน


2) รูปเพื่อน


3) รูปที่มือกำลังเอื้อมไปจับของร้อน

ซึ่งผลของการสแกนสมองพบว่า สมองส่วน Insular และ anterior cingulate cortex ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการคาดการณ์ ตัดสินใจ การควบคุม และ ตอบสนองต่อความเครียดมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ ภาพ ของคนรักเก่า และ ภาพของร้อน ที่เหมือนกัน แต่ในขณะที่การดูเพื่อน ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองใดๆ

จากการทดลองนี้ สามารถสรุปได้ว่า สมองของเราให้ความสำคัญ และ ตอบสนองต่อความเจ็บปวดทางกาย และ ทางใจเหมือนๆ กัน ดังนั้น เมื่อเราอกหักสมองเลยโฟกัสไปที่ความเจ็บปวดนั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของมนุษย์ นั่นเอง

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการทดลองของนักประสาทวิทยา ชื่อว่า Lucy Brown และ Helen Fisher โดยการทดลองได้ทำขึ้นกับคนวัยหนุ่มสาว จำนวน 15 คน ซึ่งมีพฤติกรรมในการต้องการกลับไปขอคืนดีกับคนรักที่ไม่เหมาะสม เช่น ส่งจดหมาย หรือ ข้อความไปรบกวน ไปดักรอในสถานที่ต่างๆ และ มีอาการซึมเศร้า สิ้นหวังในชีวิต

ผู้เข้าทำการทดลองทั้ง 15 คนได้รับการสแกนสมองด้วยเครื่อง MRI หลังจากที่ดูรูปคนรักเก่า ซึ่งผลของ MRI พบว่า สมองส่วน Ventral Tegmental และ nucleus accumbens มีการตอบสนอง คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่มีอาการอยากยา

สมองส่วนดังกล่าวนี้ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การประสานงานของระบบให้รางวัล ความพึงพอใจ และการเสพติด ซึ่งสมองส่วนนี้จะหลั่งสารสื่อประสาท Dopamine เมื่อเรารู้สึกพึงพอใจ และมีความสุข เช่น เมื่อเราเจอคนที่เรารัก และ เมื่อเราเสพยา

สำหรับผู้เสพติดสมองจะพึ่งพายาเสพติดเพื่อกระตุ้นให้ Dopamine หลั่ง ทำให้พวกเขาต้องการเสพยา เพื่อที่จะรู้สึกดี เช่นเดียวกับคนที่อกหัก ที่พึ่งพาความสุขที่สร้างขึ้นจากการเจอ หรือ ทำกิจกรรมร่วมกับคนที่พวกเขารัก (เมื่อมีความสุข Dopamine จะหลั่งออกมา) นั่นเอง

จากการทดลองนี้ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เรารู้สึกทุรนทุรายใจ ไม่สามารถลืมคนรักเก่าได้ ไม่สามารถโฟกัสทำกิจกรรมใดแล้วมีความสุขได้ในช่วงแรกๆ ของการเลิกรา อย่างไรก็ตาม สมองก็พยายามที่จะช่วยให้เรากลับมามีชีวิตปกติสุขเช่นกัน โดยสมองส่วน orbito frontal/prefrontal cortex ที่เป็นสมองที่มีส่วนช่วยในการตัดสินใจ และสมองส่วน cingulate gyrus ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก จะถูกกระตุ้นให้ทำงานอย่างหนักในช่วงนี้ ส่งผลให้เรามีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และ การตัดสินใจที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ เราสามารถที่จะช่วยสมองของเราในการตัดใจจากคนรักเก่าได้ด้วย 4 วิธีดังต่อไปนี้


1. พยายามอย่าดูรูปคนรักเก่า ของต่างๆ ที่จะทำให้นึกถึงเขา หลีกเลี่ยงสถานที่ที่จะทำให้นึกถึงเขา เพราะสิ่งเหล่านี้ จะสร้าง dopamine ทำให้มีความต้องการที่จะอยากพบเจออีก


2. พยายามไม่คิดฟุ้งซ่าน โดยการหากิจกรรมอื่นๆ ทำเพื่อดึงดูดความสนใจของเรา

3. ออกกำลังกาย เป็นประจำ การออกกำลังกายจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นกับตัวเอง ทำให้เรารู้สึกกระฉับกระเฉง จัดการความรู้สึกซึมเศร้า ช่วยให้ร่างกาย ขับสาร endogenour opioids ที่จะช่วยสร้างความรู้สึกดี และทำให้ dopamine หลั่ง


4. คิดถึงเรื่องแย่ๆ ในความสัมพันธ์​ ที่เป็นสาเหตุให้ความสัมพันธ์ครั้งนี้ต้องจบลง

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี

ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK

มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iStrong


Comentários


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page