นักจิตวิทยาคือใคร ! เมื่อไหร่ที่ต้องไปหา
คำว่า “นักจิตวิทยา” ที่คนส่วนใหญ่คิดว่า “นักจิตวิทยา” คือหมอดู และคนที่เรียนจิตวิทยาทุกคน จะได้เจอกับคำถามที่ว่า “บอกเราหน่อยสิ ว่าเราเป็นคนอย่างไร?” เดี๋ยวก่อนค่ะทุกคน พักก่อน จริง ๆ แล้ว “นักจิตวิทยา” ไม่ใช่หมอดู ถึงแม้ว่านักจิตวิทยาหลายคนจะชอบดูดวง หรือหลายคนจะดูดวงเป็นก็ตาม แต่นักจิตวิทยาก็คือ ผู้ที่ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางด้านจิตใจของคนเรา รวมถึงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการประเมินทางจิต เพื่อค้นหาโรคทางจิตเวช หรือปมทางจิตใจเพื่อนำมาแก้ปัญหาชีวิตให้ผู้รับการบำบัดต่อไป และยังสามารถทำการวิจัยทางจิตวิทยาเพื่อสร้างองค์ความรู้ เช่น บทความจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิทยา เครื่องมือ หรือวิธีการบำบัดต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนได้ ซึ่งนักจิตวิทยาในบ้านเราก็ได้แบ่งประเภทตามความเชี่ยวชาญ ออกมาเป็น 6 ความเชี่ยวชาญด้วยกัน ได้แก่
1. นักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist)
คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) และมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในหน่วยงานทางการแพทย์และสถานพยาบาลต่าง ๆ
2. นักจิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychologist)
คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาทุกสาขา ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้ผู้ที่มารับบริการได้เข้าใจปัญหาของตนเองได้อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการสำรวจภายในตนเอง จนสามารถตระหนักรู้ในตนเอง ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่ตนมี และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคคล
3. นักจิตวิทยาอุตสาหกรรม หรือ นักจิตวิทยาองค์กร (Industrial Psychologist)
ที่เรารู้จักกันดีในนาม HR (Human Resource) ของบริษัทนั่นเอง คือ ผู้ที่ทำการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตั้งแต่บุคลากร ผู้บริหาร หรือลูกค้า เพื่อนำมาวิเคราะห์ วิจัย และนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ ในองค์กรทุกด้าน เช่น ขั้นตอนการผลิต การติดต่อสื่อสาร โฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเขียนบทความจิตวิทยา เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินการตามเป้าหมายได้สำเร็จ และบุคลากร และลูกค้ามีความสุขกับองค์กร
4. นักจิตวิทยาสังคม (Social Psychologist)
คือ นักจิตวิทยาผู้ทำหน้าที่ศึกษาพฤติกรรมของคนในสังคมอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีการวิจัยทางจิตวิทยา เช่น ศึกษาเรื่องอำนาจระหว่างบุคคล ศึกษาเรื่องการอยู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคล เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือ ทฤษฎี หรือวิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมในอนาคตค่ะ
5. นักจิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychologist)
คือ นักจิตวิทยาผู้ทำการศึกษาบุคคลตามช่วงอายุ ตั้งแต่แรกคลอด จนถึงวัยชรา ทั้งเรื่องร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม ความคิด ความสามารถ เป็นต้น โดยการใช้เครื่องมือและทฤษฎีทางจิตวิทยาในการประเมินพัฒนาการของบุคคล และให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา และบำบัดรักษาปัญหาพัฒนาการของบุคคลให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขที่สุดค่ะ
6. นักจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychologist)
คือ เป็นนักจิตวิทยาที่ทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมของนักเรียน/นักศึกษา กับกระบวนการให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา และให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา แก่ นักเรียน/นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานทางวิชาการต่าง ๆ
มาถึงตรงนี้ทุกคนได้รู้จักความหมายของ “นักจิตวิทยา” กันแล้วนะคะ คำถามสำคัญต่อไป ก็คือ “แล้วเมื่อไรเราถึงต้องไปหานักจิตวิทยา?” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้ให้ข้อสักเกตไว้ 17 ข้อ ดังนี้ค่ะ
มีความกังวลใจ ทุกข์ใจ ซึมเศร้า ตลอดเวลา จนเก็บไปฝัน
หวาดระแวงในทุกสิ่ง แม้แต่สิ่งที่เป็นเรื่องปกติ เช่น เสียงข้อความ Line เสียงรถจักรยานยนต์ บุคคลที่มีลักษณะคล้ายคนที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกทางลบ เป็นต้น
รู้สึกเครียดตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย หัวร้อน ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ จุดเดือดต่ำ พร้อมเหวี่ยงวีนใส่ทุกคน
มีความกระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข ตั้งสมาธิลำบาก ความจำสั้น
การตัดสินใจไม่ดี ความสามารถในการแก้ปัญหาแย่ลงแม้จะเป็นเรื่องง่าย ๆ หรือ เรื่องในชีวิตประจำวันก็ตาม
ได้ยินเสียงแว่ว เสียงที่ไม่มีอยู่จริง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเสียงด่า เสียงนินทา หรือเสียงคำสั่ง ให้ทำร้ายตัวเอง หรือคนอื่น
เห็นภาพหลอน ภาพที่ไม่มีอยู่จริง
มีความคิดทำร้ายตนเอง
คิดว่าคนอื่นมองเราไม่ดี คิดว่าไม่มีใครรัก คิดว่ามีคนต้องการทำร้าย
มีความคิดติดอยู่ในเรื่องเก่าที่เป็นความผิดพลาดของเราเอง หรือคิดถึงแต่ความผิดหวังความล้มเหลวในอดีต ไม่มูฟออนเสียที
มีความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดเปลี่ยนไปมา คิดพร้อมกันหลายเรื่อง ตั้งหลักไม่ได้
ไม่ดูแลตัวเอง ไม่สนใจเรื่องการดูแลความสะอาดร่างกาย ไม่ดูแลห้องส่วนตัว หรือไม่ดูแลคนในปกครอง หรือสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน
เก็บตัว ไม่สนใจคนรอบข้าง แยกตัวจากสังคมทั้งสังคมจริง และสังคมออนไลน์
นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย หรือ นอนมากผิดปกติ หลับทั้งวัน แต่ก็ยังนอนไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อย เพลียตลอดเวลา
เบื่ออาหาร กินน้อยลงมาก ไม่มีความรู้สึกอยากอาหาร หรือ กินมากผิดปกติ หิวตลอดเวลา กินเท่าไรก็ไม่อิ่ม
ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย จ่ายเงินรวดเร็วและร้อนแรง จ่ายเงินโดยไม่คิด
ดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่มากกว่ากติ หรือมีการใช้สายเสพติด
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
บทความแนะนำ
อ้างอิง
ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก
บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และคุณแม่ของลูก 1 คน แมว 2 ตัว ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิต
Comments