top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 เทคนิคจัดการกับนิสัยชอบผัดวันประกันพรุ่ง

นิสัย ชอบผลัดวันประกันพรุ่ง เป็นข้อจำกัดที่ใหญ่มาก ต่อการประสบความสำเร็จในสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน แพรว่า ทุกคนรู้ตัวดีอยู่แล้วว่าอะไร ควรทำ หรือไม่ควรทำ เรารู้ดีว่าถ้าเราอยาก หุ่นดี และ สุขภาพดี เราต้องออกกำลังกาย แต่ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ที่เรามักยกขึ้นมา เพื่อ ที่จะไม่ทำกิจกรรมนั้น แต่เอาไว้ในโอกาสหน้า เช่น วันนี้เหนื่อยมากเลย เอาไว้ค่อยเริ่มต้นพรุ่งนี้หละกัน เป็นต้น


จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถจัดการนิสัยนี้ของเราได้ในปี 2019 เราคงสามารถประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้เยอะทีเดียว วันนี้แพรมี 4 วิธีการในการ จัดการกับนิสัย ชอบผัดวันประกันพรุ่ง มาฝากทุกคนค่ะ



1.ก้าวข้ามความกลัวของตัวเอง


ฝึกสนทนาภาษาอังกฤษ

หลายๆ คนไม่ยอมลงมือทำอะไรสักอย่างเพราะลึกๆ แล้วเรามีความกลัวอยู่ข้างใน ตัวอย่างเช่น เราอาจจะกลัวที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษ เนื่องจากเรากลัวความผิดพลาด กลัวโดนคนล้อเลียน แต่ในทางกลับกัน เราก็รู้ดีว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก และจะช่วยเพิ่มโอกาสความก้าวหน้าทางหน้าที่การงานของเราอีกมาก


ขั้นแรกคือ ทำความเข้าใจว่า เหตุผลที่เราไม่ยอมลงมือทำสิ่งๆ นั้นสักที อันที่จริงแล้ว เป็นเพราะความกลัวอะไรสักอย่างหรือเปล่า ระบุความกลัวในจิตใจของเราให้ได้ การแก้ปัญหาความกลัวก็คือ การเผชิญหน้ากับมัน เราอาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น เราจะลองให้เพื่อนที่เรารู้สึกวางใจ ลองพูดภาษาอังกฤษกับเรา ลองพูดหรืออ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง และอัดเทป ฟัง แล้วค่อยๆ ขยาย comfort zone ของเราออกไปเรื่อยๆ การเริ่มลงมือทำ แม้เพียงจุดเล็กๆ แต่ทำอย่างต่อเนื่องจากสร้าง momentum ให้เราบรรลุเป้าหมายใหญ่ที่เราวางไว้ได้ค่ะ



2. ก้าวข้ามความรู้สึกว่าสิ่งที่อยากทำมันใหญ่เกินไป งานมันเยอะ และยากเกินไปที่เราจะทำได้

การที่เรามองภาพรวม หรือปลายทางที่เรา

ก้าวข้ามความคิดว่าเราจะทำไม่ได้

วางไว้ มันอาจดูเหมือนยากมาก กว่าที่จะทำมันให้สำเร็จได้ ตัวอย่างเช่น เราอยากจะลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม แต่กว่าที่จะทำได้มันต้องออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร และต้องต่อสู้กับจิตใจตัวเองในการเปลี่ยนอุปนิสัยหลายๆ อย่างของตัวเอง เราอาจจะเริ่มด้วยก้าวเล็กๆ เช่น เราจะงดทานน้ำอัดลม พอเราเริ่มทำได้หนึ่งอย่าง เราก็ค่อยๆ ขยายสิ่งที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทีละนิด และให้โฟกัสที่กิจกรรมเล็กๆ ที่เรากำลังจะทำ มีความสุขและสนุกไปกับมัน แทนที่จะพยายามทำทุกอย่างให้ได้ภายในเวลาเดียวกัน



3.ก้ามข้ามความรู้สึกที่ว่า เราไม่มั่นใจว่าเราจะทำมันได้


เรามั่นใจว่าจะทำได้


หลายๆ ครั้งเวลาเราตั้งเป้าหมายอะไรสักอย่างแล้วมันดูยิ่งใหญ่มาก ณ.ตอนนี้ เรายังแทบนึกไม่ออกเลยว่า เราจะไปถึงเป้าหมายที่เราทำไว้ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น อยากมีรายได้ เดือนละ 100,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่ตอนนี้เรามีรายได้ 30,000 บาท การที่เราบอกสมองว่า เป็นไปไม่ได้หรอก สมองเราจะหยุดคิดหาวิธีไปตั้งแต่แรกแล้ว แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราพยายามจะหาวิธีการที่จะให้ได้รายได้เดือนละ 100,000 บาท เราจะพยายามหาหนทาง อาจจะเริ่มจากเล็กๆ โดยการค้นหาความสามารถพิเศษที่พอจะสร้างมูลค่าได้ (ความสามารถที่ตลาดต้องการ มีคนพร้อมที่จะจ่ายเงินให้เรา) เช่น เราอาจจะเก่ง คณิตศาสตร์ เราก็ไปรับสอนนักเรียนที่ต้องการคนติว เป็นต้น พอเราทำไปเรื่อยๆ เราจะเจอช่องทางมากขึ้น และในที่สุดเรากก็จะประสบความสำเร็จที่ตั้งไว้ แทนที่คิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ และไม่ลงมือทำอะไรเลย



4.ก้าวข้ามความคิดที่ว่า รอให้ทุกอย่างพร้อม ต้องการความสมบูรณ์แบบ


ลงมือทำเลย

ในโลกปัจจุบันที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง และก้าวไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็ว การที่เรารอให้ทุกอย่างพร้อม สิ่งต่างๆ หรือข้อมูลต่างๆ อาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ได้ ไม่เพียงเท่านั้น คุณไม่มีทางจะมั่นใจว่าคุณเข้าใจ และมีความพร้อมในทุกด้านหากคุณไม่เคยลงมือทำมันอย่างแท้จริงๆ การผัดวันประกันพรุ่ง เพื่อรอความพร้อม ต้องการความสมบูรณ์แบบ อาจเป็นสิ่งที่ฉุดคุณไว้กับที่ ในขณะที่คนที่ลงมือทำ แม้ไม่พร้อม เขาอาจจะผิดพลาด ล้มเหลว แต่เขาจะเรียนรู้และเจอโอกาสใหม่ๆ ที่ทำให้เขาก้าวไปข้างหน้า แต่ก็ไม่ใช่ลงมือทำ โดยไม่คิดวิเคราะห์เบื้องต้นเสียก่อนเลย หากคุณมีสิ่งที่อยากทำ มีข้อมูลเบื้องต้น และยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ ก็ขอให้ลงมือทำเลย คุณจะเรียนรู้จากสิ่งที่คุณทำระหว่างทางเยอะมาก และมันจะมีคุณค่ามากๆ กับชีวิตของคุณในการเกิดมาครั้งหนึ่งเป็นอย่างมาก


แพรชอบ quote ของ Tony Robbins ที่บอกว่า “You see, in life, lots of people know what to do, but few people actually do what they know. Knowing is not enough. You must take action.”


มาเริ่มลงมือทำกันเถอะค่ะ ☺

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page