top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เทคนิคปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจาก Covid - 19 รอบ 2


ในขณะที่ประเทศไทยของเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะปกติ แล้วจู่ ๆ ก็มีข่าวการระบาดของ Covid - 19 รอบ 2 ซึ่งทำให้เกิดความตระหนก วิตก และประสาทกินกันเป็นแถบ ๆ แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อวัคซีนยังไม่ออกมา และ Covid - 19 ก็ยังคงระบาดอย่างหนักอยู่ทั่วโลก เราสามารถยื้อกันมาได้หลายเดือน ก็เก่งมากแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นในเมื่อ Covid - 19 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกัน เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เราก็มาดูวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจาก Covid - 19 ตามหลักจิตวิทยา เพื่อการรักษาสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของเราในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบกันดีกว่าค่ะ


1. มีการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสม


บทเรียนจากการแพร่ระบาดของ Covid - 19 รอบที่แล้ว สอนให้เรารู้โดยที่นักจิตวิทยาไม่ต้องบอก ว่าควรมีเงินเก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพราะผลของการแพร่ระบาดของ Covid - 19 รอบแรก ทำให้หลายคนถูกลดเงินเดือน ถูกออกจากงาน เป็นหนี้ ขายบ้าน ขายรถเพื่อความอยู่รอด


ดังนั้น ในครั้งนี้หากมีการแพร่ระบาด ของ Covid - 19 อีกครั้ง ภูมิคุ้มกันแรกที่เราต้องมีเพื่อความมั่นคงของจิตใจ และชีวิตของเรา ก็คือ การมีเงินเก็บสำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉินค่ะ


2. อย่าหยุดเรียนรู้


เทคนิคต่อมาที่นักจิตวิทยาแนะนำให้นำมาใช้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจาก Covid – 19 ก็คือ การติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งเรื่องการแพร่ระบาดของ Covid - 19 ความก้าวหน้าของวัคซีน สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในภาวะวิกฤติที่กำลังจะเกิดขึ้น และอื่น ๆ ที่ควรรู้ค่ะ เพื่อให้เรามีองค์ความรู้มากพอที่จะนำมาใช้ในการวางแผนชีวิต และเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น


3. ยืดหยุ่น และพร้อมเปิดใจ


ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และไม่สามารถคาดเดาได้ เทคนิครับมือทางจิตวิทยาที่ดีอีกข้อหนึ่ง คือ ความยืดหยุ่น และความพร้อมที่จะเปิดใจค่ะ เพราะโดยธรรมชาติของคนเรามักจะคุ้นชินกับเรื่องเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในทุกวัน แต่ถ้าวันหนึ่งที่ Covid – 19 กลับมาแพร่ระบาดในประเทศอีก จะทำให้เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น คนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคระบาด ที่ทำงานปิดตัว ลูกค้าหาย ซึ่งความยืดหยุ่น จะทำให้เราสามารถมองหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลายและสร้างสรรค์ได้ รวมถึงความพร้อมในการเปิดใจจะทำให้เรา “อยู่เป็น และเย็นพอ” ค่ะ

4. จงเป็นมนุษย์


ในสถานการณ์ที่กดดัน บีบคั้น และมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มักจะทำให้เรามีข้ออ้าง ในการทำผิดได้ง่าย ๆ เลยค่ะ ทั้งการลักขโมยเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในเรื่องจำเป็นที่บ้าน การทุจริตเพื่อเอา ตัวรอดจากสถานกการณ์เฉพาะหน้า หรือการเอาเปรียบคนอื่นเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด


ดังนั้นแล้ว การที่จะทำให้เรารอดพ้นสถานการณ์วิกฤติเช่น การแพร่ระบาดของ Covid – 19 ไปได้ ก็คือ “การเป็นมนุษย์” ซึ่งก็คือ มองเห็นทุกคนเป็นคนเหมือนกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา อยู่ในความถูกต้อง ให้เกียรติตนเองไปพร้อม ๆ กับการให้เกียรติคนอื่น


5. รู้จักพอ


การรู้จัก “พอ” ในที่นี้ ก็คือ การรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร แค่ไหน เท่าไหร่ มีการประมาณตนว่ามีความสามารถในการหาเงิน หรือทรัพยากรอื่นเพื่อนำมาแลกสิ่งที่ต้องการมากแค่ไหน และจัดสมดุลของความต้องการและความสามารถในการหาเงินให้ “พอดี” กัน ก็จะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่เป็นหนี้ แม้ในสถานการณ์วิกฤติ



การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่เข้ามาในชีวิตเราโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า และหากเราไม่เตรียมการรับมือให้ดี มักจะทำให้เกิดวิกฤติในชีวิต ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงหวังว่า 5 เทคนิคทางจิตวิทยาสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง จะสามารถเป็นแนวทางให้คุณสามารถเอาตัวรอดจากการเปลี่ยนแปลงจาก Covid – 19 ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้นะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก

บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช.

และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี

เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี

ปัจจุบันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยา ในการปฏิบัติงานมากว่า 6 ปี


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page