top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นักจิตวิทยาแนะนำดูแลสุขภาพจิตด้วย 7 เทคนิคฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)


ทุกวันนี้เหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากๆเลยค่ะ ทักษะที่สำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเร็วแบบนี้ได้ นั่นก็คงหนีไม่พ้น การฝึกคิดยืดหยุ่น หรือ Cognitive Flexibility ก็ต้องอ้างถึงคำพูดของ Charles Darwin ผู้ที่ทำให้เราต้องเรียนชีววิทยา ที่ว่า “It is not the strongest of the species that survives, nor the most intelligent that survives. It is the one that is the most adaptable to change” หรือแปลเป็นไทยโดยดิฉันเองว่า “ผู้ที่ปรับตัวในสถานการณืที่เปลี่ยนแปลงคือผู้อยู่รอด” ซึ่งในวิกฤติต่าง ๆ ที่เราได้ผ่านมา และยังไม่ผ่านไป ทั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง สินามิ หรือ Covid – 19 ก็ตามต่างพิสูจน์ว่า คนที่ปรับตัวได้ย่อมอยู่รอด เช่น ธุรกิจ Delivery ที่เฟื่องฟู หรือการชอปปิ้งออนไลน์ หรือการทำคอนเทอนต์ออนไลน์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นั่นแสดงให้เห็นว่า หากเราต้องการอยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกวันนี้ก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าเสียด้วย เทคนิคฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) จึงสำคัญอย่างมากค่ะ เพราะนอกจากจะรักษาสุขภาพจิตของเราให้ปกติสุขแล้ว ยังช่วยทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้โดยได้รับผลกระทบน้อยที่สุดด้วยละค่ะ ซึ่งเทคนิคฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) ที่นำมาฝากในบทความจิตวิทยานี้ ทั้ง 7 เทคนิคมีอะไรกันบ้างนั้น มาดูกันเลยค่ะ


1. ลองทำสิ่งเดิมด้วยวิธีใหม่


ถึงแม้สถานการณ์หลายอย่างในชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็จะมีบางสิ่งที่ไม่เปลี่ยนตาม ก็คือ หน้าที่การงาน ครอบครัว และ Life style ดังนั้น เทคนิคการฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) แรกที่แนะนำ ก็คือ การทำสิ่งเดิมนั่นละค่ะด้วยวิธีใหม่ เช่น ลองเดินทางมาทำงานด้วยวิธีที่แตกต่าง เช่น เคยมาทำงานด้วยรถส่วนตัว ลองเปลี่ยนมานั่งพี่วิน ขึ้นรถเมล์ นั่ง BTS MRT ต่อรถสองแถว ลงเรือบ้าง เผื่อได้เห็น ได้สัมผัสอีกความรู้สึกหนึ่งของการใช้ชีวิต และเผื่อได้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ในการทำงานด้วยค่ะ


2. ลองทำสิ่งใหม่ที่ท้าทาย


เมื่อได้ลองทำสิ่งเดิมด้วยวิธีใหม่แล้ว ทีนี้เราก็ลองไปทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายบ้าง เช่น ไปเที่ยวในที่ที่ไม่เคยไป แบบไปทะเลมัน out ไปเดินเขาดีกว่า หรือจะหนีงานไปอยู่เกาะ หนีเมืองไปเที่ยวป่า ก็เป็นการเติมไฟให้ชีวิตรู้สึกสดชื่น สมองได้พักผ่อนได้อย่างดีเลยค่ะ หรือจะลองไปทำในกิจกรรมใหม่ ๆ เช่น ทำอาหาร งานช่าง งาน DIY ทำสวน ก็ทำให้เราค้นพบตัวเองในอีกมุมหนึ่ง และยังทำให้เราภูมิใจในตัวเอง ผ่อนคลาย มีความสุขในการใช้ชีวิต และรักษาระดับสุขภาพจิตให้ปกติสุขด้วยละค่ะ


3. พบปะผู้คนที่หลากหลาย

การพบปะผู้คนที่หลากหลายเป็นการฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) ที่ดีเลยค่ะ เพราะการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์เรียนรู้สิ่งใหม่ แลกเปลี่ยนมุมมองชีวิตที่แตกต่าง ให้เราได้รู้จักโลกผ่านประสบการณ์ของผู้คนต่าง ๆ ที่เราพูดคุยด้วยนั่นเองค่ะ


4. เปิดใจรับสิ่งต่าง ๆ อย่างไร้อคติ


ปัญหาสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถปรับตัวได้ หรือไม่สามารถฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) ได้ก็คือ “การมีอคติ” ค่ะ เพราะเมื่อเรามีอคติ เราก็จะปิดการรับรู้ ไม่เชื่อถือ ไม่รับฟังไปเลยทำให้เราขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทักษะใหม่ ๆ หรือปิดโอกาสที่จะๆได้รับประสบการณ์ใหม่ที่จะช่วยให้เราได้พัฒนาตัวเองในการปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ไปพร้อม ๆ กับการมีสุขภาพจิตที่ปกติสุขไปพร้อม ๆ กันค่ะ


5. ลดการตัดสินสิ่งต่าง ๆ


นอกจากการไม่มีอคติต่อสิ่งต่าง ๆ แล้ว สิ่งสำคัญอีกข้อที่ช่วยในการฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) ก็คือ การไม่ด่วนตัดสิน ซึ่งจริง ๆ แล้ว เป็นจุดเริ่มต้นของการไร้อคติเลยละค่ะ เพราะเมื่อเราไม่ตัดสินว่าสิ่งใดดี หรือไม่ดี โดยที่เราไม่รู้จักสิ่งนั้นเลย เราก็จะเปิดใจลองทำสิ่งนั้น หรือเรียนรู้สิ่งนั้น หรือรับฟังสิ่งนั้นจากคนอื่น ๆ ซึ่งการที่เรารับรู้ รับฟัง หรือลองทำในสิ่งที่แตกต่าง จะช่วยให้เรามีความรู้ มีทักษะชีวิตที่หลากหลาย และสามารถนำความรู้ หรือทักษะนั้นมาปรับใช้ในสถานการณืที่เปลี่ยนแปลงไปได้ค่ะ


6. ออกไปดูโลกให้กว้างขึ้น


การออกไปเที่ยว ไปใช้ชีวิตในสังคมที่ต่างจากเดิม ช่วยได้มากเลยค่ะในเรื่องการฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) เพราะเมื่อเราได้ลองไปใช้ชีวิตในวิถีใหม่ ลอง Life style ที่ต่างจากเดิม จะทำให้เราได้ลองปรับตัว พลิกแพลง และได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงจากการที่เราได้ไปเที่ยว ไปค้างบ้านเพื่อน ไป Home Stay นี่ละค่ะ


7. ช่างมันบ้างจะเป็นไร


เทคนิคสุดท้ายที่จะแนะนำในบทความจิตวิทยานี้ ก็คือ การปล่อยวาง หรือพูดแบบบ้าน ๆ ว่า ช่างมันเถอะ เพราะทุกอย่างในโลกไม่ได้ดำเนินไปด้วยเรา หรือแม้แต่การใช้ชีวิตของเราเองในแต่ละวันมันก็ไม่ได้มีปัจจัยมาจากแค่เรา แต่ยังรวมถึงคนรอบข้าง สภาพแวดล้อม สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน ถ้าอะไรที่เกิดขึ้นแล้วมันนอกเหนือการควบคุม ที่เราสามารถทำได้ก็คือ ปล่อยมันให้เป็นไป แล้วมีสติรับมือกับมันค่ะ

การเปลี่ยนแปลงในชีวิตบางเรื่อง เราตั้งใจ แต่หลายเรื่องก็ไม่ได้ตั้งใจ แต่การที่จะสามารถทำให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปโดยมีสุขภาพจิตดี ควบคู่ไปกับมีความสุข ก็คือ การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยทักษะการปรับตัว ซึ่งหนึ่งในทักษะที่ว่า ก็คือ “การฝึกคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)” ตามเทคนิคจิตวิทยาที่แนะนำนั่นเองค่ะ



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :

[1] 7 เทคนิคทางจิตวิทยา คิดบวกเพิ่มความรักตัวเอง (https://www.istrong.co/single-post/7-psychological-techniques-positive-increase-your-love-of-yourself)

[2] 5 ทริคจากนักจิตวิทยา สร้างความสุขในชีวิตด้วย Empathy (https://www.istrong.co/single-post/5tricks-from-psychologists-create-happiness-in-life-with-empathy)


อ้างอิง : Connext. (สิงหาคม 2, 2021). ทักษะ Cognitive Flexibility คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564 จาก https://techsauce.co/connext/life-hacks/why-cognitive-flexibility-is-so-important-for-your-daily-work-life

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก

บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และคุณแม่ของลูก 1 คน แมว 1 ตัว ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิต


Comentarios


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page