Bully พฤติกรรมที่ควรเข้าใจ อย่าปล่อยให้ใครมาแกล้งลูกคุณ
พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง หรือ Bully เป็นพฤติกรรมที่พบได้ในเด็กวัยประถม จนถึงมัธยม ที่มีอายุใกล้เคียงกันกระทำการรุนแรงต่อกันทั้งทางร่างการและจิตใจ เช่น การล้อเลียน การตำหนิจุดด้อยของเพื่อน การกลั่นแกล้งที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือการพูดจาใส่ร้ายให้คนอื่นเข้าใจผิด ซึ่งส่วนมากจะพบเห็นได้จากโรงเรียน และในชุมชนที่มีกลุ่มเด็กในวัยเดียวกันรวมตัวกันอยู่มากๆ
ทำไมถึงพบการ Bully ในเด็ก
อาจเป็นเพราะเด็กไม่รู้ว่าจะทักเพื่อนอย่างไร ? หรือไม่รู้วิธีผูกมิตร จึงเริ่มจากการล้อเลียน หรือแกล้งคนที่ดูแตกต่างเพื่อสร้างเสียงหัวเราะ โดยหวังว่าจะได้เพื่อน หรือในบางกรณีเด็กที่ขาดการได้รับความสนใจจากผู้ปกครอง ที่บ้านไม่มีเวลารับฟังผู้คุยกับบุตรหลาน เมื่อไม่ได้รับความสนใจที่มากพอ การแกล้งผู้อื่นเพื่อให้ได้รับการลงโทษ หรือความสนใจทางลบ ก็ทำให้เขารู้สึกมีคุณค่ามากขึ้นได้
เมื่อเด็กถูก Bully จะแสดงออกอย่างไร
ไม่มีใครอยากโดนแกล้ง เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งจะรู้สึกเจ็บปวด และตอบสนองออกเป็น 2 แบบ คือ
1. กลัวและแยกตัว
โดยเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือ เขาจะไม่อยากไปเผชิญเหตุการณ์นั้นอีก อาจมีอาการไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพูดถึงเพื่อนที่โรงเรียน หากเด็กไม่สามารถจัดการได้ก็อาจกลายเป็นเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า แยกตัว หงุดหงิดง่าย และไม่อยากไปโรงเรียนได้
2. โต้ตอบรุนแรง
เด็กบางคนจากที่เคยกลัวและเงียบ หากโดนแกล้งมากๆเข้าก็จะพัฒนาตนเอง กลายเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงมากกว่า จนกลายเป็นคนก้าวร้าวหรืออาชญากรในอนาคตได้
จะป้องกันและแก้ไขอย่างไร
1.ครูและผู้ปกครองควรสอนและให้เด็กรู้ว่า การกลั่นแกล้งผู้อื่นนั้นไม่ได้ทำให้ใครรู้สึกดี และเราทุกคนเมื่อถูกกลั่นแกล้ง เรามีสิทธิ์ที่จะปกป้งตนเองด้วยการบอกเขาว่าเราไม่ชอบที่เขาทำแบบนี้ เราอยากเป็นเพื่อนกับเขานะ หรือเมื่อถูกแกล้งให้บอกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจและช่วยได้จะทำให้เด็กที่ถูกแกล้งรู้ว่าเขาไม่ได้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง และมีทางออกของปัญหา (อ่านบทความ สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้งได้อย่างไร)
2.ครูและผู้ปกครองควรให้เวลาในการรับฟังเด็ก เพราะจะช่วยลดความเครียดและทำให้เขารู้ว่าเราสนใจเขา เขาไม่จำเป็นต้องเรียกร้องความสนใจโดยการกลั่นแกล้งเพื่อน หรือทำตัวให้เป็นปัญหา (อ่านบทความ 5 เคล็ดไม่ลับปรับพฤติกรรมเด็กไม่ได้แกล้งเพื่อน)
3.ส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้แสดงความสามารถตามความถนัดของเขา โดยไม่เปรียบเทียบกับเด็กอื่น เช่น เช่น เด็กที่ป่วยบ่อยอาจเล่นกีฬาไม่เก่งแต่ร้องเพลงเพราะเราก็ให้เขาฝึกร้องเพลง หรือ เด็ก LD อ่านหนังสือไม่ได้ แต่เขาเก่งกีฬา ก็ส่งเสริมด้านที่เขาถนัดให้โดดเด่น ให้การชื่นชมเมื่อเขาทำดี ทำในสิ่งที่ถูกต้อง การชื่นชมและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความสามารถจะช่วยให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง กล้าที่จะแสดงพลังในทางสร้างสรรค์โดยไม่ต้องกลั่นแกล้งใครและไม่ยอมให้ใครแกล้ง โดยความภาคภูมิใจนี้ยังเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถเอาชนะข้อจำกัดหรือพัฒนาในสิ่งที่เขาด้วยให้สำเร็จได้
“เด็กๆที่มีความใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า รู้วิธีการสื่อสารและผูกมิตรในเชิงสร้างสรรค์ มีเวทีให้เขาได้แสดงออกและปล่อยพลัง จะไม่แกล้งใคร และไม่ยอมให้ใครกลั่นแกล้ง”
เพราะทุกก้าวของชีวิตคือจิตวิทยา
iStrong บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีใบรับรอง สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า
Contact : https://www.istrong.co/service
Kommentare