top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

3 วิธีการอยู่ร่วมกับบุคคลที่เป็นออทิสติก (Autistic Disorder)



คุณเคยเจอกันบ้างไหมกับบุคคลที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสังคมหรือที่เรียกว่า ออทิสติก (Autistic) ประมาณว่าไม่เข้าใจอารมณ์ของกลุ่มที่กำลังสนทนากันอยู่แล้วตนเองก็พูดอะไรบางอย่างที่ไม่ค่อยถูกบริบทออกมา หรือใช้คำพูดที่ดูแข็ง ๆ ไม่มีหางเสียงพูดด้วยน้ำเสียงแปลก ๆ จังหวะการพูดที่ไม่มีหนักเบา ยาวสั้นในการออกเสียง หรือใช้การกระแทกเสียงในคำบางคำที่มันฟังดูแล้วแปลกหู และบางทีเพื่อนร่วมงานปล่อยมุขขำกันกระจายแต่เพื่อนร่วมงานบางคนกลับนิ่งเหมือนกับว่าไม่ได้เกิดอะไรขึ้นเลย วันนี้จะมาคุยกับคุณเกี่ยวกับประเด็นของบุคคลที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสังคมกันครับ


โรคออทิสติก (Autistic) หรือ บุคคลที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสังคม

โรคออทิสติก คือ โรคที่มีความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านการสื่อสาร ด้านการเข้าสังคม และด้านการเล่น อาการออทิสติกสามารถจำแนกตามพัฒนาการแต่ละด้านได้ดังต่อไปนี้


ด้านการสื่อสาร : พูดช้า พูดภาษาแปลก ๆ ออกเสียงที่ไม่มีความหมาย และชอบพูดทวนความของผู้อื่น

ด้านการเข้าสังคม : ไม่สบตาเวลาพูด เรียกชื่อไม่หันตามเสียงเรียก ปรับตัวเข้ากับสังคมยาก

ด้านพฤติกรรม : เล่นของเล่นซ้ำ ๆ ชอบเล่นคนเดียวไม่สนใจเพื่อน ชอบสะบัดมือ โยกตัว หมุนตัว หรือทำท่าแปลก ๆ ชอบกินอาหารซ้ำ ๆ บางครั้งแสดงพฤติกรรมที่ทำร้ายตัวเอง


ดังนั้นการยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์ เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครบนโลกนี้ที่อยากถูกรังเกียจจากสังคม หรือถูกมองว่าเป็นผู้ที่แปลกแยกกว่าคนในสังคม การยอมรับและเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคนจึงถือเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนนพึงปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันกับเพื่อนมนุษย์ได้อย่างสันติ


วิธีการอยู่ร่วมกับผู้ที่มีอาการบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางสังคม (ออทิสติก)


1. การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาแบบเข้าใจง่ายและอธิบายด้วยเหตุผล

เช่น ถ้าคุณเล่นมุขตลกหรือเล่าเรื่องสนุก ๆ ให้ฟัง คุณต้องต้องบอกว่าตรงไหน คือ มุขและความสนุกของเรื่องอยู่ตรงไหน หรือ บางครั้งอาจไม่ค่อยเข้าใจกฎบางอย่างของสังคมเช่น ทำไมต้องลงท้ายประโยคด้วย คะ ขา ครับ ค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องมีจึงทำให้คนเข้าใจผิดว่าไม่มีมารยาท ดังนั้นเราต้องอธิบายเหตุผลให้เขาฟัง


2. ต้องเป็นนาฬิกาคอยเตือนเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ

อย่างที่ทราบกันว่า ออทิสติกนั้นจะโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน ๆ จนเข้าสู่สภาวะ Flow stage จนไม่รู้ว่าจริงๆแล้วผ่านไปนานเท่าไหร่ ดังนั้นเราต้องคอยเตือนว่าเขาใช้เวลากับสิ่งนี้ไปนานเท่าไร


3. พยายามเข้าใจพฤติกรรมและสนับสนุนในสิ่งที่เขาสนใจ

หากคุณมีน้อง เพื่อน หรือคนที่รู้จักเป็นออทิสติก สิ่งที่คุณทำได้คือ พยายามเข้าใจพฤติกรรมที่เขาเเสดงออก ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง การกิน หรือสิ่งที่สนใจ เราก็ควรจะสนันสนุนและให้กำลังใจ เพราะเขาสามารถมีพัฒนาการทางสังคม ทางภาษา ดีขึ้นได้เรื่อย ๆ ผ่านการฝึกฝน


อยากฝากคือออทิสติกทุกคนมีความเป็นอัจฉริยะซ่อนอยู่ในตัวเอง ไม่มากก็น้อย ลองเปิดใจค้นหาดู บางคนเก่งดนตรี บางคนเก่งเรื่องการคำนาณ หรือบางคนเขียนภาพเมืองทั้งเมืองด้วยการนั่งเฮลิคอปเตอร์ชมเมืองเพียงรอบเดียวได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจและให้โอกาสเขา นั้นคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการจริง สุดท้ายนี้หากคุณมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการของคนใกล้ตัวสามารถลงทะเบียนเพื่อรับคำปรึกษาได้นะครับ



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง

https://www.manarom.com/blog/signs_of_autism_spectrum_disorder.html

https://www.pobpad.com/ออทิสติก

https://www.sanook.com/health/23065/

https://www.happyhomeclinic.com/au21-autism-faq.html

http://www.specialchild.psu.ac.th/artical/41-autism/69-2011-02-07-06-45-16.html

https://th.rajanukul.go.th/preview-4005.html

 

ประวัตินักเขียน

สิทธิเดช คุ้มมณี นักจิตวิทยาพัฒนาการและศิลปะบำบัด ผู้เชี่ยวชาญการอ่านและวิเคราะห์ภาษากาย ผู้เชี่ยวชาญการตรวจและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กและการบำบัดแบบครอบครัว การใช้ศิลปะบำบัดเพื่อการเข้าใจตนเอง

Commentaires


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page