top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

สัญญาณเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าคุณเคยมีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Childhood Trauma)


ในปัจจุบันแวดวงจิตบำบัดเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับบาดแผลทางใจในวัยเด็ก (Childhood Trauma) กันมากขึ้นซึ่งบางกลุ่มก็เรียกองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “trauma-informed care” โดยมีมุมมองว่าพฤติกรรมบางอย่างที่รบกวนการใช้ชีวิตของบุคคลที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่นั้นได้รับอิทธิพลมาจากประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลทางใจในวัยเด็ก นอกจากนี้ ในข้อมูลของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของประเทศสหรัฐอเมริกาก็พบว่ามีผู้ใหญ่ 64% ที่ระบุว่าเคยมีประสบการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นกับตัวเองในช่วงที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี โดยในจำนวนนั้นมี 17.3% ที่ระบุว่าเคยมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กอย่างน้อย 4 รูปแบบเกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งข้อมูลนี้เป็นเพียงเสี้ยวส่วนของเรื่องบาดแผลทางใจในวัยเด็กที่ผู้เขียนได้ไปอ่านเจอมา และยังไม่นับถึงคนที่ไม่รู้ตัวว่าตนเองมีบาดแผลทางใจในวัยเด็กแต่ว่ามันจะไปปรากฏอยู่ในอาการที่คล้ายกับ Post-traumatic stress disorder (PTSD) อย่างไรก็ตาม มุมมองแนวคิดที่เกี่ยวกับบาดแผลทางใจนั้นมีหลายมุมมอง โดยหนึ่งในนั้นก็คือมุมมองจากทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theory) ที่มองว่ารูปแบบความผูกพันระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดูหลักมีผลต่อรูปแบบความผูกพันที่บุคคลในวัยผู้ใหญ่มีต่อบุคคลอื่นโดยเฉพาะกับคู่รัก ซึ่งรูปแบบความผูกพันมี 4 รูปแบบ ดังนี้

1. มั่นคง (Secure) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดีและช่วยให้เกิด Self-esteem ในระดับที่เหมาะสม

2. สับสน (Ambivalent) เป็นความสัมพันธ์ที่สับสนไม่มั่นใจ (เพราะอาจจะโตมากับผู้เลี้ยงดูหลักที่เอาแน่เอานอนไม่ได้) เมื่อโตขึ้นก็จะเป็นกังวลเมื่อต้องห่างกับคนรัก กลัวว่าคนรักจะทอดทิ้งไปก็เลยไม่ยอมให้คลาดจากสายตา

3. หลีกหนี (Avoidant) เป็นความสัมพันธ์แบบที่มีปัญหากับการใกล้ชิดผูกพัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็กลัวการถูกทอดทิ้งเหมือนกันแต่เลือกใช้พฤติกรรมแบบหลีกหนีไม่ยอมให้ใครมาเข้ามามากจนเกินไป (ไม่ผูกพันกับใครเพราะไม่อยากถูกทิ้งในภายหลัง)

4. ไม่เป็นระเบียบ (Disorganized) เป็นความสัมพันธ์ที่บางทีก็อาจจะไปคล้ายกับความสัมพันธ์ที่ตัวเองเคยมีกับผู้เลี้ยงดูหลัก (โดยส่วนมากมักจะเกิดกับเด็กที่เคยถูกผู้เลี้ยงดูหลักทารุณกรรม)


สัญญาณอื่น ๆ ที่อาจบ่งบอกว่าคุณเคยมีประสบการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผลทางใจในวัยเด็ก

- มี Self-esteem ต่ำ 

- รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า

- มีอาการของโรคซึมเศร้า

- มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง 

- มีปัญหาในการเชื่อใจคนอื่น 

- มีความคิดฆ่าตัวตาย

- มีปัญหาเกี่ยวกับการติดสุราและ/หรือการใช้สารเสพติด

- มีปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น ละเมอเดิน นอนฝันร้าย รู้สึกกลัวช่วงเวลากลางคืน

- มีอาการกลุ่มวิตกกังวล เช่น โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคย้ำคิดย้ำทำ

- มีปัญหาที่เกี่ยวกับการจดจ่อตั้งสมาธิ หรือมีอาการที่สัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น

- มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง อ่อนเพลียเรื้อรัง

อย่างไรก็ตาม เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณแต่ก็ไม่ได้บอกว่าทุกคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นบุคคลที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก ซึ่งหากคุณมีความสงสัยว่าตนเองมีปัญหาอารมณ์พฤติกรรมที่ไม่มั่นใจว่ามันจะเกี่ยวข้องกับบาดแผลทางใจในวัยเด็กของตนเองก็ควรปรึกษาผู้ที่มีคุณวุฒิและมีความเชี่ยวชาญในด้านบาดแผลทางใจโดยเฉพาะเพื่อจะได้ทราบอย่างแน่ชัดว่าสาเหตุของปัญหาอารมณ์เกิดจากอะไรและเพื่อหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสมกับกรณีของตนเอง


How to ฮีลบาดแผลทางใจในวัยเด็กอย่างเหมาะสม

สำหรับผู้เขียนแล้ว ในการที่จะเยียวยาบาดแผลทางใจในวัยเด็กอย่างเหมาะสมนั้นทำได้ไม่ง่ายเลย เพราะนอกจากมันจะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเป็นอย่างมากแล้ว มันยังต้องอาศัยทักษะมากมายในการก้าวข้ามอีกด้วย แต่ข่าวดีคือคุณไม่จำเป็นต้องก้าวข้ามมันตามลำพังอย่างโดดเดี่ยว เนื่องจากในปัจจุบันมีจิตบำบัดรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาอย่างหลากหลายซึ่งจะมาเป็นตัวช่วยให้กับคุณได้เป็นอย่างดี เช่น

- จิตบำบัดด้วยการปรับความคิดพฤติกรรมสำหรับผู้ที่มีความเครียดหลังผ่านเหตุสะเทือนใจ (Trauma-focused cognitive behavioral therapy)

- จิตบำบัดด้วยการประมวลผลทางความคิด (Cognitive processing therapy)

- จิตบำบัดด้วยการเขียนออกมา (Written expressive therapy) 

โดยจิตบำบัดที่ผู้เขียนกล่าวถึงในข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจิตบำบัดที่เหมาะกับกรณีของคนที่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก ซึ่งในความเป็นจริงนั้นยังมีอีกมากมายหลากหลายวิธีการที่ผู้เขียนไม่ได้นำมากล่าวถึงในบทความนี้ แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกพบนักจิตบำบัดเพื่อรับความช่วยเหลือในการเยียวยาบาดแผลทางใจในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งแรก ๆ ที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือความปลอดภัยของตัวคุณเองทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ วิธีการของนักจิตบำบัดจึงไม่ควรเป็นวิธีการที่ยังไม่ได้รับการรับรองในระดับสากล และตัวนักจิตบำบัดเองก็จะต้องมีคุณวุฒิรับรองว่ามีความรู้ความสามารถในทฤษฎีจิตบำบัดที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้กับกรณีของผู้ที่มีบาดแผลทางใจโดยเฉพาะ นอกจากนั้น หากคุณรู้สึกว่าบริการของนักจิตบำบัดกลับกลายเป็นทำให้คุณมีอาการที่แย่ลงไปกว่าเดิม เช่น มีความคิดฆ่าตัวตายบ่อยขึ้น เริ่มมีการลงมือทำร้ายตนเองหนักขึ้น ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจหรือควบคุมตนเองลดน้อยลง คุณก็มีสิทธิที่จะยุติและเปลี่ยนไปรับการทำจิตบำบัดจากนักจิตบำบัดท่านอื่นแทนได้ตลอดเวลาหรือเปลี่ยนไปปรึกษาจิตแพทย์แทนเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับการบำบัดเยียวยาในวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

[2] Signs of Childhood Trauma in Adults. Retrieved from https://www.verywellmind.com/signs-of-childhood-trauma-in-adults-5207979

[3] Manifestations of Childhood Trauma in Adults. Retrieved from https://seattleanxiety.com/psychiatrist/2022/5/17/manifestations-of-childhood-trauma-in-adults

 

ประวัติผู้เขียน

นิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นวิทยากรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต/การพัฒนาตนเองให้แก่นักศึกษาเป็นเวลา 11 ปี ปัจจุบันเป็นแม่บ้านในอเมริกาที่มีความสนใจเกี่ยวกับ childhood trauma และยังคงมีความฝันที่จะสื่อสารกับสังคมให้เกิดการตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต 

Nilubon Sukawanich (Fern) has work experiences as a counseling psychologist and speaker in university for 11 years. Currently occupation is a housewife in USA who keep on learning about childhood trauma and want to communicate to people about mental health problems awareness. 


1 commentaire


 Players feel as if they are really in a winter paradise with vivid snow-capped mountains, dynamic weather effects, and reasonable physics. The controls are meant to be simple to learn yet difficult to master, therefore enabling both novice and expert gamers to enjoy the snow rider 3d game.

J'aime
facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page