top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

เรื่องของฆาตกรต่อเนื่องในทางจิตวิทยา "อะไรคือชนวนสำคัญของเรื่องนี้?"

เช้าวันนี้แพรได้อ่านข่าวๆ หนึ่งเกี่ยวกับฆาตรกรต่อเนื่อง #สมคิดพุ่มพวง ซึ่งได้ก่อคดีฆาตรกรรมแม่บ้านโรงแรมแห่งหนึ่ง หลังจากถูกปล่อยตัวจากการเป็นนักโทษอุกฉกรรจ์กว่า 10 ปีในเรือนจำ ซึ่งทำให้แพรเกิดความสงสัยเป็นอย่างมาก ว่าอะไรเป็นสาเหตุให้คนๆ หนึ่ง กลายเป็นฆาตรกรต่อเนื่องได้


แพรได้ทำการค้นหาข้อมูลและค้นพบบทความจิตวิทยาบทความหนึ่ง ซึ่ง Peter Vronsky นักจิตวิทยาและนักเขียนชาวแคนาดา ที่ได้ทำการศึกษาที่มาที่ไปและเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นฆาตรกรต่อเนื่อง และรู้สึกว่าน่าสนใจมาก เลยอยากจะแบ่งปันให้ทุกคนค่ะ



ฆาตกรต่อเนื่องในทางจิตวิทยา

จากข่าวที่เราอ่านเกี่ยวกับนายสมคิด พุ่มพวง จะพบว่านายสมคิดทำการฆ่าเหยื่อที่มีลักษณะคล้าย คลึงกันนั่นคือ เหยื่อจะเป็นหญิงขายบริการ ซึ่งเขาจะใช้อุบายหลอกให้เหยื่อไปหลับนอนด้วยก่อนจะทำการฆ่าและชิงทรัพย์ ซึ่งจำนวนเหยื่อที่ถูกฆ่าโดยนายสมคิดตั้งแต่ปี 2548 จนปัจจุบันรวม 6 ศพ



คำถามก็คือ อะไรเป็นสาเหตุให้คนๆหนึ่งเป็นฆาตรกรต่อเนื่อง?



นักจิตวิทยาได้อธิบายไว้ว่า มนุษย์เราทุกคนมีสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดโดยการฆ่า และสามารถฆ่าคนได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนมีสติ สัมปชัญญะ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่จะยับยั้งอารมณ์และความรู้สึก รวมไปถึงควบคุมการกระทบ และไตร่ตรองถึงผลลัพธ์ที่ตามมา ในขณะที่ฆาตรกรต่อเนื่องเช่น นายสมคิด พุ่มพวงไม่มี



ฆาตรกรต่อเนื่องส่วนมาก มักจะมีชีวิตในวัยเด็กที่น่าสงสาร หลายๆ คน ต้องพยายามที่จะมีชีวิตรอดเนื่องจากไม่มีพ่อแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูที่คอยเอาใจใส่และปกป้องดูแลพวกเขา บางคนถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีครอบครัวที่แตกแยกไม่สมบูรณ์ และถูกปล่อยปละละเลย เป็นต้น ซึ่งบาดแผลและความเจ็บปวดในจิตใจที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนๆ หนึ่งกลายเป็นฆาตรกรต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับในกรณี นายสมคิด พุ่มพวง พบว่า เขาไม่เคยเห็นหน้าตาแม่เลย โดยอาศัยอยู่กับพ่อและแม่เลี้ยง มีนิสัยลักเล็กขโมยน้อยตั้งแต่เป็นเด็ก



เด็กทารกที่ถูกปล่อยปละละเลยและทอดทิ้ง ไม่ได้รับการตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐาน เติบโตขึ้นมาโดยไม่รู้ว่า ควรจะแสดงออกทางอารมณ์อย่างถูกต้องอย่างไร เมื่อประสบกับความทุกข์ ความเศร้า แต่ต้องพยายามเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์ต่างๆ ในวัยเด็ก (พวกเขาเรียนรู้ที่จะใส่หน้ากากและปรับตัวได้เป็นอย่างดี) ส่งผลให้พวกเขาเป็นคนเย็นชา และไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเช่นกัน



ฆาตรกรต่อเนื่องจำนวนมาก สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ เป็นพ่อที่ดี มีครอบครัวที่ดี โดยไม่มีใครรู้ความลับภายใต้จิตใจที่โหดร้ายของพวกเขา พวกเขาจะมีเหตุจูงใจที่ทำให้พวกเขาลงมือฆ่าเหยื่อ ได้แก่ ความต้องการที่จะควบคุมเหยื่อ โดยส่งผ่านจากรสนิยมทางเพศ เป็นต้น



ฆาตกรต่อเนื่องในทางจิตวิทยา


หลายคนให้ความเห็นว่า ฆาตรกรต่อเนื่อง เป็นคนบ้า (วิกลจริต) เป็นคนโรคจิต แต่ในทางกฎหมาย คนวิกลจริต คือ คนที่ไม่มีความสามารถในการไตร่ตรองถึงผลกระทบของการกระทำ ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจเหยื่อ โกหก และลงมือฆ่าเพื่อความสุข ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของฆาตรกรต่อเนื่อง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้มักจะรู้ตัวดีว่าพวกเขาทำอะไรอยู่ โดยจะสังเกตจากพวกเขาทำลายหลักฐาน อำพรางศพ และพยายามหลบหนี ดังนั้น พวกเขาไม่ได้บ้า



Perpetua Neo จิตแพทย์และนักบำบัดชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า คนที่เป็นฆาตรกรต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเหยื่อ ไม่สามารถที่จะรักษา หรือกลับใจเป็นคนปกติได้ พวกเขาสามารถที่จะอำพรางตัวเองเพื่อให้คนอื่นรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้ผิดปกติได้เก่งมาก



นอกจากนี้ Nigel Blackwood อาจารย์จิตแพทย์จาก King’s college London ยังได้อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า คนกลุ่มนี้ไม่กลัวการถูกลงโทษ หรือ การตัดสินจากสังคม พวกเขาไม่รู้สึกว่าพวกเขาจะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคม ดังนั้น กฎหมายหรือความผิดชอบชั่วดี ที่สังคมได้สร้างไว้ไม่ได้มีผลยังยั้งการกระทำของพวกเขาแต่อย่างใด



จากบทความจิตวิทยานี้ จะเห็นได้ว่า การดูแลใส่ใจสุขภาพจิตใจของคนๆ หนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เด็กคนหนึ่งไม่ได้ต้องการแค่เพียงอาหารและที่อยู่อาศัยเพื่อที่จะเติบโต ความรัก การดูแลเอาใจใส่ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างพลเมืองดีให้กับสังคม ไม่เพียงแค่กรณีของเด็กคนหนึ่งที่ถูกปล่อยปละละเลยจนกลายฆาตรกรต่อเนื่องเท่านั้น คนเราทุกคน จำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพจิตใจให้แข็งแรงเพื่อที่จะผ่านปัญหาต่างๆ ในชีวิตไปให้ได้ และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข การขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้เราจัดการกับสภาพจิตใจเราได้อย่างถูกวิธีนะคะ

 

iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)


และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page