top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

15 พฤติกรรมชี้ชัดที่แสดงว่าลูกรักกำลังเป็นโรคออทิสติกเทียม


ในยุคที่ชีวิตต้องเร่งรีบไปทุกสิ่งอย่าง ทำให้คุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่หันมาใช้เทคโนโลยีในการทุ่นแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการเลี้ยงลูกด้วย โดยไม่รู้เลยว่าอาจทำให้ลูกกลายเป็นออทิสติกเทียมได้......


คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินชื่อโรค “ออทิสติกเทียม” ผ่านหูกันมาบ้างนะคะ แต่เชื่อว่ายังสงสัยกันอยู่แน่ ๆ ว่า ออทิสติกเทียมมันคืออะไร ในบทความนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักกับเจ้าโรคออทิสติกเทียมกันค่ะ



เด็กเล่นมือถือเสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม


ออทิสติกเทียม” เป็นโรคที่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาให้คำนิยามว่า เป็นความบกพร่องทางพฤติกรรมของเด็กในช่วง 6 เดือน – 7 ขวบ เกิดขึ้นมาจากการที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสารสองทาง เช่น การเลี้ยงลูกกับโทรทัศน์ หรือกับ Smart Phone ที่เป็นสื่อที่มีการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) เด็กโต้ตอบกลับไปแล้วไม่มีคนตอบรับ ทำให้เด็กฟังตามสื่ออย่างเดียว จดจำคำศัพท์จากสื่อ แต่ไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ในบริบทแบบไหน ไม่มีคนพูดโต้ตอบกลับในสถานการณ์จริงกับเด็ก เลยทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า สื่อสารกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง พูดช้า พูดคนเดียว มีภาษาของตัวเอง ชอบพูดซ้ำ ๆ อยู่กับเรื่องที่ชอบ และถ้าหากคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองรู้ตัวช้าก็จะทำให้พัฒนาการทางด้านสังคมของเด็กช้าตามไปด้วย



โดยโรคออทิสติกเทียมจะสามารถสังเกตได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนเลยค่ะ ข้อสังเกตตามช่วงวัยที่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาแนะนำ ก็คือ


อายุ 6 เดือน เด็กไม่ยิ้ม ไม่แสดงอารมณ์/ความรู้สึกสนุกสนาน

อายุ 9 เดือน ไม่ส่งเสียง ไม่ยิ้ม ไม่แสดงสีหน้า ไม่โต้ตอบกับคนเลี้ยง

อายุ 1 ขวบ ไม่หันตามเสียงเรียก ไม่เลนน้ำลาย ไม่เล่นเป่าปาก

อายุ 18 เดือน หรือ 1 ขวบครึ่ง ไม่เล่นสมมุติ ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง


หรือจะสังเกตตาม 15 พฤติกรรม ต่อไปนี้ค่ะ

1.ไม่สบตาเวลาพูดด้วย

2.ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ หมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบเพียงอย่างเดียว

3.พูดช้ากว่าเพื่อน ๆ วัยเดียวกัน โดยเฉพาะถ้าอายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังพูดไม่ได้ หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือพูดโดยใช้ภาษาของตัวเอง หรือมีภาษาต่างดาว

อาการเด็กออทิสติกเทียม

4.ไม่แสดงท่าทาง หรือส่งเสียง เล่นเสียง

5.ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง สี หรือเสียง

6.ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้

7.ร้องไห้หนักแบบไม่มีเหตุผล

8.ผูกพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เช่น ติด TV อย่างหนัก ติด Smart Phone ชนิดแยกไม่ได้

9.ไม่สนใจคนรอบข้าง เมื่อมีคนเรียกแล้วไม่หันตามเสียงเรียก

10.ไม่สนใจที่จะแสดงความรัก ไม่ว่าจะเป็นโดยการอุ้ม การกอด หรือการหอม

11.ไม่มีพฤติกรรมลอกเลียนแบบท่าทาง หรือเสียงของคนรอบข้าง

12.เล่นสมมติไม่เป็น เช่น เล่นเป็นพยาบาล หรือตำรวจ

13.ไม่เล่นหรือพูดคุยกับเด็กคนอื่น ๆ ชอบแยกตัวเล่นอยู่คนเดียว

14.ไม่สามารถบอก หรือแสดงความต้องการของตัวเองได้ แต่จะใช้การอาละวาดแทน

15.มีอาการแสดงออกที่แตกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เช่น เดินเขย่ง สะบัดมือตลอดเวลา ตบหน้าตัวเองเพื่อกระตุ้นตัวเอง เป็นต้น


ซึ่งหากคุณพ่อ คุณแม่เห็นว่าลูก ๆ มีพฤติกรรมเข้าข่ายและสงสัย สามารถพาเด็ก ๆ ไปตรวจประเมินทางจิตวิทยาได้ที่โรงพยาบาลที่มีแผนกจิตเวชได้ค่ะ หากเป็นโรคออทิสติกเทียมก็จะได้รีบรักษาโดยเร็ว หรือหากน้อง ๆ เป็นออทิสติก (asd) จริงก็จะได้กระตุ้นพัฒนาการให้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุดค่ะ



ลูกมีความเสี่ยงเป็นออทิสติก

โดยวิธีการรักษาออทิสติกเทียม ที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาให้ข้อเสนอแนะ มี 2 วิธีใหญ่ ๆ ก็คือ


1.พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ

ในการพูดคุยกับเด็กเล็ก คุกพ่อ คุณแม่ต้องพูดช้า ๆ ชัด ๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้การออกเสียง และเลียนแบบรูปปาก เพื่อออกเสียงและแสดงภาษาท่าทางตามคุณพ่อ คุณแม่ หรือคนเลี้ยงค่ะ หากเป็นไปได้ควรหาเวลาคุยกับเด็ก ๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง (Two - way Communication) เพื่อให้เกิดการโต้ตอบระหว่างกัน และให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ที่ช่วยในการสื่อสาร ตลอดจนเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น รวมถึงควรเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน หรือวัยใกล้ ๆ กันบ้าง เพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคมของพวกเขาค่ะ



2.เลี้ยงลูกด้วย Smart Phone ให้น้อยที่สุด

โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรให้ลูกเล่น Smart Phone เลยค่ะ เพราะนอกจากจะทำให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้าแล้ว ยังทำให้เกิดสมาธิสั้น และมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์อีกด้วย สำหรับเด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาก็แนะนำมาว่า ไม่ควรให้เล่นเกิน 1 ชั่วโมงต่อวันค่ะ และไม่ควรให้เด็กเล่นเพียงลำพัง แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองได้สื่อสารและสอนคำศัพท์ให้เด็ก ๆ ได้อย่างใกล้ชิดค่ะ



ความใสใจของผู้ปกครอง ป้องกันโรคออทิสติกเทียม

โรคออทิสติกเทียม เป็นโรคที่ปิดกั้นพัฒนาการเด็ก ๆ ไปมากในหลายด้าน แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ หากคุณพ่อ คุณแม่ ใส่ใจและให้เวลามากพอค่ะ นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถติดตามเคล็ดลับการดูแลเด็ก ๆ ได้ที่บทความจิตวิทยาอื่น ๆ เช่น บทความ "5 วิธีเลี้ยงเด็กยุคอัลฟ่าเจนอย่างมีประสิทธิภาพ" "ฝึก Self-control ให้ลูกรัก สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ในทุกสถานการณ์" หรือบทความ "6 วิธีเลี้ยงลูกให้เป็นแชมป์" ได้นะคะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


____________________________________________________


iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

____________________________________________________


อ้างอิง : มัณฑนา ชลานันต์. ลูกของคุณเสี่ยงมีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกหรือไม่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/child-risk-autism

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page