top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 รูปแบบความผูกพันที่บ่งบอกว่าความสัมพันธ์คุณจะไปได้ดีแค่ไหน


ในทางจิตวิทยาค้นพบว่า นอกจากพันธุกรรมซึ่งเป็นรหัสที่กำหนดคนเรามาตั้งแต่เกิดแล้ว รูปแบบการเลี้ยงดู คนรอบข้าง และสภาพแวดล้อมในวัยเด็กก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพและคุณสมบัติทางจิตวิทยาของคนเรามากเช่นกัน รวมถึงรูปแบบที่เราจะสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย หากวัยเด็กถูกเลี้ยงดูด้วยความรัก เด็กน้อยจะเติบโตขึ้นด้วยรูปแบบความผูกพันที่เหมาะสมในทุก ๆ ความสัมพันธ์ เช่น “เวลาที่ฉันเจ็บ ฉันจะวิ่งไปให้แม่ปลอบ” ซึ่งเด็กน้อยก็จะเรียนรู้ว่ามีคนที่สามารถให้ความรักความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย และทำให้เขาไว้วางใจได้


หากเด็กคนไหนที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงเพิกเฉย เขาก็จะไม่แสดงความผูกพันกับคนอื่นหรือไม่แสดงอารมณ์ ทำให้เขาเติบโตมาโดยไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและไว้วางใจกับคนอื่นได้ ซึ่งทำให้บั้นปลายชีวิตอาจโดดเดี่ยว

ในทางจิตวิทยา John Bowlby และ Mary Ainsworth พัฒนาทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theory) ขึ้นมาในราวช่วงปี 1960s ที่ระบุว่ารูปแบบที่คนเราถูกเลี้ยงดูมาในวัยเด็กจะส่งผลต่อรูปแบบการสร้างผูกพันกับผู้คนเมื่อเติบโตขึ้น ซึ่งในที่นี้สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่


1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน : ปฏิเสธ-หลีกเลี่ยง (Dismissive-Avoidant)

คนที่มีรูปแบบความผูกพันประเภทปฏิเสธ-หลีกเลี่ยง มักจะรู้สึกขาดและไม่แน่ไม่นอนในความสัมพันธ์

ลักษณะของคนที่มีรูปแบบความผูกพันประเภทนี้ เช่น


  • มักเก็บตัว

  • เย็นชาในความสัมพันธ์

  • ไม่ต้องการจะผูกพันกับใครในระดับลึกซึ้ง

  • เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับใคร

  • ไม่สามารถใกล้ชิดผูกพันกับคนรักได้

  • รู้สึกอ่อนแอเมื่อต้องพึ่งพิงใครมาก ๆ


ผลลัพธ์จากสิ่งที่คนกลุ่มนี้เป็นคือ พวกเขามีแนวโน้มที่จะหนีเมื่อต้องผูกพันทางใจหรือทางกายกับใคร


2. พวกกลัวถูกนอกใจ : หวาดกลัว-หลีกเลี่ยง (Fearful-Avoidant)

บางคนอาจเคยมีประสบการณ์ในการพบเจอความไม่ไว้วางใจจากคนที่เลี้ยงดูมา หรือมีประสบการณ์ที่ถูกทำร้ายหรือทำทารุณกรรมทางวาจา กาย หรือใจ จนทำให้เติบโตมาด้วยการโหยหาความรัก แต่ก็เชื่อว่าตัวเองจะถูกนอกใจตลอด อาจพัฒนารูปแบบความผูกพันกับผู้คนที่มีลักษณะ เช่น


  • รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า

  • สับสนในความสัมพันธ์

  • มักเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างความห่างเหินและความอ่อนแอ

  • จับผิดเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปหมด เช่น ภาษาท่าทางของอีกฝ่าย เพื่อค้นหาว่าตัวเองกำลังถูกนอกใจหรือไม่

  • ไม่ไว้วางใจใครในเรื่องความสัมพันธ์

  • รู้สึกว่าตัวเองจะถูกนอกใจหรือหักหลังได้ง่าย ๆ


ผลลัพธ์ของคนที่มีรูปแบบนี้คือมักจะมีพฤติกรรมที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวเอาใจเดี๋ยวชวนทะเลาะกับคนรัก


3. พวกหวาดระแวง : ความผูกพันที่เต็มไปด้วยความกังวล (Anxious Attachment)

รูปแบบนี้มักเป็นผลมาจากความเอาแน่เอานอนไม่ได้จากผู้ที่เลี้ยงดูเขาในตอนเด็ก หรือมักถูกทอดทิ้ง คนเลี้ยงมักไม่อยู่ให้เห็นใกล้ ๆ ทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้ง ซึ่งส่งผลให้มีลักษณะต่อไปนี้

  • เสียสละ ยอมให้ตนเองลำบากเพื่อเอาอกเอาใจคนอื่น

  • กลัวการถูกปฏิเสธหรือไม่ยอมรับ

  • กลัวการถูกทอดทิ้งอย่างมาก

  • ให้มากเกิน มีปฏิกิริยารุนแรง หรือเล่นใหญ่มากไปในความสัมพันธ์

  • ยอมแลกบางอย่างเพื่อรักษาความสัมพันธ์เอาไว้


4. พวกมั่นคง : ความผูกพันที่รู้สึกมั่นคง (Secure Attachment)

คนที่มีรูปแบบความผูกพันที่รู้สึกมั่นคงมักเติบโตท่ามกลางความรักความอบอุ่น และการดูแลที่เพียงพอจากพ่อแม่หรือคนที่เลี้ยงดูมา พวกเขามักมีลักษณะดังนี้


  • รู้สึกมั่นคงในความสัมพันธ์

  • สนับสนุนคนรัก เปิดเผย และพร้อมดูแลความสัมพันธ์ของตนเอง

  • พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองจากความผูกพันรูปแบบอื่นไปสู่ประเภทที่มั่นคงมากขึ้น


หากคุณอ่านแล้วพบว่าตนเองกำลังมีรูปแบบความผูกพันแบบ 3 ประเภทแรก และสิ่งที่คุณเป็นกำลังส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคุณ ณ ตอนนี้ อย่ารีรอที่จะหาทางปรับเปลี่ยน ปรับพฤติกรรมของตนเองเพื่อให้เป็นแบบที่ 4 หรือความผูกพันที่รู้สึกมั่นคงมากขึ้น แต่หากพบว่า มีบางสิ่งที่ติดอยู่ในใจและทำให้คุณยังเปลี่ยนไม่ได้ อย่าลังเลที่จะคุยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ที่จะใช้เวลาไปพร้อมกับคุณในการค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์รูปแบบวิธีคิดและการตีความของคุณ ไปจนถึงการแก้ไข


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ที่มา:

 


ผู้เขียน

พิชาวีร์ เมฆขยาย

M.Sc. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

B.Sc. จิตวิทยา

ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตในองค์กร / นักออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ / Youtuber / Blogger

Kommentare


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page