นักจิตวิทยาแนะ 3 วิธีลดอาการแพนิค จาก Covid – 19 ฉบับเร่งด่วน
หลังจากเป็นที่แน่นอนแล้วว่า Covid – 19 กลับมาระบาดอีกแล้วจ้า ก็พบว่ามีเพื่อน ๆ หลายคน ทั้งในที่ทำงาน และในสังคมออนไลน์ เกิดอาการ Panic Attack กันจำนวนไม่น้อยเลยค่ะ ทั้งมีอาการ ปวดศีรษะ เครียด คลื่นไส้ อาเจียน มือสั่น กล้ามเนื้อสั่นแบบควบคุมไม่ได้ และยิ่งเห็นว่าการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่บ้านตัวเอง อาการ Panic Attack ก็ยิ่งรุนแรง มีทั้งใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เครียดสะสม และอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า หรือโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้ ด้วยความห่วงใย บทความจิตวิทยานี้ เราจึงได้รวบรวมข้อแนะนำของนักจิตวิทยาในการลดอาการ Panic Attack ฉบับเร่งด่วน มาฝากกันค่ะ
1. หาสาเหตุว่า Panic Attack เกิดจากอะไร
เมื่อคุณเกิดอาการที่เข้าข่าย Panic Attack เช่น ใจสั่น ใจเต้นแรง เหงื่อแตก ตัวสั่น กล้ามเนื้อสั่นแบบควบคุมไม่ได้ หายใจขัด หายใจไม่อิ่ม รู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ รู้สึกคล้ายจะเป็นลม ตาลาย ควบคุมตัวเองไม่ได้ และรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจากปกติ ไม่ว่าจะเป็น ทุกอย่างดูบีบเข้าหาตัวเรา พื้นเอียง รู้สึกสิ่งรอบตัวเคลื่อนไหวเร็วผิดปกติ เป็นต้น
หากคุณเกิดอาการเหล่านี้ นักจิตวิทยาแนะนำว่า ขอให้ตั้งสติ และคิดดูให้ดีว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดอาการ Panic Attack เพื่อให้เราพาตัวเองออกมาจากปัจจัยกระตุ้นนั้น เช่น ถ้าคุณเกิดอาการใจสั่น ขาสั่น มือสั่น หายใจ ไม่ออก เมื่อเห็นข่าว Covid – 19 ก็สามารถอนุมานได้ว่า Covid – 19 คือปัจจัยกระตุ้น ดังนั้น ควรรับข่าว ให้น้อยลง หรือหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงหากเป็นไปได้ โดยคุณผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องอาการ Panic Attack ได้ที่ “เพิ่มความมั่นใจด้วย 4 วิธีจัดการอาการ Panic ให้อยู่หมัด”
2. ระบายความรู้สึกกับคนที่สนิทใจ
หากคุณเริ่มเกิดความรู้สึกไม่สบายใจ และเริ่มมีอาการ Panic Attack วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดอาการได้ ก็คือ การบอกกับคนใกล้ชิด หรือโทรหาคนที่สนิทใจเพื่อระบายความรู้สึก และบอกว่าเรากำลังมีอาการ Panic Attack อยู่ เพื่อให้คนที่อยู่กับเรา หรือคนที่เราโทรหาสามารถให้ความช่วยเหลือเราได้ค่ะ หรืออย่างน้อย ๆ การที่เรามีสักคนที่รับฟังเราอย่างตั้งใจ ก็สามารถช่วยลดความเครียดของเราลงได้แล้วค่ะ นักจิตวิทยาคอนเฟิร์ม
3. ใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด
การใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดในการลดอาการ Panic Attack เป็นวิธีที่นักจิตวิทยานิยมใช้รักษาอาการ Panic Attack ในเบื้องต้นกันมากค่ะ เพราะเป็นเทคนิคที่ทำให้ผู้ที่มีอาการ Panic Attack รู้สึกดีขึ้น หรือสามารถควบคุมตัวเองได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยเทคนิคที่นิยมใช้ ก็เช่น การควบคุม ลมหายใจ การผ่านคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน การใช้จินตนาการช่วย เป็นต้น
ซึ่งเทคนิคการผ่อนคลายความเครียดสามารถช่วยให้เราอยู่กับตัวเอง มีสติในการควบคุมอาการต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้นได้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามอาการ Panic Attack จะสามารถกลับมาเป็นได้เรื่อย ๆ นะคะ หากได้รับการกระตุ้น ดังนั้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และสุขภาพจิตที่ดีอย่างยั่งยืน ขอแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเพื่อบำบัดอาการ Panic Attack ในลำดับต่อไปนะคะ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยเรื้อรัง และการนำไปสู่โรคทางจิตเวชอื่น ๆ ค่ะ
ดูท่าว่า Covid – 19 จะคงอยู่กับพวกเราไปอีกนาน อย่างน้อย ๆ ก็จนกว่าวัคซีนจะสำเร็จ และฉีด ให้ครบทุกคนในประเทศ ดังนั้นแล้ว Covid – 19 ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้พวกเราเกิดความเครียดกันในช่วงนี้นะคะ เพราะฉะนั้น หากคุณ หรือคนใกล้ชิด เกิดอาการ Panic Attack ขอให้ลองนำ 3 วิธี ที่นักจิตวิทยาแนะนำข้างต้น ไปปรับใช้ดูนะคะ และควรขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพื่อบำบัดอาการ Panic Attack ให้หายขาดจะดีที่สุดค่ะ ทั้งนี้ หากคุณไม่สะดวกเดินทาง ไปสถานพยาบาล ก็สามารถติดต่อ iSTRONG ได้เสมอนะคะ เพราะทางเรามีผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาคอยดูแลคุณอยู่เสมอค่ะ
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก
บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช.
และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี
เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี
ปัจจุบันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยา ในการปฏิบัติงานมากว่า 6 ปี
Comments