top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นายจ้างทำร้ายร่างกายและกักขังหน่วงเหนี่ยวลูกจ้าง วิเคราะห์พฤติกรรมความก้าวร้าวจากมุมมองของจิตวิทยา


ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงได้เห็นหรือได้ฟังข่าวมาจากโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเรื่อง “นายจ้างโหดทำร้ายร่างกาย ลูกจ้างหญิง จับช็อตไฟฟ้า - ตีหัวแตก - ใบหูฉีก ร่างกายช้ำทั้งตัว” เรียกได้ว่าเป็นคดีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมอันโหดร้ายของนายจ้างเป็นอย่างมาก วันนี้ผมจึงขอวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและสภาวะทางจิตใจของผู้ที่ทำร้ายและผู้ถูกทำร้ายในมุมมองของจิตวิทยามาให้อ่านครับ


จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่การใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจกันและการฝากเข้าทำงานเพื่อใช้เป็นข้ออ้างที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดบุญคุณขึ้น อันเป็นข้ออ้างสำหรับการตักตวงข้อได้เปรียบและเป็นข้ออ้างสำหรับเหตุผลทั้งหมดที่ใช้เพื่อให้มีอำนาจเหนือลูกจ้าง ตลอดถึงการใช้ Fear base Manipulation เป็นพื้นฐานในการควบคุมลูกจ้างโดยการข่มขู่ด้วยอำนาจและอิทธิพลของตนเองและสามีที่อ้างว่าเป็นผู้มีอิทธิพล


บทวิเคราะห์จากมุมมองของนายจ้างที่ทำร้ายลูกจ้าง


เราจะเห็นได้ว่านายจ้างแสดงออกถึงความโกรธเกรี้ยวที่ตนเองเก็บเอาไว้ในใจ โดยระบายลงที่ลูกจ้าง เช่น ใช้ไม้บรรทัดเหล็กฟาดที่ศีรษะ ฟาดที่จมูก ใช้ท่อนไม้ฟาดกกหู ใช้ไม้ถูพื้นฟาดตามร่างกาย ตบปากหรือบังคับให้เหยื่อตบปากตนเองจนเลือดไหล ใช้ที่ช็อตไฟฟ้าช็อตตามที่ต่าง ๆ ของร่างกาย เอาไม้แขวนเสื้อตีจนเนื้อแตกเลือดไหล แล้วยังมีการทรมานลูกจ้างไม่ให้นอนอีกด้วย เนื่องจากลูกจ้างไม่เคยเห็นหน้าของสามีของผู้ที่ทำร้ายเลยที่บ้านตั้งแต่เข้ามารับใช้อยู่ในบ้านเป็นเวลา 5 ปี จึงอาจทำให้เกิดความรู้สึกเก็บกดและก้าวร้าว ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้


  1. Anti-social Behavior หรือ พฤติกรรมต่อต้านสังคม เราจะเห็นได้ว่า มุมมองด้วยจริยธรรมหรือการเห็นคุณค่าคนอื่นของผู้ที่ทำร้ายนั้นต่อต้านกับค่านิยมหลักของสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะสังคมต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งยังกักขังหน่วงเหนี่ยวเสรีภาพไม่ให้ออกไปไหนเลยซึ่งขัดกับหลักปฎิบัติของเพื่อนมนุษย์ที่พึงกระทำต่อกัน

  2. Aggressiveness หรือ ความก้าวร้าว จากการลงโทษที่ไร้เหตุผลและใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ ทำให้ลูกจ้างได้รับผลกระทบทางร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมากถึงขนาดที่ลูกจ้างต้องการจะฆ่าตัวตายเพื่อจบเรื่องทุกอย่าง โดยนายจ้างใช้อารมณ์ของตนเองเป็นจุดตัดสินว่าลูกจ้างสมควรได้รับบทลงโทษอย่างไรตามโทสะของตน ณ ขณะนั้น ๆ กล่าวคือ ตนเองสร้างสรรค์วิธีการลงโทษได้ตามแต่จะหาอุปกรณ์ได้ในเวลาที่ลูกจ้างทำให้ตนเองไม่พอใจ เช่น เครื่องหนีบผมไฟฟ้า หรือเครื่องช็อตไฟฟ้าเป็นต้น

  3. Fear-based Manipulation หรือ การใช้ความกลัวเป็นพื้นฐานในการควบคุมและมีอำนาจเหนือลูกจ้าง โดยการข่มขู่ว่าถ้าหนีไปจะใช้อำนาจที่ตนเองมีทำให้ไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้และจะทำให้ครอบครัวเดือดร้อน รวมไปถึงการทำร้ายร่างกายของลูกจ้างและลูกจ้างเองก็ไม่มีท่าทีที่จะโต้ตอบหรือขัดขืนเพราะลูกจ้างกลัวผลกระทบที่จะตามมาหากแสดงพฤติกรรมต่อต้านนั้นเอง

  4. Expressive Suppression หรือ เก็บกด ทำให้นายจ้างเก็บกดความรู้สึกต่าง ๆ เอาไว้ในช่วงแรก ๆ ที่ลูกจ้างทำงานด้วยที่ร้านกาแฟ ลูกจ้างรู้สึกสบายใจรู้สึกปลอดภัย และสามารถพึ่งพานายจ้างได้จึงยอมตกลงตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นายจ้างเสนอให้ แสดงว่านายจ้างเก็บกดอารมณ์เชิงลบและพฤติกรรมเชิงลบของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อนายจ้างอยู่ในช่วงเวลาที่กดดันหรือเครียดหรือมีสภาวะอารณ์ที่ไม่มั่นคง อารมณ์เชิงลบหรือพฤติกรรมเชิงลบก็ปรากฎออกมาอย่างควบคุมไม่ได้

  5. Take advantage หรือ หาผลประโยชน์ จากบทสัมภาษณ์จะเห็นได้ว่าลูกจ้างยอมแลกทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตอบแทนบุญคุณที่ทำให้ตนเองสามารถเข้าทำงานได้ ทั้งเงินเดือน รถยนต์ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเสรีภาพของตนเอง หรือแม้กระทั่งความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจ จากจุดนี้เองเราจะเห็นว่าสิ่งนี้คือการแลกเปลี่ยนอย่างไม่เป็นธรรมเป็นการตักตวงเอาผลประโยชน์จากอีกฝ่ายโดยนำเอาทรัพยากรทั้งหมดของลูกจ้างไป จนตัวของลูกจ้างเองทนไม่ไหวจึงส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังครอบครัว เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือตนเองออกไปจากสถานการณ์ดังกล่าว


บทวิเคราะห์ผลกระทบทางจิตใจที่ลูกจ้างอาจได้รับ


จากภาพที่เห็นและบทสัมภาษณ์ที่ปรากฎนั้นเราจะรู้ได้ทันทีว่าเหยื่อขาดการวิเคราะห์ถึงผลกระทบเชิงลึกและผลกระทบระยะยาวจากเงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมในข้อตกลงที่ว่า จะจัดหางานให้แล้วจะต้องมารับใช้ดูแลไปตลอดชีวิตด้วยเหตุนี้เราจึงจะมาวิเคราะห์ดูสภาพจิตใจและพฤติกรรมของลูกจ้างบ้างครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง

  1. Depression หรือ ซึมเศร้า จากในช่วง 2 ปีหลังนี้ลูกจ้างถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนัก ตัวของลูกจ้างรู้สึกว่าตนเองไร้ค่าและอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนในครอบครัว ตลอดจนนำเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจเข้ามาให้ครอบครัวต้องเสียเงินถึง 90,000 บาทและถูกข่มขู่ต่าง ๆ ดังนั้น ลูกจ้างจึงเลือกที่จะจากโลกนี้ไปเพื่อจบปัญหาทั้งสิ้นนี้ด้วยตนเอง

  2. Physical trauma หรือ การบาดเจ็บทางร่างกายในตนเองต่ำ เพราะตนเองนั้นถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก โดนกักขังหน่วงเหนี่ยว และทำร้ายร่างกายมาอย่างยาวนาน จึงทำให้มุมมองที่มีต่อตนเองนั้นลดน้อยลงเรื่อย ๆ ลูกจ้างเองก็กลัวจนไม่สามารถโต้ตอบได้เลย ลูกจ้างมองว่าตนเองไม่สามารถมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้เลยคือ การได้รับความปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจครับ

  3. Physical trauma หรือการบาดเจ็บทางร่างกาย เรียกได้ว่าแทบทุกส่วนของร่างกายโดนทำร้าย โดนทรมานแทบจะทุกวัน จนหูซ้ายได้ยินไม่ชัดและจมูกหายใจได้แค่ข้างเดียว หนังศีรษะก็ปริแตกยังไม่สมานกันสนิท จากงานวิจัยกล่าวว่าหากบุคคลได้รับความเจ็บปวดทางร่างกายติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่ยาวนานย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากภาพที่ปรากฎนั้นไม่สามารถที่จะบรรยายได้เลยว่าลูกจ้างต้องรู้สึกทนทุกข์ทรมานมากขนาดไหน

จากข่าวนี้สามารถสะท้อนให้เราเห็นถึงมุมมองของการเข้าใจในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและการใช้ทฤษฎี “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” ก่อนที่จะตกลงอะไรกับใครบนข้อตกลงที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราได้ครับ และอีกหนึ่งประเด็นที่อยากให้พิจารณาคือความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการเก็บกดครับ เมื่อเราไม่สามารถเป็น Somebody for Someone หรือเป็นใครบางคนสำหรับใครสักคนได้อย่างเปิดเผยไม่ได้ในชีวิตจริง ย่อมส่งผลต่อบุคลิกภาพและอารมณ์พื้นฐานโดยร่วมของบุคคลนั้น ๆ ครับ


ในตอนหน้าเรามาพูดถึงวิธีการรับมือและการบำบัดคนรอบตัวที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคมกันครับ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง

 

ประวัติผู้เขียน : สิทธิเดช คุ้มมณี นักจิตวิทยาพัฒนาการและศิลปะบำบัด ผู้เชี่ยวชาญการอ่านและวิเคราะห์ภาษากาย ผู้เชี่ยวชาญการตรวจและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กและการบำบัดแบบครอบครัว การใช้ศิลปะบำบัดเพื่อการเข้าใจตนเอง

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page