top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

วิธีการรับมือและการบำบัดคนรอบตัวที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม


จากบทความ “นายจ้างอ้างบุญคุณ หาเหตุทำร้ายร่างกายและกักขังหน่วงเหนี่ยวลูกจ้าง วิเคราะห์พฤติกรรมความก้าวร้าวจากมุมมองของจิตวิทยา” ซึ่งผมสัญญาว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับ “วิธีการรับมือและการบำบัดคนรอบตัวที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม” ใช่ไหมครับ บทความนี้ผมได้รวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่ใช้ในการบำบัดและรับมือ


ผมขอเริ่มต้นด้วยนิยามศัพท์ของคำว่า “พฤติกรรมก้าวร้าว หรือ Aggressive Beheavior ” คือ พฤติกรรมหรือการเจตนาที่จะทำร้ายหรือทำลาย ร่างกายหรือจิตใจของบุคคลอื่นครับ เช่น ทุบตี ประทุษร้าย ทำลายขว้างปาข้าวของ นินทาลับหลัง หรือใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ รวมถึงการกีดกันไม่ให้สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างเช่น การไม่ให้เพื่อน ๆ คบหากับคนที่เราไม่ชอบ หรือสร้างความเกลียดชังคน ๆ หนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ หรือเพิกเฉยต่อบุคคลอื่นด้วยความตั้งใจ

กับอีกพฤติกรรมหนึ่งที่พบในบทความที่แล้วคือ “บุคลิกภาพต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder หรือ ASPD) พฤติกรรมนี้เป็นการแสดงออกของความผิดปกติทางจิตที่ทำให้มีนิสัยที่แข็งกระด้าง แสดงออกด้วยความก้าวร้าว ไม่เคารพในสิทธิของผู้อื่น โดยมักไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจของผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ยึดถือความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลักในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ และมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงในการตอบโต้เมื่อตนเองไม่ได้รับในสิ่งที่ต้องการ และมักจะแสดงความไม่พอใจเมื่อต้องทำตามหรือต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของสังคมที่ขัดแย้งกับความต้องการของตนเอง จึงมีพฤติกรรมแหกกฎระเบียบของสังคม


ในบทความนี้ ผมจะแนะนำวิธีการไว้ 2 แบบคือ คือ ในมุมของคนที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม และในมุมของคนที่อยู่รอบตัว


วิธีจัดการจากมุมมองของคนที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม


1. ตั้งสติ

คุณต้องมีสติรับรู้ในสิ่งที่คุณทำหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวเราตอนนี้ครับ รับรู้สิ่งเร้าภายนอกที่กระตุ้นให้เราเกิดความรู้สึกโกรธหรืออยากแก้แค้น เอาคืน ดึงสติกลับมาครับ ก่อนที่จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การควบคุมการหายใจ” หายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ 4 วินาที หายใจออกยาว ๆ 4 วินาที ลองฝึกตามผมช้า ๆ นะครับ ค่อยๆ หายใจ เมื่อร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น เราก็จะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ง่ายขึ้นครับ โดยส่วนตัวผมอยากจะแนะนำว่า “ฝึกหายโกรธ ตอนที่ยังไม่โกรธ” ฝึกการหายใจเพื่อควบคุมอารมณ์ของตนเอง เคยสังเกตอาการของตนเองตอนที่โกรธบ้างหรือไม่ครับ เวลาที่เราโกรธ เราจะหายใจสั้น มวลท้อง กล้ามเนื้อไหล่เกรงตัว กำหมัดแน่น ศีรษะมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือ “หัวร้อน” นั้นเอง แต่คราวนี้เราจะทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับร่างกายเพื่อเป็นการหลอกสมองว่าเราไม่โกรธ สมองก็จะปรับสารเคมีใหม่ทำให้หายโกรธได้อย่างรวดเร็วครับ


2. รับรู้ว่าแสดงออกแบบนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม

เช่น การแซงคิว การขับรถปานหน้ารถคันอื่นโดยไม่เปิดสัญญาณไฟเลี้ยว การใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น หรือการรังแกคนที่ไม่มีทางสู้ ผมอยากจะอธิบายให้นะครับว่า การแสดงออกความก้าวร้าวเป็นรู้แบบหนึ่งของการสื่อสารดังนั้น เราจึงมีสิทธิ์ที่จะเลือกวิธีการสื่อสารเพื่อบอกว่าเราต้องการอะไรใช่หรือไม่ครับ ผมให้ตัวอย่างก็แล้วกันครับ เช่น เวลาที่เรากำลังโกรธ แต่มีสายโทรศัพท์จากพนักงานพัสดุที่เราสั่งของโทรมาถามว่า ตำแหน่งที่อยู่ของบ้านเราอยู่ตรงไหน เราคงไม่ตะคอกพนักงานส่งพัสดุที่ปลายสายถูกไหมครับ แต่เราจะลดระดับของอารมณ์ตัวเองลงมาได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานส่งของ ถูกต้องไหมครับ สิ่งนี้สามารถพิสูจน์ ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การแสดงออกความก้าวร้าวเป็นสิ่งที่เราเลือกว่าจะแสดงออกอย่างไรหรือกับใครได้ครับ ดังนั้นเมื่อเรายอมรับและรับรู้ว่าการที่เราเลือกใช้ความก้าวร้าวเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขและเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ ด้วยเหตุผลนี้ ก็นับว่าเป็นก้าวแรกที่เริ่มต้นได้ถูกทางแล้วครับ


3. เริ่มต้นฝึกฝนการควบคุมอารณ์และแนวคิด

จากแบบฝึกหัดแรกคือการฝึกหายใจเพื่อหลอกให้สมองเชื่อว่าเราไม่โกรธในข้อที่ 1 ผมอยากให้ลองปรับมุมมองว่าถ้าเราเป็นผู้ที่ถูกแสดงออกอย่างก้าวร้าวใส่ เราคงไม่พอใจ หรือเราโดนคนอื่นแยกสิทธิ์ของเราไป เราก็คงไม่มีความสุข ผมอยากให้เราเพียงรักษาสิทธิ์พึงมีพึงได้ที่เป็นของเราโดยไม่ก้าวล่วงเอารัดเปรียบผู้อื่นหรือถูกผู้อื่นเอาเปรียบ ผมอยากให้ลองคิดว่าหากเราถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกทำให้เสียใจ หรือกีดกันในการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เราก็คงไม่มีความสุขใช่ไหมครับ ดังนั้นใจเขาใจเรา ลองคิดถึงจิตใจของคนอื่นบ้างก็ดีนะครับ เพื่อสังคมที่น่าอยู่และปลอดภัยสำหรับทุกคนครับ ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้เกือบทุกวันในข่าวก็คือ รถยนต์ที่ขับปานหน้ากันแล้วพยายามเบรคเพื่อให้อีกคนชนท้าย สิ่งนี้เกิดจากความก้าวร้าวและพฤติกรรมต่อต้านสังคมครับ มีสาเหตุจากความรู้สึกที่อยากตอบโต้ในสิ่งที่ตนเองโดนกระทำหรือแค่ทำเพราะความรู้สึกสะใจที่ได้ฉีกกฎที่สังคมได้วางข้อตกลงไว้ร่วมกันเฉย ๆ การปรับมุมมองที่เรามีต่อเรื่องต่างๆ ในชีวิตสำคัญมาก ต่อการเลือกการแสดงทางร่างกายหรือทางอารมณ์ต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมากครับ เช่น “หากลูกทำจานข้าวใบโปรดที่เรารักมากแตก เราควรจะตอบโต้หรือแสดงพฤติกรรมอย่างไรกับลูกของเรา”


วิธีจัดการจากมุมของผู้ที่อยู่รอบตัวของคนที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม


1. บอกสิ่งที่อยากให้คนที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคมปรับ

เข้าใจถึงสิ่งที่เราคาดหวังอย่างชัดเจน เช่น กฎในการอาศัยอยู่ร่วมกัน การไม่ใช้ความรุนแรงในครอบครัว การไม่พูดคำหยาบคายหรือไม่สุภาพ ไม่ทำลายขว้างปาสิ่งของ


2. ให้กำลังใจและไม่ตัดสิ

สิ่งนี้สำคัญมากนะครับ ในการช่วยเหลือและพัฒนาบุคคลให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกันกับคนอื่นในสังคมได้ครับ การที่เราให้กำลังใจเค้าจะสามารถช่วยให้เค้าก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ และการไม่ตัดสินเค้าเพราะเค้าเคยมีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวหรือต่อต้านสังคม ก็ช่วยให้เค้าสามารถรับรู้ถึงโอกาสที่เราหยิบยื่นให้ รวมถึงสามารถมุมมองที่ดีในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมครับ


3. ระวังฉนวนเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม

เช่น การดื่มสุรา การใช้อารมณ์ในบทสนทนา หรือการถูกยั่วยุทางคำพูดและภาษากาย เราในฐานะที่เป็นคนที่อยู่รอบตัวเค้า เราสามารถช่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่สามารถจุดฉนวนเหตุได้ เพียบเราเข้าใจเค้าและพยายามอย่าให้เค้าตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสถานะการที่จะเหนี่ยวนำไปสู่เหตุการณ์ที่จะต้องใช้พฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคมครับ


เมื่อทราบแล้วว่าเราควรปฎิบัติตนเองเช่นไร ทั้งในมุมของคนที่มีพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม และในมุมของคนที่อยู่รอบตัว สุดท้ายหากเรารู้สึกว่าต้องการคุยกับใครซักคนหนึ่งถึงเรื่องพฤติกรรมแบบก้าวร้าวและต่อต้านสังคม หรือความหนักใจที่คิดว่าอธิบายกับคนอื่นลำบากหรือกลัวว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจเรา ลองนัดคิวปรึกษาส่วนตัวกับนักจิตวิทยาของ iSTRONG ดูบ้างไหมครับ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง

 

ประวัติผู้เขียน : สิทธิเดช คุ้มมณี นักจิตวิทยาพัฒนาการและศิลปะบำบัด ผู้เชี่ยวชาญการอ่านและวิเคราะห์ภาษากาย ผู้เชี่ยวชาญการตรวจและกระตุ้นพัฒนาการในเด็กและการบำบัดแบบครอบครัว การใช้ศิลปะบำบัดเพื่อการเข้าใจตนเอง

Comentarios


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page