top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

เทคนิคจิตวิทยาดูแลสุขภาพจิตตามพฤติกรรมเด่นของจักระทั้ง 7


เมื่อพูดถึงเรื่อง “จักระ” หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยมากนัก แต่สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องสุขภาพร่างกายก็จะเคยได้ยิน หรือคุ้นเคยกับ “จักระ”  เป็นอย่างดี โดยจักระ (Chakra) เป็นแนวคิดในระบบพลังงานของโยคะและอายุรเวท ซึ่งมีความหมายถึง จุดศูนย์กลางพลังงานในร่างกายของเรา โดยมีทั้งหมด 7 จักระ ได้แก่ (1)  มูลาธาระ (2) สวาธิษฐาน (3)  มณีปุระ (4) อนาหตะ (5) วิศุทฺธะ (6) อาชฺญา และ (7) สหัสราระ โดยจะพูดถึงอย่างละเอียดกันอีกครั้งนะคะ

นอกจากจักระจะมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพกายแล้ว ทางด้านจิตวิทยา หรือสุขภาพจิตเอง จักระก็มีความสัมพันธ์อย่างมาก เนื่องจากการทำงานของจักระต่าง ๆ จะสามารถส่งผลต่อสภาพจิตใจ หากจักระทำงานไม่สมดุลก็สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตและบุคลิกภาพที่ไม่ดีได้


ดังนั้นแล้วหากเรารู้จักจักระหลักตามพฤติกรรมเด่นของเรา เราจะสามารถดูแลสุขภาพจิตของเราได้อย่างเหมาะสม โดยมีแนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาแนะนำไว้ ดังนี้ค่ะ

1. มูลาธาระ (Muladhara - รากจักระ)

พฤติกรรมเด่น

1) ไม่ชอบเรื่องเซอร์ไพส์ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ยึดหลัก “ปลอดภัยไว้ก่อน” ชอบคิดวิเคราะห์ วางแผน

2) แสวงหาความมั่นคงในชีวิต 

3) ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด

4) รอบคอบ ช่างสังเกต ใส่ใจทุกรายละเอียด

5) รักครอบครัว มักใช้เวลาส่วนใหญ่กับคนในครอบครัว หรือคนที่เขารัก

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) ทำกิจกรรมผ่อนคลายที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เช่น เดินเล่นในสวน เดินป่า เพื่อให้จิตใจเกิดความรู้สึกสงบ และผ่อนคลาย

2) เนื่องจากจักระมูลาธาระมีความสัมพันธ์กับกระดูกสันหลัง ขาและเท้า จึงควรออกกำลังกายที่สร้างความแข็งแรงให้กับอวัยวะส่วนดังกล่าว โดยการเดิน วิ่ง เต้น หรือโยคะ

3) ฝึกสมาธิผ่านการฟังเสียงเพลงบรรเลง เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่ง

4) บริหารจัดการชีวิตให้เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ


2. สวาธิษฐาน (Svadhisthana - จักระแห่งกระดูกเชิงกราน)

พฤติกรรมเด่น

1) มีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก ชอบคิดนอกกรอบ เด็ดเดี่ยวที่จะโดดเด่น

2) เป็นคนเบื่อง่าย ตัดสินใจเร็ว ชอบทดลองสิ่งใหม่ ๆ แต่คงความสนใจได้ไม่นาน

3) มิตรสัมพันธ์ดี มีความเป็นมิตรสูง เข้ากับคนง่าย

4) อารมณ์อ่อนไหว ความคิดเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว 

5) ชอบงานศิลปะมาก หรือมีทักษะด้านศิลปะโดดเด่น

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) ออกกำลังกายโดยการเต้นรำหรือการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระเพื่อปลดปล่อยอารมณ์

2) เนื่องจากจักระสวาธิษฐานมีความสัมพันธ์กับอวัยวะเพศ กระดูกเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะ ไต จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่น

3) ทำกิจกรรมที่สร้างสมาธิและความผ่อนคลาย เช่น งานศิลปะ งานฝีมือ การทำอาหาร เป็นต้น

4) หมั่นสำรวจความรู้สึกของตนเอง ผ่านการเขียนไดอารี่ หรือสำรวจงานศิลปะประจำวัน


3. มณีปุระ (Manipura - จักระแห่งพลังงาน)

พฤติกรรมเด่น

1) ชอบความท้าทาย ชอบทำลายขีดจำกัดของตนเอง และชอบกิจกรรมที่ได้แข่งขันกับผู้อื่น

2) เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

3) เป็นนักกิจกรรมตัวยง ชอบทำกิจกรรมมาก ตารางชีวิตแน่น แอคทีฟสุด ๆ

4) มีความมั่นใจ และกล้าแสดงออกสูงมาก

5) มีวินัยในตนเองสูง คาดหวังและมุ่งหวังกับตนเองสูงมาก

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) ฝึกสมาธิที่เน้นควบคุมการหายใจ เช่น การหายใจผ่านท้อง (Diaphragmatic Breathing) เพื่อเบรกพลังงานในร่างกายให้ช้าลง มีความสงบมากขึ้น

2) เนื่องจากจักระมณีปุระมีความสัมพันธ์กับตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การซิทอัพ การวิ่ง การเต้น เป็นต้น

3) ถึงแม้เราจะใช้ชีวิตมุ่งหาความสำเร็จ แต่ก็ไม่ควรลืมมุ่งสัมพันธ์ โดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้างไว้บ้าง

4) หมั่นบริหารเวลาให้สมดุล และมีคุณภาพ เพื่อให้มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ


4. อนาหตะ (Anahata - จักระแห่งหัวใจ)

พฤติกรรมเด่น

1) เป็นผู้เสียสละตน ชอบดูแลผู้อื่น ใส่ใจ และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสูง

2) เป็นคนอบอุ่น เป็นนักประนีประนอม ไม่ชอบการปะทะ

3) มองโลกบวก ใจดี ใจกว้าง ใจเย็น ยุติธรรม และปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับทุกคน

4) เป็นมิตรกับทุกคน เป็นคนที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) การฝึกสมาธิโดยเน้นเทคนิคที่เพิ่มการหมุนเวียนอากาศในปอด เช่น การฝึกเมตตาภาวนา (Loving-kindness Meditation) การฝึกสมาธิโดยการกำหนดลมหายใจในระดับลึก เป็นต้น

2) เนื่องจากจักระอนาหตะมีความสัมพันธ์กับหัวใจ ปอด ระบบเลือด จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าอกและการหายใจ เช่น การวิ่ง การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก เป็นต้น

3) ใจดีกับคนอื่นแล้ว อย่าลืมใจดีกับตัวเองด้วยนะคะ ใส่ใจตัวเอง และคิดถึงตัวเองบ้าง เช่น ทำกิจกรรมที่พัฒนาตนเอง ออกไปเที่ยวบ้าง เพื่อจะได้รักษาสมดุลทางความรู้สึกให้เหมาะสม


5. วิศุทฺธะ (Vishuddha - จักระแห่งคอ)

ฤติกรรมเด่น

1) เป็นผู้ดึงดูดแสงสปอร์ตไลท์ โดดเด่นมาจากอินเนอร์ บางครั้งก็ไม่ตั้งใจ แต่มันเด่นขึ้นมาเอง

2) ช่างพูด ช่างคุย ช่างเจรจา

3) มีความเป็นผู้นำ และนักวางแผน

4) มีความมั่นใจในตนเองสูง กล้าแสดงออกมาก

5) มีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน และมี passion สูงในการบรรลุเป้าหมายของตนเอง

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) ฝึกสมาธิเพื่อพัฒนาการจัดการความคิด และการมองภาพรวม เช่น การฝึกสมาธิด้วยการมองภาพ (Visualization Meditation) และใช้เทคนิคการหายใจเพื่อเปิดช่องทางหายใจและทำให้จิตใจสงบ เช่น การหายใจผ่านจมูก (Nadi Shodhana)

2) เนื่องจากจักระวิศุทฺธะมีความสัมพันธ์กับคอ คอหอย และระบบหายใจ จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อคอและการเปิดช่องทางหายใจ เช่น การยืดคอการหมุนคอ

3) การฝึกการฟังเพื่อให้เข้าใจและเชื่อมโยงกับผู้อื่น โดยใช้เทคนิคจิตวิทยา Deep Listening

4) การจัดการกับความเครียดและการหาความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance)


6. อาชฺญา (Ajna - จักระแห่งหน้าผาก)

พฤติกรรมเด่น

1) ความจำดีมาก เป็นผู้ที่เก็บรายละเอียดเก่ง 

2) ช่างสงสัย และต้องหาคำตอบให้ทุกคำถามให้ได้

3) เป็นนักคิด นักวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูลไวมาก แต่ไม่ถนัดด้านการใช้กำลัง

4) Introvert ชอบอยู่กับตัวเอง ไม่ชอบคนเยอะ ๆ มีเพื่อนน้อย 

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) การฝึกสมาธิเพื่อเสริมสร้างการรับรู้และสติ ด้วยการฝึกสมาธิด้วยการมองเห็นในจิต (Visualization Meditation)

2) เนื่องจากจักระอาชฺญามีความสัมพันธ์กับสมอง ดวงตา ต่อมใต้สมอง จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงและการผ่อนคลาย เช่น การเดินในสวน การว่ายน้ำ การเต้นรำ เป็นต้น

3) การดูแลสายตาและการหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอมากเกินไป เพราะผู้ที่มีจักระนี้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อยู่เสมอ


7. สหัสราระ (Sahasrara - จักระแห่งมงกุฎ)

พฤติกรรมเด่น

1) สุขุม นิ่ง สงบ สนใจในศาสตร์ลี้ลับ

2) รักสันโดษ ไม่ค่อยชอบอยู่กับผู้คนเยอะ ๆ

3) ชอบการปฏิบัติธรรม หรือเรียนรู้ทางศาสนา

แนวทางดูแลสุขภาพจิต :

1) การผ่อนคลายร่างกายด้วยการนวดหรือการฝึกการควบคุมการหายใจ

2) เนื่องจากจักระสหัสราระมีความสัมพันธ์กับสมอง และระบบประสาท จึงควรออกกำลังกายที่เน้นการผ่อนคลาย เช่น โยคะ รำไทเก๊ก ลีลาศ เป็นต้น

3) การศึกษาหลักธรรมที่สนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม


จะเห็นได้ว่าจักระแต่ละจุดจะสัมพันธ์กับสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงจิตวิญญาณของเรา ดังนั้นการดูแลการทำงานของจักระให้สมดุล จึงสามารถช่วยดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตให้สมดุลอีกด้วย

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง :  Shai Tubali. (2018). The Seven Chakra Personality Types: Discover the Energetic Forces That Shape Your Life, Your Relationships, and Your Place in the World (Chakra Healing). Conari Press : U.S.

 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิกจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page