7 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เกิดขึ้นได้เมื่อคุณหัวเราะ
คุณหัวเราะครั้งล่าสุดไปกับเรื่องอะไรคะ ?
ล่าสุดกวางหัวเราะไปกับงานตัวเองค่ะ ตอนเเรกยอมรับว่าเครียดมากเลย อยากรู้คำตอบมาก ๆ ครุ่นคิดอยู่ครึ่งค่อนวัน ว่ามันเกิดจากสาเหตุอะไร ไม่ได้เครียดเพราะอะไรหรอกค่ะ นอกจากว่าอยากจะรู้สาเหตุและคำตอบ มีใครหลายคนเป็นเหมือนกันมั้ยคะ พออยากจะรู้อะไร มันก็คาใจและอยากจะค้นหาคำตอบขึ้นมา พอรู้สาเหตุเราก็จะได้กลับมาแก้ไขและไปต่อได้เร็วขึ้น ก็เท่านั้นเอง กวางว่ายิ่งเรารู้สาเหตุเร็วขึ้นเราก็จะได้เเก้ไขได้เร็วขึ้นนะคะ
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงล่ะ ?
เราอาจจะหาคำตอบจากคนอื่น ผู้เชี่ยวชาญหรือคนที่จะให้คำตอบกับเราได้ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น พอรู้แล้ว เราก็กลับมาดูซิว่ามันจริงมั้ย มันใช่มั้ย ถ้าใช่เราก็ยอมรับ ก็แค่นั้นเองค่ะ พอยอมรับแล้วเราก็จะเห็นจุดบอดของเราได้มากขึ้นว่า อ๋อมันจริงนะ
แล้วเราจะหัวเราะไปกับมันได้ยังไงล่ะ?
บอกตรง ๆ กันตรงนี้เลยนะคะว่า ตอนเเรกขำไม่ออกเลย แต่พอรู้คำตอบเเล้วกลับมาดูเท่านั้นแหละ เห็นแล้วขำเลยค่ะ แล้วก็อุทานออกมาว่า ''ทำออกมาได้ยังไงเนี่ย ไม่น่าเลย โอ้มายก๊อด พระเจ้าช่วยกล้วยทอด ทำไมตอนเเรกไม่เห็น ไม่เอะใจเลยนะ'' เรื่องมันก็มีอยู่เท่านี้เองค่ะ
บางอย่างมันก็แค่เส้นผมบังภูเขานะคะ ตอนเเรกเราอาจจะหามันไม่เจอ เราจะหามันเจอเมื่อเราออกมาจากจุด ๆ นั้น ออกมาจากมุมมองของตัวเราลองมองในแบบของคนอื่นมองซิว่าคนอื่นจะมองว่ายังไง คนอื่นจะคิดยังไง รู้สึกยังไง ถ้าถึงบางอ้อละก็ อ๋อ จริงนะ ไม่น่าเลยจริง ๆ จากนั้นก็ขำให้มันหนึ่งทีหรือหลายทีก็ได้ค่ะ โทษฐานเป็นตัวการที่เราหามันไม่เจอ แล้วก็ทำต่อไปกลับมาเเก้ไขมัน ทำมากขึ้น ดูมากขึ้น ศึกษาให้มันมากขึ้น นึกถึงคนอื่นมากขึ้น เราก็จะได้งานของเราในอีกเวอร์ชั่นหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ แบบนี้สิที่เค้าเรียกว่า ล้มเหลวคือกำไรนะเออ
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงตอนเป็นเด็กเราตื่นเต้น หัวเราะไปกับอะไรง่าย ๆ ร้องไห้แป้ปเดียวก็ลืมละ จริงมั้ยคะ 😊
ตอนนี้ตัวเราก็อยู่กับเราตลอดเวลานั่นแหละค่ะ คุยกับตัวเองบ่อย ๆ อย่าปล่อยให้เด็กคนนั้นเหงาหงอยไปคนเดียวนะคะ เล่นกะเค้าหน่อย และวันนี้กวางก็มีประโยชน์ที่ได้จากการหัวเราะมาฝากกันค่ะ การหัวเราะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายใน 7 ระบบได้แก่
1.ระบบทำงานของสมอง
การหัวเราะ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทสมองส่วนพรีฟรอนทอลคอร์เทกซ์ (prefrontal cortex) บริเวณสมองส่วนหน้า (ซึ่งสมองบริเวณนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมความคิดที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของอารมณ์เชิงบวกและลบ) ที่ทำให้เกิดการหลั่งของสารชีวเคมีตัวหนึ่งที่ชื่อว่า endorphin ซึ่งเป็นสารชีวเคมีของสมองที่มีฤทธิ์ "เพชฆาตความเจ็บปวด"
2.ระบบหายใจ (Breathing)
ในระหว่างที่หัวเราะร่างกายมีการหายใจเข้า กลั้นหายใจ และหัวเราะ (หายใจออกยาวๆ) ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนถ่ายออกซิเจน ฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดง จึงทำให้เซลล์ประสาทหัวใจ ปอด คอ แข็งแรงขึ้น นอกจากนี้การหัวเราะยังช่วยบริหารร่างกายให้เกิดความร้อนและการเผาผลาญพลังงานสูง ช่วยฆ่าเชื้อโรคและป้องกันโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ทั้งไข้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด ไซนัส กรน ความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคปอด
3.ระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย (Digestion and Gastrointestinal)
การหัวเราะบำบัดช่วยให้อวัยวะส่วนท้อง อาทิ ลำไส้ใหญ่ เล็ก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ มีการเคลื่อนไหว เกิดการบริหารกระเพาะและลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายทำงานดีขึ้น ป้องกันโรคอ้วน โรคบูลิเมีย เป็นต้นค่ะ
4.ระบบไหลเวียนโลหิต (Circulation and Cardio-vascular system)
การหัวเราะบำบัดเป็นการออกกำลังทุกส่วนของร่างกายทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้เคลื่อนไหวเป็นจังหวะเร็วบ้าง ช้าบ้าง หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากขึ้น หัวใจทำงานเป็นระบบขึ้น ป้องกันอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เหนื่อยง่าย เหนื่อยเร็ว เจ็บแน่นหน้าอก โรคขาดเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบตัน โรคหัวใจ ตลอดจนอาการใจสั่น เสียงสั่น ตัวสั่น ตื่นตระหนกและประหม่าง่าย
5.ระบบพักผ่อนและผิวพรรณ (Rest and Skin system)
การหัวเราะบำบัดช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ยืดหยุ่น ไม่ตึงหรือเกร็ง ทำให้ร่างกายเกิดการพักผ่อน นอนหลับสนิท ผิวพรรณดี ไม่เหี่ยวย่น และไม่เป็นโรคทางผิวหนัง ช่วยให้ร่างกายและจิตใจเกิดความสงบ มีสมาธิมากขึ้น
6.ระบบเจริญพันธุ์ (Reproduction)
การหัวเราะบำบัดทำให้ร่างกายทุกส่วนขยับขับเคลื่อน ส่งผลต่อการทำงานของสมองส่วนนอก ส่วนกลาง และส่วนใน ให้ทำงานดีขึ้น เป็นระบบขึ้น ทำให้สมองคิดแง่ดี มองโลกแง่บวก อารมณ์ดี พัฒนาอารมณ์รัก และการมีเพศสัมพันธ์ และช่วยป้องกันอาการไร้อารมณ์ หงอยเหงา โดดเดี่ยว ไม่อยากเข้าสังคม การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการเข้าสังคม
7. สัญชาติญาณการอยู่รอด (Survival instinct)
การหัวเราะบำบัดทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว แข็งแรง ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ ร่างกายทำงานเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคไขข้อ โรคกระดูกต่าง ๆ ทั้งกระดูกพรุน ปวดหลัง ปวดเอว อ่อนเปลี้ยเพลียแรง โรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยทำลายสารอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
อ้างอิงจาก
ที่มา : หนังสือชีวจิต ฉบับ 1 ต.ค. 2549 http://www.pnas.org/
15 August 2550
By โดย DMH Staffs
____________________________________________________
iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว
บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง
สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)
และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop
รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย
Contact : https://www.istrong.co/service
Comments