top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

เปิด 4 เหตุผลทางจิตวิทยา ที่เดือนมกราคมแสนยาวนานในความรู้สึก


ในทุก ๆ การเริ่มต้นปีใหม่ เรามักจะรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานกว่าทุก ๆ เดือน ประหนึ่งว่า ในหนึ่งปีมี 365 วัน เป็นเดือนมกราคมไปแล้วถึง 65 วันเลยทีเดียว โดยหลาย ๆ คน รู้สึกว่าในเดือนอื่น ๆ ก็ผ่านไปปกติ และในบางเดือนก็ผ่านไปรวดเร็วเสียด้วยซ้ำ เช่น เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีวันน้อยกว่าทุกเดือน รวมถึงเดือนเมษายน และเดือนธันวาคม ที่มีวันหยุดเยอะ เราก็จะรู้สึกว่าเดือนเหล่านี้ผ่านไปไวมาก แต่เมื่อมองกลับมาที่เดือนมกราคม เรากลับเกิดความรู้สึกว่าแต่ละวันช่างยาวนาน และดูทีท่าจะไม่จบเดือนมกราคเสียง่าย ๆ 


เพราะอะไรเราจึงเกิดความรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานกว่าทุกเดือนกันนะ วันนี้จิตวิทยามีคำตอบมาฝากค่ะ


  1. Post - Vacation Blues Post - Vacation Blues เป็นอาการซึมเศร้ารูปแบบหนึ่ง ที่ทางจิตวิทยาให้ความหมายว่า “อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” หรือ ความรู้สึกไม่มีความสุขเนื่องมาจากวันหยุดยาวหมดลง และต้องกลับมาทำงาน มาเรียน หรือมาใช้ชีวิตเม ๆ อีกครั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาให้ข้อมูลว่า สาเหตุของ Post - Vacation Blues นั้นมาจากการที่สมองขาดฮอร์โมน Endorphin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขอย่างฉับพลัน ส่งผลให้สมองเกิดความรู้สึกเจ็บปวด และเกิดความเครียดขึ้นมา นั่นจึงทำให้สารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุล และเกิดอาการซึมเศร้าขึ้นมาค่ะ โดยก่อนหน้าเดือนมกราคม คือเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีวันหยุดเยอะมาก โดยเฉพาะวันหยุดปีใหม่ที่คาบเกี่ยวมาถึงวันที่ 1 หรือ 2 มกราคม นั่นจึงทำให้เรายังคงดื่มด่ำอยู่กับห้วงเวลาแห่งความสุข สมองเสพติดการพักผ่อน พอมาถึงเดือนมกราคม สมองจึงช็อกและยังไม่พร้อมที่จะทำงานหนักนั่นเองค่ะ 

  2. ดือนมกราคมมีวันหยุดพิเศษน้อยมาก มาถึงข้อนี้หลาย ๆ ท่านอาจนึกแย้งในใจว่า นอกจากเดือนมกราคม ก็ยังมีเดือนอื่น ๆ ที่ไม่มีวันหยุด เช่น เดือนกันยายน และพฤศจิกายน แต่ทั้งสองเดือนก็ไม่ได้ทำให้เราเกิดความรู้สึกยาวนานเหมือนเดือนมกราคม นั่นเป็นเพราะเดือนกันยายน และเดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนที่คั่นกลางระหว่างเดือนที่มีวันหยุดเยอะมาก คือเดือนสิงหาคม เดือนตุลาคม และเดือนธันวาคม จึงทำให้จิตใจเราจดจ่ออยู่ที่วันหยุดในเดือนต่อไปซึ่งมาไว และมาถี่เสียด้วย แต่กับเดือนมกราคม ที่อยู่ระหว่างเดือนธันวาคม และเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งก็เป็นเดือนที่มีวันหยุดเช่นกัน แต่วันหยุดในเดือนกุมภาพัยธ์นั้นอยู่ไกลถึงสิ้นเดือน จึงทำให้ระยะห่างระหว่างวันหยุดครั้งสุดท้าย คือ 1 หรือ 2 มกราคม จนไปถึงวันมาฆบูชา ซึ่งอยู่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ยาวนานมาก 

  3. ารรอคอยวันเงินเดือนออกที่ยาวนาน นอกจากนี้สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เรารู้สึกว่าการรอคอยวันสิ้นเดือนมกราคมมาถึงช่างยาวนาน ก็คือ เงินเดือนที่ถูกใช้ไปเยอะแล้วในช่วงปีใหม่ ทั้งไปเที่ยว กลับบ้าน ช้อปปิ้ง หรือนำโบนัสไปใช้หนี้ หรือจากสาเหตุใดก็ตามต่างก็ทำให้การบริหารจัดการทางการเงินในเดือนมกราคมค่อนข้างมีปัญหา นั่นจึงทำให้การรอคอยเงินเดือนในเดือนมกราคมช่างแสนนาน และทรมานจิตใจมากว่าจะมีเงินใช้ไม่ถึงสิ้นเดือน และแน่นอนค่ะว่า เมื่อเรามีสถานะเป็นคนรอ สิ่งที่รอมักจะมาช้าเสมอ เราจึงเกิดความรู้สึกว่าสิ้นเดือนมกราคมช่างอยู่ห่างไกลและเดินทางมาถึงอย่างเชื่องช้าเสียจริง 

  4. ดือนมกราคม มีถึง 5 สัปดาห์ โดยปกติแล้วเราจะคุ้นชินว่าในหนึ่งเดือนมี 4 สัปดาห์ หรือถ้าเดือนไหนมี 5 สัปดาห์ก็จะมีวันหยุดมาคั่นตรงกลางระหว่างเดือน จึงทำให้เรารู้สึกว่าเดือนนั้นไม่ได้ยาวนาน แต่กับเดือนมกราคม นอกจากจะมีวันหยุดน้อยแล้ว ยังมีระยะยาวนานถึง 5 สัปดาห์ นั่นจึงทำให้เรารู้สึกว่าเดือนมกราคมช่างเป็นเดือนที่ทรหดอดทนกับการทำงานเสียจริง และไม่จบไม่สิ้นอย่างง่าย ๆ ขนาดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมของปี 2567 ยังกินเวลาถึง 4 วันถึงจะหมดเดือน  


นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้แนะนำวิธีรับมือกับเดือนมกราคมที่แสนยาวนาน ไว้ดังนี้ค่ะ

1. วางแผนวันต่อวัน

หากว่าสิ้นเดือนมกราคมยาวนานจนมองไม่เห็นสิ้นเดือน เพราะฉะนั้นแล้ว การมองเห็นวันพรุ่งนี้น่าจะชัดเจนมากกว่า ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจึงแนะนำว่า เพื่อลดระยะการรอคอยสิ้นเดือนมกราคม เราควรวางแผนวันต่อวันว่าวันนี้เรามีอะไรที่ต้องทำบ้าง และวันต่อไปควรทำอะไรบ้าง โดย Focus เพียงวันต่อวันไปเรื่อย ๆ แล้วเราจะรู้สึกว่าแต่ละวันผ่านไปอย่างมีความหมาย และการเดินทางมาถึงของเดือนกุมภาพันธ์ไม่นานอีกต่อไป


2. วางแผนเที่ยวในวันหยุดยาวต่อไปรอได้เลย

ถ้าใจเรายัคงไม่ Move on จากวันหยุดยาวที่ผ่านมา วิธีที่จะทำให้จิตใจสงบ ลดความหดหู่ และซึมเศร้าลงได้ ก็คือ การวางแผนถึงวันหยุดยาวต่อไปได้เลยค่ะ เมื่อเรามีแผนแล้วว่าในวันหยุดครั้งต่อไปเราจะไปที่ไหน มีกิจกรรมอะไรบ้าง และที่สำคัญต้องใช้เงินเท่าไร เราจะตั้งหน้าตั้งตาทำงานโดยไม่สนใจเลยว่าเดือนมกราคมยาวนานสักเพียงไร


3. บริหารการเงินให้เหมาะสม

ถ้าหากปัญหาของเดือนมกราคมคือเรื่องการเงินที่กลัวใจว่าจะไปไม่ถึงสิ้นเดือน เพราะฉะนั้นแล้วการบริหารจัดการทางด้านการเงินที่เหมาะสมน่าจะเป็นทางออกที่ช่วยลดความรู้สึกซึมเศร้า หรือลดการเกิดความรู้สึกทางลบในเดือนมกราคมลงได้ ถึงแม้ว่าทุกปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเงิน แต่ถ้าหากไม่มีเงิน ชีวิตเรามีปัญหาทันที ดังนั้นแล้ว หากเรามีเงินพอดี พอใช้ไปถึงสิ้นเดือนน่าจะดีกับชีวิตของเรามากกว่านะคะ


4. หาช่วงเวลา Relax ระหว่างเดือน

และถ้าวันหยุดในเดือนกุมภาพันธ์ยังอีกไกลที่จะเดินทางมาถึง เราก็สร้างวันหยุดด้วยตัวเองไปเลยค่ะ ถ้าเรามีวันลาก็ลาพักผ่อน ซึ่งต้องพักผ่อนจริง ๆ นะคะ หากเราใช้วันหยุดเพื่อทำงาน เราจะเหนื่อยหนักกว่าเดิม แถมยังเป็นท้อ เป็นเครียดกับชีวิตเพิ่มขึ้นมาอีก หรือถ้าไม่อยากจะเสียวันหยุด ลองเลิกงานไวสักวันแล้วไปดูภาพยนตร์ ไปช้อปปิ้ง ไปทานอาหารมื้อค่ำ ให้ของอร่อยช่วยเยียวยานะคะ แล้วจิตใจของเราจะพองฟูขึ้นมาได้ ซึ่งช่วยทำให้มกราคมยาวนานสั้นลงได้


จะว่าไปแล้วสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าเดือนมกราคมยาวนานนั้น มาจาก Work Life Balance ที่ในไม่สมดุลนั่นเอง โดยเราอาจจะต้องถือคติในการทำงานใหม่ เป็นว่า “Work Hard, Play Harder” ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อเราทำงานหนัก เราก็ต้องใช้ชีวิตให้มีความสุข หรือหาความสุขให้ตัวเองเท่า ๆ กับที่ทุ่มให้กับการทำงาน เพื่อให้ชีวิตมี Balance และมีความสุขในการใช้ชีวิตในทุก ๆ เดือนค่ะ 


และหากคุณต้องการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจตนเองและผู้คนมากขึ้น เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว และในชีวิตประจำวัน คุณสามารถสมัครเรียน "หลักสูตรนักให้คำปรึกษากับนักจิตวิทยา" จาก iSTRONG ได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong


 

บทความแนะนำ : 


อ้างอิง : กรมสุขภาพจิต. (7 มกราคม 2565). รู้จักอาการ Post-Vacation Blues เมื่อหยุดยาวฉันสุขล้นปรี่ และเศร้า หลังวันหยุดพักผ่อน มีอาการ วิธีการรักษาอย่างไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2567 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31424


 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page