top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

กลยุทธ์ทักษะ HR แบบไหนที่เข้าถึงใจพนักงาน



เมื่อพูดถึงตำแหน่ง HR (Human Resource) หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ฝ่ายบุคคล” โดยมากก็คงจะนึกถึงเรื่องของการคัดคนเข้ามาทำงาน การพิจารณาเงินเดือนสวัสดิการ การทำ Payroll การจัดอบรมพัฒนาทักษะการทำงาน การประเมินคุณภาพการทำงานของพนักงาน การบริหารจัดการเรื่องพนักงานขาดลามาสาย การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งพนักงาน


ซึ่งที่กล่าวไปนั้นจัดว่าเป็น Hard Skills แต่เท่าที่ผู้เขียนสังเกตก็พบว่ายังมีหลายองค์กรละเลยเกี่ยวกับ Soft Skills ของตำแหน่ง HR ผลที่ตามมาก็คือพนักงานมีอัตราการลาออกสูง ส่วนพนักงานที่ยังอยู่ก็ทำงานกันแบบหมดไฟหมดใจ ที่ยังทำงานที่เดิมต่อไปก็เพราะมีหนี้สินไม่ใช่เพราะมีความรักและผูกพันกับองค์กร


ดังนั้น Soft Skills ของ HR จึงมีความสำคัญไม่แพ้ Hard Skills เพราะหาก HR มีความเข้าถึงใจพนักงานก็จะช่วยให้องค์กรเต็มไปด้วยพนักงานที่สามารถดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่วัยแรงงานส่วนใหญ่จัดว่าเป็นคน Gen Z ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องการความรู้สึกมีคุณค่า มีส่วนร่วม ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในที่ทำงาน และโดยเฉลี่ยแล้วพนักงาน Gen Z เต็มใจที่จะลดเงินที่ได้ลง 19% หากความต้องการอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินเดือนของตนได้รับการเติมเต็ม


Soft Skills สำคัญที่ HR ควรมี

กลยุทธ์และทักษะด้าน Soft Skills ของตำแหน่ง HR นั้นมีมากมายหลายอย่าง แต่ในบทความนี้ผู้เขียนขอหยิบยกขึ้นมา 4 อย่าง ได้แก่


1. การทำงานแบบเชิงรุก (Proactivity)

ตำแหน่ง HR เปรียบเหมือนคนกลางระหว่างนายจ้างและพนักงาน ทักษะการทำงานแบบเชิงรุกจะช่วยให้ HR สามารถสังเกตเห็นปัญหาเกี่ยวกับศักยภาพของพนักงานก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อองค์กรหรือก่อนที่ปัญหามันจะบานปลาย ซึ่งเมื่อสังเกตเห็นแล้วว่าพนักงานมีปัญหาเกี่ยวกับศักยภาพ HR ก็จะต้องใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและจัดวางตำแหน่งพนักงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร


2. การสื่อสาร (Communication Skills)  

เนื่องจากตำแหน่ง HR จะต้องคอยประสานระหว่างนายจ้างและพนักงาน ตำแหน่ง HR จึงเป็นตัวแทนของทั้งนายจ้างและทั้งพนักงานในเวลาเดียวกัน ทักษะการสื่อสารจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดย HR จะต้องอธิบายข้อมูลต่าง ๆ และตอบคำถามของพนักงาน มีวิธีในการรับมือกับข้อร้องเรียนที่ได้รับเข้ามา ความสามารถในการเลือกใช้ภาษาก็เป็นอีกสิ่งที่ HR ควรมีเพราะในการสื่อสารกับเจ้านาย ลูกค้า และพนักงาน


ซึ่งอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้ภาษาในโทนที่แตกต่างกัน เช่น เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ ภาษาพูด ภาษาเขียน การพบปะกันในที่ทำงาน การสื่อสารผ่านทางออนไลน์ นอกจากนั้น ยังมีทักษะที่เรียกว่า “storytelling” คือความสามารถในการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมายแต่กระจัดกระจายมาเรียบเรียงให้ชัดเจนเข้าใจง่ายเพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร


3. การฟังด้วยหัวใจ (Active Listening)

การฟังด้วยหัวใจคือทักษะในการรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจโดยไม่ตัดสินหรือมีอคติ สามารถทำให้บรรยากาศการสนทนาเป็นเหมือนพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนที่มาเล่าให้ฟัง การฟังด้วยหัวใจจะต้องมีความเข้าอกเข้าใจ  (empathy) ควบคู่กันไปเสมอเพื่อให้สามารถเข้าใจผ่านมุมมองของคนอื่นได้


หากขาดทักษะการฟังด้วยหัวใจก็จะทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหารจัดการเกี่ยวกับความหลากหลาย, ความเสมอภาค, ความรู้สึกมีส่วนร่วม และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Diversity, equity, inclusion, and belonging: DEI&B) การฝึก (coach) พนักงานให้มีประสิทธิภาพก็จะทำได้ยากมากขึ้น 


4. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

ตำแหน่ง HR เป็นตำแหน่งที่ต้องทำงานกับผู้คนทั้งเพื่อนร่วมงานในแผนก HR ด้วยกันเอง ผู้บริหาร และพนักงานขององค์กร ดังนั้น HR จึงต้องมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในแง่ของการเป็นหนึ่งในคนทำงาน การบริหารจัดการพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ การควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามหลักคุณธรรมจริยธรรม การทำให้ทุกคนในองค์กรเกิดความพึงพอใจ และการสนับสนุนให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจทำงานไปด้วยกัน 


How to พัฒนากลยุทธ์ทักษะ HR ให้เข้าถึงใจพนักงาน

1. เข้าร่วมหลักสูตรการอบรมที่ได้ใบรับรอง (professional certifications)

2. สร้างเครือข่ายกับกลุ่มคนที่อยู่ในสายอาชีพ HR เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร

3. ให้คนที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์มากกว่าช่วยสอน (Mentoring and coaching) 

4. เรียนรู้อยู่เสมอ หมั่นอัพเดทข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ และฝึกฝนทักษะให้กับตัวเองไปเรื่อย ๆ

5. พัฒนาทักษะผ่านการทำงานในแต่ละวัน (On-the-job training)  


แม้ว่าตำแหน่ง HR จำเป็นจะต้องใช้กลยุทธ์ทักษะมากมายจนดูเหมือนว่า HR จะเป็นตำแหน่งงานที่มีภาระความรับผิดชอบที่ล้นหลามจนน่าท้อแท้ตั้งแต่อ่านบทความนี้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมันเป็นทักษะ นั่นหมายความว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด หากทำไปเรื่อย ๆ จนชินมันก็จะเกิดความชำนาญและทำได้เองโดยธรรมชาติในที่สุด


ซึ่งหาก HR สามารถเข้าใจพนักงานได้มากขึ้นก็จะสามารถบริหารจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย เพราะเมื่อ HR สามารถเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของพนักงานได้ก็จะช่วยให้มองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกจุดมากยิ่งขึ้น และหากคุณเป็น HR ที่ต้องการพัฒนาทักษะจิตวิทยาเพิ่มขึ้นในด้านนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรจิตวิทยานักให้คำปรึกษา ระดับ Fundamental ได้ที่นี่ >>



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 
 

อ้างอิง : 

[1] 18 HR Skills Every HR Professional Needs [2024 Guide]. Retrieved from https://www.aihr.com/blog/hr-skills/

[2] คน Gen Z ในที่ทำงาน: วิธีทำให้คนเหล่านี้มีความสุขอยู่เสมอ. Retrieved from https://th-th.workplace.com/blog/gen-z-in-the-workplace

 

นิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นวิทยากรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต/การพัฒนาตนเองให้แก่นักศึกษาเป็นเวลา 11 ปี ปัจจุบันเป็นแม่บ้านในอเมริกาที่มีความสนใจเกี่ยวกับ childhood trauma และยังคงมีความฝันที่จะสื่อสารกับสังคมให้เกิดการตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต





Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page