top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

HR ผู้เป็นด่านหน้าในการดูแลสุขภาพจิตพนักงาน

“การเพิ่มขึ้นของปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน กำลังเรียกร้องทักษะกลุ่มใหม่จาก HR นั่นคือ การให้คำปรึกษาพนักงาน”

HR ผู้ดูแลสุขภาพจิตพนักงาน

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตของประเทศ ครั้งที่ 2/2567 โดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าคนไทยเผชิญปัญหาสุขภาพจิตกว่า 10 ล้านคนซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานที่มีปัญหาทำงานหนักเกินไปและหมดไฟ สอดคล้องกับผลการสำรวจสุขภาพจิตของพนักงานประจำปี ของ iSTRONG Mental Health ที่พบว่า ในเกือบทุกองค์กรที่สำรวจ มีกลุ่มพนักงานเกิน 50% ที่เริ่มปรากฏสัญญาณของภาวะหมดไฟและความเครียดเรื้อรัง


มีการสำรวจจากพนักงานที่ทำงานเต็มเวลาจำนวน 1,500 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 76% ของผู้ตอบบอกว่าตนเองมีอาการด้านสุขภาพจิตอย่างน้อยหนึ่งอาการในปีที่ผ่านมา อีกทั้งมีพนักงาน Gen Y (Millenials) ถึง 68% และ Gen Z ถึง 81% ต้องออกจากงานเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตทั้งที่จำเป็นต้องออกและสมัครใจลาออกเอง


ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานส่งผลกระทบโดยตรงทั้งผลการปฏิบัติงานที่ย่ำแย่ลง การขาดหรือลางานที่มากขึ้น สุขภาพที่ย่ำแย่ลง รวมทั้งปัญหาความสัมพันธ์ทั้งในที่ทำงานและครอบครัว จากข้อมูลของ Mental Health America พบว่า 73% ของพนักงานในองค์กรรายงานว่าความเครียดจากการทำงานส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน


เมื่อปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น พนักงานจำนวนมากก็เลือกที่จะมองหาตัวช่วย ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเดิมหนึ่งพันห้าร้อยคนพบว่า 2 ใน 3 ของพนักงานเลือกที่จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและประเด็นด้านสุขภาพจิตของตนเองกับใครซักคน ซึ่งแน่นอนว่า HR มักเป็นบุคคลแรก ๆ ที่พนักงานเลือกที่จะเดินเข้าไปขอความช่วยเหลือ โดยจะเห็นชัดยิ่งขึ้นในทีมหรือองค์กรที่หัวหน้างานไม่ใช่บุคคลที่พนักงานจะกล้าพูดคุยในเรื่องเปราะบางเหล่านี้


“HR มักเป็นคนกลุ่มแรกที่พนักงานเลือกเดินเข้ามาขอความช่วยเหลือ”

ดังนั้น HR ยุคใหม่ที่ต้องทำงานกับพนักงาน Gen Y และ Gen Z มากขึ้น จำเป็นต้องมีทั้งความรู้ด้านสุขภาพจิต และทักษะการรับมือกับเรื่องเหล่านี้อย่างมืออาชีพ 


ความรู้และทักษะไหนที่เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาบ้าง

จำลองว่า HR ทำหน้าที่คล้ายนักจิตวิทยาในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่พนักงาน ซึ่งควรมีทักษะที่จำเป็น ได้แก่


1. ความเข้าใจด้านการอ่านสัญญาณปัญหาสุขภาพใจของพนักงาน

แบบไหนที่ยังรับมือได้ แบบไหนที่ควรต้องได้รับการพูดคุยใกล้ชิด หรือกรณีไหนที่ควรต้องส่งต่อผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว


2. Empathic Listening

การฟังอย่างไม่ตัดสินที่ลึกกว่าเพียงแค่การฟังแบบ Active Listening แต่ต้องฟังได้ละเอียดมากพอที่จะจับสัญญาณอารมณ์ ความรู้สึก ที่สะท้อนความอึดอัดคับข้องใจออกมาผ่านภาษากาย น้ำเสียง หรือจังหวะการหยุดในบางคำถาม เป็นต้น


3. การถามคำถาม

คำถามที่ดีจะไม่คุกคามหรือทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัด แต่จะยิ่งช่วยให้พนักงานได้กล้าพูดในสิ่งที่อยู่ภายในใจออกมา รวมทั้งบางคำถามอาจช่วยจุดประกายให้พนักงานได้มองเห็นทางออก หรือปลดล็อกความอึดอัดบางอย่างภายในใจก็ได้


4. การสะท้อนความรู้สึก

เมื่อการพูดคุยนั้นเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก และสุขภาพใจ การสะท้อนความรู้สึกที่ถูกต้องจึงสำคัญอย่างมากในการพูดคุยในเชิงการให้คำปรึกษา


5. การสร้างความไว้วางใจ

ไม่เฉพาะแต่บรรยากาศรอบตัว แต่บุคลิก ท่าทาง น้ำเสียงของ HR รวมทั้งการใช้คำพูดที่ทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายขึ้นเองก็มีส่วนสำคัญในการทำให้พนักงานรู้สึกเปิดใจ อบอุ่น และไว้วางใจมากขึ้น ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อการให้คำปรึกษา


ในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว HR ไม่เพียงแต่ต้องจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นที่พึ่งทางใจให้กับพนักงานด้วย การมีทักษะในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ HR ยุคใหม่


หลักสูตรประกาศนียบัตรนักให้คำปรึกษา 

ของ iSTRONG ช่วยเสริมทักษะและคุณลักษณะการเป็นนักให้คำปรึกษาของคุณได้


1. เรียนโดยตรงกับนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาที่ประสบการณ์สูง สามารถเป็น Role Model ของการเป็นคนที่น่าไว้วางใจในการมารับคำปรึกษาได้ รวมทั้งการบอกเล่ากรณีศึกษาถึง scenario ที่หลากหลาย ยิ่งช่วยให้คุณเห็นภาพในการรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างชัดเจน


2. เน้นให้เข้าใจโมเดลการให้คำปรึกษาอย่างถูกต้องแบบมืออาชีพ การรับมือกับเคสที่รุนแรงอย่างถูกต้อง และการฝึกปฏิบัติที่ทำได้จริง


3. กิจกรรมสนับสนุนและพัฒนาทักษะนักให้คำปรึกษาตลอดทั้งปีหลังจากเรียนจบคอร์ส 2 วัน ผ่าน iSTRONG Counselor Community ซึ่งคุณจะได้เข้าร่วมคอร์สออนไลน์ Workshop กิจกรรม Dialogue และอื่น ๆ เพิ่มเสริมความแข็งแกร่งให้กับทักษะการให้คำปรึกษาของคุณได้ฟรี รวมทั้งการได้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนักให้คำปรึกษาจากหลากหลายสาขาอาชีพ


หากคุณเป็น HR ที่ต้องการพัฒนาทักษะจิตวิทยาด้านนี้อย่างจริงจัง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของหลักสูตรจิตวิทยานักให้คำปรึกษา ระดับ Fundamental ได้ที่นี่ >>


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

ผู้เขียน


พิชาวีร์ เมฆขยาย

ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตในองค์กร iSTRONG Mental Health

M.Sc. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

B.Sc. จิตวิทยา (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Certificate: Positive Psychology by Martin Seligman authorized by University of Pennsylvania

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page