top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ชวนรู้จัก Happiness Hangover รับมืออย่างไรกับภาวะเมาค้างความสุข


หลายบทความจิตวิทยาก่อนหน้านี้เราเคยได้พูดถึง Post-Vacation Blues กันมาแล้ว ในบทความจิตวิทยานี้จะขอพาไปรู้จักกับภาวะสุขภาพจิตที่เรียกว่า “Happiness Hangover” หรือ “ภาวะเมาค้างความสุข” กันบ้างนะคะ โดย Happiness Hangover นี่กินระยะเวลาครอบคลุมมาก Post-Vacation Blues เพราะ Post-Vacation Blues จะเกิดหลังจากผ่านพ้นวันหยุดยาว หรือช่วงเปิดเทอมใหม่ ๆ แต่ภาวะเมาค้างความสุข หรือ Happiness Hangover  จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราผ่านพ้นสถานการณ์ที่ทำให้เรามีความสุขมาก ๆ เช่น งานปาร์ตี้ งานคอนเสิร์ต การไปเที่ยว เป็นต้นนั่นจึงทำให้ภาวะซึมเศร้าจาก Happiness Hangover  เกิดขึ้นได้ถี่กว่า Post-Vacation Blues ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าระยะยาวจาก Happiness Hangover บทความจิตวิทยานี้จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับ Happiness Hangover รวมถึงวิธีการรับมือภาวะเมาค้างความสุขมาฝากกันค่ะ


Happiness Hangover หรือ “ภาวะเมาค้างความสุข” คือ ภาวะซึมเศร้า หดหู่ เพราะเรายังคงคิดถึงความรู้สึกเป็นสุขจากกิจกรรมที่เราโปรดปรานอยู่ เช่น งานคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ งานปาร์ตี้ เที่ยวต่างจังหวัด เป็นต้น ซึ่ง Happiness Hangover แตกต่างจาก Post-Vacation Blues ตรงที่ Post-Vacation Blues จะเกิดขึ้นหลังจากเราไปพักผ่อนหลังวันหยุดยาว หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ Post-Vacation Blues จะเกิดขึ้นหลังวันหยุดยาว แต่ Happiness Hangover เกิดได้ตลอดเวลาที่เรายังโหยหาความสุขจากการทำกิจกรรมที่สนุกสุดเหวี่ยง พอต้องกลับมาใช้ชีวิตปกติ จึงเกิดภาวะซึมเศร้า เบื่อโลกขึ้นมา โดยอาการของ Happiness Hangover เป็นไปตามทฤษฎี Opponent process theory ของ Richard Solomon ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อคนเราเกิดอารมณ์ทางบวกขึ้นมาอย่างสุดโต่ง ติดต่อกันยาวนานชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนเมื่อกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ อารมณ์ทางลบจะทำงานอย่างหนักขึ้นมาแทน เพื่อรักษาสมดุลของสภาวะทางจิต 

โดย Happiness Hangover หรือ “ภาวะเมาค้างความสุข” มีอาการเด่น ดังนี้

1.ความรู้สึกหดหู่

หลังจากเราไปทำกิจกรรมสนุกสุดเหวี่ยงที่ทำให้อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือสารแห่งความสุขหลั่งออกมาอย่างเต็มพิกัด แต่เมื่อเราต้องกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ เรากลับรู้สึกเป็นท้อ ทุกอย่างเศร้าไปหมด ซึม ๆ เบื่อไปหมดทุกสิ่งอย่าง นั่นเป็นสัญญาณว่าเรากำลังเมาค้างความสุขอยู่ค่ะ                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

2. เกิดความรู้สึกว่างเปล่า

นอกจากความเศร้า ความหดหู่ที่ตกค้างอยู่ในจิตใจของเราแล้ว  ภาวะเมาค้างความสุขยังทิ้ง “ความรู้สึกว่างเปล่า” เอาไว้ให้เราจัดการอีกต่างหาก โดยความรู้สึกว่างเปล่านั้นทำให้เราไม่เกิดความอยากที่จะทำอะไร อยู่ไปวัน ๆ ไปทำงานก็นั่งอยู่ที่โต๊ะให้มันหมดวัน หรือไปเรียนก็เรียนไม่รู้เรื่อง เพราะไม่มีเป้าหมายในชีวิตนั่นเองค่ะ


3. รู้สึกไม่มีความสุข

เมื่อเราผ่านช่วงเวลาที่มีความสุขมาแล้ว เป็นเรื่องน่าประหลาดที่เมื่อเรากลับมาทำงาน หรือไปเรียน หรือใช้ชีวิตตามปกติ เรากลับรู้สึกว่าความสุขที่เคยสุดโต่งแห้งเหือดหดหายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นเป็นอาการหนึ่งของ Happiness Hangover ที่ถือว่าอันตรายต่อสุขภาพจิตของเรามาก เพราะถ้าหากเราไม่มีวิธีการรับมือที่เหมาะสม อาจทำให้ความเศร้าคงอยู่อย่างเรื้อรัง และทำให้เรากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด


4. เหนื่อยแบบไม่มีสาเหตุ

นอกจากภาวะเมาค้างความสุขจะส่งผลให้สภาพจิตใจของเราแย่ลงแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพร่างกายของเราได้อีกด้วย โดยผู้ที่มีภาวะเมาค้างความสุข จะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ทำอะไรก็เหนื่อย หมดแรง หมดกำลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตแม้กิจกรรมนั้นจะเป็นกิจกรรมปกติที่เคยทำมาก่อนก็ตาม 


5. หมดไฟในการทำงาน

แน่นอนว่าเมื่อเราได้ไปพักผ่อน ออกไปใช้ชีวิตแบบโลดแล่นกับกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข หรือไปในสถานที่สวยงามที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจอย่างมาก แต่ต้องเมื่อต้องกลับมาทำงาน หรือใช้ชีวิตตามปกติ เราจะเกิดความรู้สึกว่าหมดแรง หมดไฟ และหมดใจในการทำงาน จากเดิมที่เบื่องานอยู่แล้วก็เบื่อไปอีก จนไม่มีกะจิตกะใจทำงานกันเลยทีเดียว


6. ยังคงโหยหาความสุขที่เพิ่งผ่านไป 

และอาการสุดท้ายที่บ่งบอกว่าคุณอยู่ในภาวะ Happiness Hangover ก็คือ คุณยังคงโหยหาความสุขที่เพิ่งผ่านพ้นไป คุณยังคงจมดิ่งอยู่กับความรู้สึกเป็นสุข และมีความปรารถนาที่รุนแรงในการที่จะทำให้ตนเองมีความสุขเช่นนั้นอีกครั้ง จนไม่อยู่กับปัจจุบัน และขาดความใส่ใจต่อกิจกรรมปัจจุบันไป


ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้ให้ข้อแนะนำสำหรับการรับมือกับ Happiness Hangover หรือ “ภาวะเมาค้างความสุข” ไว้ 4 แนวทาง ดังนี้

  1. ยู่กับความเป็นจริง ตามหลักศาสนาและจิตวิทยาแนวพุทธแล้ว หากเรามีความทุกข์ คือการโหยหาความสุข วิธีแก้ที่ดีที่สุด คือ อยู่กับปัจจุบันค่ะ โดยวิธีการก็คือมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำในปัจจุบัน มีสติรู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร และมีความรู้สึกต่อสิ่งที่อยู่ในปัจจุบันอย่างไร ซึ่งเทคนิคทางจิตวิทยาที่ช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบันได้ดีที่สุด ก็คือ Mindfulness หรือ “การฝึกสติ” นั่นเองค่ะ

  2. ช้ความสุขที่ค้างอยู่เป็นแรงผลักดันในชีวิต หากการโหยหาความสุขทำให้ชีวิตตกอยู่ในวิกฤต เราก็ลองเปลี่ยนวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาส ซึ่งโอกาสที่ว่านั่นก็คือ การเปิดโอกาสให้เราใช้ชีวิตในรูปแบบที่สร้างความสุขให้แก่เราในทางสร้างสรรค์ เช่น การออกแบบวิธีการทำงานที่ทำให้เรามีความรู้สึกตื่นเต้น มีไฟ และมีแรงบันดาลใจในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งการค้นหาความสุขในทางสร้างสรรค์เช่นนี้ นอกจากจะได้เปิดมุมมองชีวิตแล้ว ยังได้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อีกด้วยค่ะ

  3. าความสุขครั้งใหม่อย่างต่อเนื่อง ถ้าความสุขคือแรงขับเคลื่อนในชีวิต และการขาดความสุขทำให้เราโหยหาความสุขอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้จิตใจของเรารู้สึกเมาค้างความสุข เราก็ต้องเติมความสุขให้ตนเองอยู่ตลอดด้วยการมองโลกในแง่ดี มองหาแง่มุมตลก ๆ ในชีวิต เป็นมิตรกับทุกคน และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ชีวิตให้สนุกในทุกวัน

  4. างแผนการทำกิจกรรมสนุก ๆ ครั้งใหม่ หากเรามีอาการโหยหาความสุข ดังนั้นการตั้งเป้าหมายว่าจะใช้ชีวิตให้มีความสุข ก็เป็นรางวัลชีวิตที่ล่อใจและท้าทายให้เรามีไฟในการใช้ชีวิตขึ้นมาได้นะคะ เช่น หากเราปิดโปรเจคที่ทำอยู่ได้สำเร็จ จะให้รางวัลตัวเองด้วยการไปเที่ยวพักผ่อนสัก 3 วัน ก็สามารถทำให้เกิดไฟในการทำงานอย่างโชติช่วงเชี่ยวละค่ะ 


ความทุกข์ที่มากเกินไปก็อาจทำให้เรากลายเป็นโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD) แต่ถ้าหากเรามีความสุข และถอนตัวจากความสุขนั้นไม่ได้ก็จะทำให้เราตกอยู่ในภาวะเมาค้างความสุข (Happiness Hangover) ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น 4 เทคนิคในการปรับสมดุลจิตใจจึงจำเป็นและสำคัญมาก เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในทุก ๆ สถานการณ์ค่ะ


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong


 

บทความแนะนำ : 


อ้างอิง : 1. Maxie McCoy. (2017, 29 May). 4 Ways to Recover from a Happiness Hangover. [Online]. From : https://carlyriordan.com/4-ways-recover-happiness-hangover.html

2. Mission To The Moon. (2023, 10 มีนาคม). สุขเกินไปจนเศร้าใจทีหลัง รู้จัก “ภาวะเมาค้างความสุข” และเรียนรู้วิธีสร่างสุขอย่างเข้าใจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2567 จาก https://missiontothemoon.co/get-to-know-happiness-hangover/


 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิกจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด

iSTRONG ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต Solutions ด้านสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง รวมถึงบทความจิตวิทยา

© 2016-2024 Actualiz Co.,Ltd. All rights reserved.

contact@istrong.co                     Call 02-0268949

  • Facebook Social Icon
  • YouTube Social  Icon
  • Instagram
  • Twitter
bottom of page