top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ครูผู้นำทางสู่ความสำเร็จ

ผมเชื่อว่าทุกคนรู้จักครูและอย่างน้อยตอนที่เข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาหลัก เราก็ต้องเจอครูหลายๆ คน ในหลายสายความรู้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า หลายๆ คนพอจบการศึกษาภาคบังคับแล้วก็ห่างหายจากครูและไม่ได้เข้าหาครูอีกเลย

ทั้งนี้คำว่า "ครู" มีความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ นอกจากนี้พระเทพวิสุทธิเมธี อธิบายความหมายและความเป็นมาของคำว่าครูไว้ว่า คำว่าครูในสมัยโบราณในประเทศอินเดีย เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประทางตูวิญญาณ ไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุหรือมรรยาท หรือแม้แต่อาชีพในปัจจุบันที่หลายๆ คนบูชา “ความสำเร็จ” นั้น มุมมองความสำเร็จไม่ได้มีเพียงเรื่องอาชีพการงานเพียงอย่างเดียว แต่มีเรื่องของสุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสัมพันธ์ จิตวิญญาณ ผู้ที่เติมเต็มทุกส่วนหรืออย่างน้อยก็รู้สึกว่าเติมเต็มได้เกินครึ่งของทั้งหมดนี้ ถึงจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในชีวิต

ซึ่งความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาชีพการงาน สุขภาพ ความมั่งคั่ง ความสัมพันธ์ หรือจิตวิญญาณ ต้องผ่านการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ความเชี่ยวชาญในอาชีพการงานอาจดูได้จากตำแหน่งหน้าที่ ผลผลิตในแต่ละเดือน ความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพ วัดได้จากสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย ความเชี่ยวชาญด้านความมั่งคั่ง วัดจากรายรับหรือกระแสเงินสด มีมากกว่ารายจ่าย และมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ หรือเวลาเกิดเหตุไม่คาดคิด ความเชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ อาจดูได้จากความสุขสงบในใจ การรับมือความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ในชีวิตได้

แม้ Malcolm Gladwell ผู้เขียนหนังสือ Outliers หรือ “สัมฤทธิ์พิศวง” กล่าวว่าเราทุกคนสามารถมีความเชี่ยวชาญได้ หากเราใช้เวลาอย่างต่ำ 10,000 ชั่วโมง” ซึ่งเป็นที่มาของ “กฎ 10,000 ชั่วโมง”แต่ในมุมมองของนักจิตวิทยา “การได้รับผลตอบรับ” คือหลักสำคัญที่สุดในการฝึกฝน หากไม่มีผลตอบรับ ในขณะฝึกฝนแม้เกิดความผิดพลาดแล้วก็จะไม่รู้ตัว มองไม่เห็นจุดบอด มีอคติเข้าข้างตัวเอง ต่อให้ฝึกฝนหลายครั้งก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด (ไฉ่ถง, 2560)

การหาการตอบรับในการฝึกฝน วิธีที่ง่ายที่สุดคือการหา “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่มีผลลัพธ์ความสำเร็จในเส้นทางเดียวกันกับที่เราต้องการในชีวิต นอกจากผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นตัวบุคคลแล้ว เราสามารถศึกษาแนวคิดที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นถ่ายทอดไว้ในงานเขียน หนังสือ หรือสื่อต่างๆ ที่เราสามารถเทียบผลงานของตนเอง กับผลงานผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หรือใช้การฝึกฝน ด้วยการจินตนาการ ว่าถ้าผู้เชี่ยวชาญผู้นั้นมาอยู่ในจุดที่เราอยู่ตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นจะคิดอย่างไร ตัดสินใจอย่างไร และทำอย่างไร แน่นอนว่าในบริบทเหล่านี้ “ผู้เชี่ยวชาญ” ก็คือ “ครู”นี่เอง ครูผู้ที่ช่วยให้เราประหยัดเวลาการเรียนรู้ ครูผู้ที่ทำให้เราพัฒนาตนเองได้มากกว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเราเพียงคนเดียว

นอกจากเป้าหมายในชีวิต ที่เราควรมีเฉกเช่นจุดหมายปลายทางที่เราต้องการไป ผมอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาคิดพิจารณากันครับว่า ในตอนนี้เรามี “ครู” กันอยู่ไหม เรามี “ครู” ในด้านไหนของชีวิตบ้าง “ครู” ผู้เปรียบดังเข็มทิศไม่ให้เราหลงทาง และเป็นเช่นพาหนะนำทางสู่ความสำเร็จดังใจหวัง

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page