นักจิตวิทยาแนะนำ 5 วิธีรับมือกับความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z
จากการค้นหาข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย พบว่า กลุ่ม Gen Z ในประเทศไทย กำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต คือ ความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z เนื่องจากคน Gen Z ต้องรับมือกับแรงกดดันจากสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ความคาดหวังจากพ่อ แม่ แรงกดดันจากการเรียนการหางานที่ตอบโจทย์ชีวิต การรักษาภาพลักษณ์ที่ดีบนโซเชียลมีเดีย ความมุ่งหวังในการเป็นคนที่ประสบความสำเร็จและมีชีวิตที่มั่นคง เป็นต้น
นั่นจึงทำให้คน Gen Z กลายเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะเผชิญปัญหาสุขภาพจิตสูง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z ซึ่งเป็นผลมาจากการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นผ่านโซเชียลมีเดียและแรงกดดันที่ต้องประสบความสำเร็จตามมาตรฐานของสังคม
โดยในปี 2567 นี้ ประเทศไทยมีประชากรกลุ่ม Gen Z จำนวน ในปี พ.ศ. 2567 จำนวนคนในกลุ่ม Gen Z ประมาณ 12 - 13 ล้านคน (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 2539 – 2553) หรือคิดเป็นประมาณ 18 - 20% ของประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งลักษณะเด่นของคน Gen Z ก็คือเป็นกลุ่มที่เติบโตขึ้นมากับเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย มีความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีมากกว่ารุ่นก่อน ๆ
แต่ความทันสมัยที่คน Gen Z คุ้นเคยก็กลายเป็นดาบสองคม เพราะมีรายงานจาก Bangkok post และ Nation Thailand ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้โซเชียลมีเดียมีความสัมพันธ์กับแรงกดดันทางสังคม ที่ส่งผลให้คน Gen Z ประสบปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z
จากรายงานชี้ให้เห็นว่า สาเหตุที่ทำให้คน Gen Z เกิดความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว เนื่องจากการตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ว่า “ฉันต้องสมบูรณ์แบบ” ส่งผลให้คน Gen Z เปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น และเกิดความรู้สึกว่าตนเอง “ดี” ไม่เท่าคนอื่น ซึ่งนำไปสู่ความรู้สึกไม่พอใจในตัวเองและการลดความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากนี้ โซเชียลมีเดียยังสร้างแรงกดดันทางสังคมในการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของผู้อื่นให้แก่คน Gen Z
โดยเฉพาะแรงกดดันในการประสบความสำเร็จในชีวิตในชีวิตที่ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของสังคม ซึ่งหากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่เป็นที่ยอมรับ และเป็นสาเหตุของความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z
เพื่อดูแลสุขภาพจิตของคน Gen Z ให้อยู่ดีและมีความสุข จึงได้รวบรวมแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยามาฝากกันเพื่อรับมือกับความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z ดังนี้ค่ะ
1. รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น
เพราะสังคมออนไลน์ เป็นสังคมที่คน Gen Z ให้ความสำคัญ ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจึงได้แนะนำว่า ควรให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและมีความหมายกับคนรอบข้าง โดยการพูดคุยแบบเปิดเผย ตรงไปตรงมา และจริงใจ รวมถึงมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับครอบครัว คนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ เพื่อรักษาการสนับสนุนทางสังคมจากคนรอบข้าง และช่วยลดความโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z ได้
2. ใช้ชีวิตในโซเชียลมีเดียอย่างมีสติ
แม้ว่าโซเชียลมีเดียจะเป็นโลกเสมือนจริงของคนเรา แต่สำหรับคน Gen Z แล้ว โลกโซเชียลมีเดีย คือโลกที่ทำให้เขามีตัวตน มีคนรู้จัก ด้วยเหตุนี้คน Gen Z จึงให้ความสำคัญกับตัวตนในโซเชียลมีเดียอย่างมาก แต่นั่นก็สามารถย้อนกลับมาทำร้ายคน Gen Z ได้ หากไม่ได้รับการยอมรับในโลกโซเชียลมีเดีย หรือถูกทำลายตัวตนในโลกออนไลน์
ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาจึงได้แนะนำให้งานโซเชียลมีเดียอย่างมีสติ รวมถึงควรจำกัดเวลาในการใช้ เพื่อช่วยลดการเปรียบเทียบทางสังคมและความเครียดที่มาจากการเห็นภาพชีวิตของคนอื่นในโลกออนไลน์ และถ้าหากรู้สึกว่าโลกโซเชียลมีเดียทำร้ายชีวิตมากเกินไป ก็ควรหยุดใช้งานโซเชียลมีเดียชั่วคราว หรือที่เรียกว่า Encouraging “digital detox” เพื่อให้ปิดการรับรู้ที่เป็นพิษจากโลกเสมือนจริง และมีเวลาทบทวนตัวเอง
3. ดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ
ไม่ว่าจะเป็น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ ทำสมาธิ ทำกิจกรรมที่มีความสุข รวมถึงทำกิจกรรมที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เช่น เข้าคอร์สต่าง ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่า ภาคภูมิใจในตนเอง แต่ถ้าหากเกิดความรู้สึกทางลบจนเกินจะรับมือ ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาก็ได้แนะนำว่าควรขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพื่อการใช้ชีวิตที่ปกติสุข และความรู้สึกได้รับการสนับสนุนทางสังคม
4. สร้าง Passion ในการใช้ชีวิต
การสร้างแรงจูงใจและเป้าหมายในการใช้ชีวิตนั้น สามารถทำได้โดยกำหนดเป้าหมายเป็นระยะ ได้แก่ ระยะสั้น (7 วัน/ 2 สัปดาห์/ 1 เดือน) ระยะกลาง (1 – 5 ปี) และระยะยาว (5 ปี/ 10ปี) โดยเป้าหมายนั้นต้องมีความชัดเจน เป็นไปได้ เพื่อให้เกิดแรงผลักดันที่จะใช้ชีวิตให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
และการแบ่งระยะของเป้าหมายออกเป็นสามระยะนี้ ยังช่วยในเรื่องของการสร้างความรู้สึก “ประสบความสำเร็จ” ซึ่งจะเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Esteem) ที่จะสามารถลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและความเหงาของคน Gen Z ได้อีกด้วย
5. ช่างมันบ้างก็ได้
การฝึกช่างมันในบางเรื่องที่ไม่ได้กระทบกับชีวิตมาก เช่น คำพูดทางลบจากคนในโซเชียล การถูกบูลลี่ในโลกออนไลน์ หรือการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของคนรอบข้าง หรือของตัวเราเองก็ตามแต่ บางครั้งเราก้ต้อง “ช่างมัน” ให้ได้ เพราะถ้าเราไม่ช่างมัน ความรู้สึกทางลบจะตามติดชีวิตเรา จนเราเกิดความรู้สึกไม่เป็นสุข มีแต่ความรู้สึกทางลบเกิดขึ้นกับตัวเอง สุดท้ายเราก็กลายเป็นคนที่มีพลังงานทางลบ แล้วก็กัดกร่อนจิตใจของเราเอง
การดูแลสุขภาพจิตนั้นสำคัญกับคนทุก Gen ทุกช่วงวัย เพราะถ้าจิตใจเข้มแข็ง ร่างกายก็แข็งแรง ถ้าใจสู้ ร่างกาย ความคิดก็พร้อมที่จะพุ่งชนเป้าหมาย มุมมองของเราก็จะเปิดกว้าง มีความยืดหยุ่น และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขค่ะ
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
บทความแนะนำ : 3 วิธี ก้าวข้ามความรู้สึก “ดีไม่พอ” สำหรับคน Gen Z
อ้างอิง : 1. Bangkok post. (2023, 31 Mar). Initiative looks to the future to improve mental wellbeing. [Online]. https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2540294/initiative-looks-to-the-future-to-improve-mental-wellbeing
2. Nation Thailand. (2022, 2 August). Mintel: About 8 in 10 Thais experience mental health issues, with Gen Zs feeling the loneliest. [Online]. https://www.nationthailand.com/pr-news/business/40018422
จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิกจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้
Comments