5 วิธีจัดการอารมณ์ทางลบ ตามหลักจิตวิทยา
ความแตกต่างระหว่างคนกับ AI คือ เรามีอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ ในทางจิตวิทยา ความสามารถในการควบคุมและจัดการอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ ส่งผลต่อสุขภาพจิต และหากรุนแรงถึงขั้นมีผลต่อการดำเนินชีวิต จะทำให้คน ๆ นั้นป่วยเป็นโรคทางจิตเวชได้
การจัดการอารมณ์เราให้เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเทศะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราในสังคมร่วมกับผู้อื่น ตัวอย่างเช่น การหัวเราะกับข้อความตลกบนมือถือ ถ้าเราหัวเราะขึ้นมาในระหว่างการประชุมที่สำคัญ อาจจะทำให้เราถูกมองว่าไม่รู้จักกาละเทศะ และไม่มีความเป็นมืออาชีพ หรือ การแสดงอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงกับคนที่เดินชน อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นได้เป็นต้น
บทความแนะนำ "วิธีฝึกความคิดเพื่อลดความวิตกกังวลตามหลัก CBT"
James Gross นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Standford ได้คิดค้นแนวคิดในการจัดการอารมณ์ชื่อว่า Modal Model ซึ่งว่าด้วยกระบวนการที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการแสดงออกไว้ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 เราเผชิญกับสถานการณ์บางอย่าง ตัวอย่างเช่น เพื่อนสนิทของเรา เดินผ่านเราไปโดนไม่ทักทายเรา
ขั้นที่ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดึงดูดความสนใจของเรา
ขั้นที่ 3 เราเริ่มตีความสถานการณ์นั้น ซึ่งมักจะมาจาก ความเชื่อที่เรามีอยู่ต่อตัวเอง เช่น 1) เราอาจตีความว่า เพื่อนคนมีธุระ หรือเช้านี้อารมณ์ไม่ดี 2) เราอาจจะตีความว่า เพื่อนโกรธเราและเราทำอะไรไม่ดีสักอย่าง ทำให้เพื่อนไม่อยากคุยกับเรา
ขั้นที่ 4 จากการตีความที่เกิดขึ้นในขั้นที่ 3 ทำให้เรามีอารมณ์ตอบสนอง ซึ่ง 1) เรารู้สึกเฉย ๆ 2) เรารู้สึกเสียใจ และกังวลใจ เป็นต้น
บางเหตุการณ์ บางอารมณ์ ไม่จำเป็นต้องจัดการอะไร หากเราแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น เราหัวเราะในโรงหนังในฉากที่ตลก เหมือนกับที่คนอื่นในโรงหนังหัวเราะเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นสถานการณ์และอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบทางด้านลบ เช่น รู้สึกไม่พอใจเพื่อนที่ทำงาน และเราไม่สามารถจัดการอารมณ์ของเราได้ ผลที่ตามมาก็คือ การทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งจะส่งผลต่อ ความสัมพันธ์และหน้าที่การงานของเราด้วย เป็นต้น
นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า คนที่ไม่สามารถจัดการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลต่ออาการทางด้านจิตเวชและการดำรงชีวิต เช่น ผู้ที่มีอาการป่วย เนื่องจากการกลัวการเข้าสังคม (social anxiety) พวกเขาไม่สามารถที่จะจัดการความกลัวของเขาได้ ซึ่งอาการก็จะแสดงออกทั้งทางร่างกาย และพฤติกรรม ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาได้ทำงานวิจัยจำนวนมาก เพื่อค้นหาวิธีในการช่วยจัดการความคิด และวิธีการตีความสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เราสามารถจัดการกับอารมณ์ของเราได้ดีขึ้น ดังต่อไปนี้
1. เลือกสถานการณ์
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เรามีอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ตัวอย่างเช่น หากเรามักจะรู้สึกแย่และเสียใจ เมื่อแม่พูดจาปกป้องน้อง เพียงเพราะเราพูดเล่น เราก็สามารถที่จะเลิกพูดเล่นกับแม่ในเรื่องนั้นๆ หรือ หากเรารู้ว่า เราจะรู้สึกโกรธและโมโหมากขึ้น ในการพูดคุยกับคนๆ หนึ่ง เมื่อเขาเริ่มใช้อารมณ์และมองแต่มุมมองของเขา เราสามารถหีกเลี่ยงความรู้สึกโกรธ และ โมโหมากขึ้นของเรา โดยการหยุดการพูดคุยกับคนๆ นั้นเป็นต้น
2. ปรับสถานการณ์
เช่น เรารู้สึกกดดัน ในการจัดการกับลูกค้าด้วยตัวคนเดียว แทนเพื่อนร่วมงานหลายคนที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ แทนที่เราจะพยายามเป็นผู้เชี่ยวชาญแทนทุกคน แต่ให้เราทำให้ดีที่สุดในความสามารถและทักษะของเรา และ พูดคุยกับลูกค้า หัวหน้า และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเราอธิบายให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ความกดดันที่เกิดขึ้นกับเราก็จะลดลง เป็นต้น
3. ปรับความคิด
หากเรารู้ว่า ความรู้สึกผิดหวังที่เกิดขึ้นมาจากการคาดหวัง เช่น หากเราเขียนบทความ หรือ สร้าง content ดี ๆ แล้วมีคนให้ความสนใจน้อย เรารู้สึกผิดหวัง เพราะเราคาดหวังว่าจะมีคนสนใจ เราสามารถปรับสถานการณ์ได้ โดย ปรับที่ความคิดเรา ว่า เราได้เขียนบทความที่เป็นประโยชน์กับตัวเราและแชร์ออกไปเผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้บ้าง โดยที่ไม่ต้องคาดหวังว่าจะมีคนสนใจมากน้อยแค่ไหน แต่สนใจว่า สิ่งที่เราแชร์ คือสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา และเราอยากแบ่งปัน เป็นต้น
4. ปรับเปลี่ยนความสนใจ
หากเราทะเลาะกับแฟน หรือ เพื่อน หรือ คนที่เราให้ความสัมพันธ์ และพยายามหยุดการทะเลาะนั้นแล้ว แต่จิตใจเราก็ยังรู้สึกขุ่นมัว ความโกรธยังคงคุกรุ่นอยู่ ให้เราหาอะไรที่เบี่ยงเบนความสนใจของเราจากเรื่องนั้นทำแทน เช่น ดูหนัง ปลูกต้นไม้ ออกไปเดินเล่น เป็นต้น
5. เปลี่ยนวิธีในการตอบสนอง
หากเราไม่สามารถทำวิธีข้างต้นได้ อีกวิธีหนึ่งที่เราจะทำได้ก็คือ การเปลี่ยนวิธีการตอบสนอง โดยเริ่มจากรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วสูดหายใจเข้าลึก ๆ แทนที่เราจะพูดจาไม่ดีกลับเพราะเรารู้สึกโกรธ ให้เราหยุด และสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ แล้วเดินออกจากสถานการณ์นั้นเพื่อปรับอารมณ์ของเราก่อน เป็นต้น
นี่ล่ะค่ะ 5 วิธีการจัดการอารมณ์ซึ่งเป็นคำแนะนำของนักจิตวิทยา แพรเองก็พยายามเอามาปรับใช้กับตัวเองอยู่ และหวังว่า จะเป็นประโยชน์ให้คุณได้ไม่มากก็น้อยนะคะ
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
ประวัติผู้เขียน : อังคณา เกิดทองมี ศึกษาด้านศิลปศาศตรมหาบัณฑิต (M.A.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (B.Eng.) สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, และ Diploma of International E-Business, Hove College, Brighton, UK มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งวิศวกรในบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ขั้นนำของโลกมากกว่า 5 ปี ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาบริษัทด้าน Data Science และเขียนบทความด้านจิตวิทยาให้กับบริษัท iSTRONG
Comentários