top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นักจิตวิทยาแนะนำ 5 วิธีฮีลใจเมื่อถูกหลอกโดยมิจฉาชีพออนไลน์



ข้อมูลจากศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม – วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 มีการแจ้งเหตุมิจฉาชีพออนไลน์ มากถึง 361,655 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากถึง 49,056,482,817 บาท ซึ่งอาชญากรรมออนไลน์สุดฮอต 6 อับดับแรก มีดังนี้ค่ะ

1. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing)

คือ การหลอกลวงผ่านรูปแบบของเสียง (Voice + Phishing) หรือมาในรูปแบบของ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ที่เป็นข่าวไม่เว้นวันนั่นเอง โดยเจ้ามิจฉาชีพออนไลน์มักจะใช้เบอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ คือเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 02 โทรมาหาเราแล้วอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจบ้าง เจ้าหน้าที่ธนาคารบ้าง เจ้าหน้าที่ศาลบ้าง แล้วที่น่ากลัวคือพวกนี้มีข้อมูลส่วนตัวขอเราอยู่ในมือ ทำให้เราหลงเชื่อโดยง่าย และสร้างความเสียหายให้แก่เราอย่างมากมาย 

2. แก๊งท้าวแชร์ลูกโซ่ (Ponzi Scheme)

พวกนี้จะมาในรูปแบบสร้างความหวังให้ผู้ที่ต้องการลงทุน เช่น หลอกให้ลงแชร์ 100 – 500 บาท เป็นรายเดือน พอลงทุนครบ 3 เดือน 6 เดือนจะได้รับปันผล สามารถเปียแชร์ได้มูลค่าที่มากกว่าเงินลงทุน 5 เท่า 10 เท่า ก็ว่ากันไป จึงทำให้เราตัดสินใจลงทุน และพวกนี้ก็มีปันผลให้จริง ๆ ในช่วงแรก แต่พอเราตายใจ เงินทั้งหมดก็หายไปอย่างรวดเร็วเลยค่ะ 

3. หลอกรักออนไลน์  (Romance Scam)

มิจฉาชีพออนไลน์พวกนี้ จะมุ่งเป้าหาเหยื่อที่เป็นคนเหงา แล้วก็ปลอมบัญชีออนไลน์ให้ดูน่าหลงใหล ก่อนเข้าไปตีสนิทเหยื่อ เป็นเพื่อนคุย เข้ามาจีบ ดูแล เทคแคร์ พอเราวางใจอย่างน้อย ๆ ก็เสียเงิน แต่ถ้าอย่างมากก็เสียตัว และอาจเสียชื่อเสียงเพราะถูกเจ้าพวกมิจฉาชีพออนไลน์ถ่ายคลิปโป๊เอาไว้แบล็กเมล หรือขายในเว็บไซต์เถื่อนได้

4. หลอกขายสินค้า (Sales Scam)

มุขยอดฮิตที่จับผิดยากมาก เพราะคนขายจริงก็มีมาก พวกตัวปลอมเลยอาศัยความเนียน มาหลอกให้เราซื้อสินค้า โดยมักจะอ้างว่าเป็นยี่ห้อดีแต่ขายราคาถูกกว่า ยิ่งซื้อมากยิ่งลดมาก หรืออาศัยความน่าสงสาร เช่น สินค้าจากเด็กยากจน สินค้าจากกลุ่มเปราะบาง แบบนี้เป็นต้น  มาหลอกให้เราจองสินค้าก่อน โอนเงินก่อน แต่ไม่ได้รับของ พอจะติดตามสินค้าถึงได้รู้ว่าร้านค้าไม่มีตัวตน 

5. หลอกผ่านอีเมล ( Email Scam )

พวกมิจฉาชีพออนไลน์ จะไปซื้ออีเมลของเรา หรือไปได้ข้อมูลอีเมลมาจากไหนสักที่ แล้วส่งอีเมลปลอมแนบลิงก์ไวรัสบ้าง ลิงก์ให้กรอกข้อมูลปลอมบ้าง หรืออีเมลข่มขู่บ้าง มาทำให้เราหลงเชื่อแล้วเผลอคลิกลิงก์ หรือให้ข้อมูลส่วนตัวไป หรือหลงเชื่อตามคำหลอกจนเกิดความเสียหาย

6. หลอกขายทัวร์ ( Tourist Scam )

เป็นการหลอกที่นาน ๆ จะเป็นข่าวที แต่มูลค่าคามเสียหายมหาศาลมาก เพราะมิจฉาชีพออนไลน์พวกนี้จะนำชื่อบริษัทท่องเที่ยวที่มีความน่าเชื่อถือมาหลอกให้เราจองทัวร์ทิพย์ ทัวร์ปลอม แต่โอนเงินไปก่อนแล้วจริง ๆ ซึ่งแต่ละทัวร์ราคาไม่น้อย หรือหนักกว่าก็พวกเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่กลายร่างเป็นมิจฉาชีพเสียเอง จนทำให้ผู้คนหลงเชื่อ 


ซึ่งพวกมิจฉาชีพออนไลน์พวนี้นับวันยิ่งมีเทคนิคการหลอกให้เราหลงเชื่อได้อย่างสนิทใจ และเมื่อไม่นานมานี้ดิฉันเองก็ได้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์เช่นกัน บอกเลยค่ะว่าจิตตกพอสมควร โดยในบทความจิตวิทยานี้ ดิฉันจะมาแนะนำ 5 วิธีฮีลใจเมื่อถูกหลอกโดยมิจฉาชีพออนไลน์กันค่ะ เพราะตอนนี้ดิฉันได้กลายเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงโดยไม่ตั้งใจไปเสียแล้ว จึงได้ไปรวบรวมเทคนิคฮีลใจที่ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาแนะนำมาฝากทุกท่าน ดังนี้ค่ะ


  1. ติสำคัญมาก เมื่อคุณรู้ตัวว่า “โดนเสียแล้ว” ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้น คือ มึนงง ตัวชา สมองตื้อ คำแนะนำแรกจากดิฉันและผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา ก็คือ ให้ตั้งสติไว้ค่ะ แล้วหยุดการติดต่อสื่อสารกับพวกมิจฉาชีพ เช่น รีบวางสาย บล็อก Facebook บล็อก Line รีบอายัดบัญชี แจ้งตำรวจไซเบอร์ได้ที่เบอร์ 1441 อย่าติดต่อทาง Line เพราะดิฉันไปเจอ Line ปลอมมาและเกือบถูกหลอกซ้ำซ้อน ขอให้คุณโทรอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนค่ะว่าใช้เวลานานมาก ก่อนทางเจ้าหน้าที่จะอายัดบัญชีปลายทางให้ และส่ง SMS มาให้เราไปพบตำรวจจริงในพื้นที่เกิดเหตุต่อไป ซึ่งคุณต้องเก็บหลักฐานทั้งหมดให้ได้มากที่สุด และนำไปส่งมอบให้คุณตำรวจ ไปสอบปากคำ และรอคอยความคืบหน้าต่อไป

  2. ปิดเผยเรื่องราวให้คนใกล้ชิดหรือคนที่คุณไว้ใจรับรู้ คนส่วนใหญ่ที่ถูกพวกมิจฉาชีพออนไลน์หลอก มักจะไม่กล้าบอกคนรอบข้างเพราะอาย และไม่ต้องการให้ถูกมองว่ารู้ไม่เท่าทัน ดิฉันแนะนำว่า ขอให้คุณบอกคนใกล้ชิดของคุณไว้ เพราะพวกเขาเหล่านั้นสามารถเป็นที่พึ่งพิงในยามยาก สามารถเป็นคู่คิด เป็นคนที่ไปเป็นเพื่อนในการดำเนินคดีความ หรือติดต่อธนาคารกับเราได้ เชื่อเถอะค่ะคนที่รักเราเขาพร้อมช่วยเราเสมอ ซึ่งดิฉันเองก็ได้รับการช่วยเหลือและได้รับกำลังใจอย่างล้นเหลือจากแม่ จากสามี จากเพื่อนสนิท และจากมิตรสหายหลาย ๆ ท่าน ที่ทำให้ดิฉันซาบซึ้งในน้ำใจของพวกเขามาก ๆ 

  3. อคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อเกิดเหตุอาชญากรรมออนไลน์กับเรา ความวิตกกังวลจะมาเต็มมากค่ะ ทั้งเครียดเรื่องเงินที่เสียไป ยังต้องกังวลอีกว่าพวกมิจฉาชีพจะนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางไม่ดีหรอไม่ ทั้งต้องเหนื่อยกาย เหนื่อยใจกับการดำเนินคดีความ การได้ข้อมูล ความรู้ หรือคำแนะนำดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญสำคัญมาก เช่น คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร คำแนะนำจากตำรวจ คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพราะฉะนั้นหากคุณมีเพื่อนที่ทำงานในสายงานดังกล่าวขอให้ขอคำปรึกษาจากขา เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี และเพื่อความสบายใจขอคุณเองค่ะ

  4. ย่าโทษตัวเอง ไม่มีใครที่อยากจะเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ และแน่นอนค่ะว่าพวกเราทุกคนระวังตัวกันมากอยู่แล้ว เพรามีข่าวมิจฉาชีพออนไลน์ทุกวัน แต่นั่นละค่ะ พวกมิจฉาชีพก็พัฒนาเทคนิค และปรับรูปแบบอยู่ทุกวันเช่นกัน จนเราตามไม่ทัน หรือพลั้งเผลอเพราะหลงเชื่อ แค่เสียเงิน จิตตกเพราะพวกคนใจร้ายเหล่านี้ก็หนักหนาพอดูแล้วค่ะ อย่าได้โทษตัวเองอีกเลย เพราะการโทษตัวเองไม่ได้ช่วยอะไร เราถูกคนไม่ดีพวกนี้ขโมยเงินไปแล้ว อย่าให้พวกนี้มาขโมยความสุขในชีวิตของเราไปมากกว่านั้นเลยค่ะ 

  5. ิดถึงสิ่งดี ๆ ที่เรายังคงมีอยู่ เพื่อนสนิทดิฉันคนหนึ่งซึ่งเป็นนักจิตวิทยา กล่าวกับดิฉันว่า “คนพวกนี้ขโมยเงินจากเราได้ แต่ไม่สามารถขโมยความรู้ ความสามารถของเราได้ เราใช้สิ่งที่เรามีอยู่หาเงินกลับมาใหม่ได้มากกว่าที่คนพวกนี้เอาไป” ซึ่งเพื่อนดิฉันกำลังบอกดิฉันว่า ให้กลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรามีอยู่ เพราะสิ่งที่เสียไปแล้วก็แล้วกันไป แต่สิ่งที่มีอยู่ทั้งความรู้ ความสามารถ ชีวิต คนที่เรารักนั่นต่างหากที่จะพาเราก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ 


และสุดท้ายนี้ ที่อยากจะแนะนำสำหรับทุกท่านที่ประสบเหตุอาชญากรรมออนไลน์ ก็คือ เมื่อคุณเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณชนไปแล้ว สิ่งที่คุณควรเตรียมใจรับก็คือ จะมีผู้คนกลุ่มหนึ่งใช้ถ้อยคำกล่าวโทษคุณว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของคุณ และบางส่วนจะสนใจใคร่รู้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนลืมให้ความสำคัญกับความรู้สึกของคุณ หากคุณไม่ไหวขอให้ทำ Social Detox ก่อน และฮีลใจตัวเองด้วย 5 วิธีข้างต้น เมื่อคุณพร้อมเผชิญโลกจริงที่อาจโหดร้ายเป็นบางเวลาแล้ว ค่อยกลับมาเข้าสังคมอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากคุณไม่รู้จะปรึกษาใคร ทักมาคุยกันได้ผ่านเว็บไซต์ Istrong นะคะ ยินดีฮีลใจให้เสมอค่ะ


และหากคุณต้องการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจตนเองและผู้คนมากขึ้น เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว และในชีวิตประจำวัน คุณสามารถสมัครเรียน "หลักสูตรนักให้คำปรึกษากับนักจิตวิทยา" จาก iSTRONG ได้ที่นี่

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ : 

อ้างอิง :

1. SCB. (มปป.). ป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/fraud-fighter/other/statistics-victims-online-scammers.html

2. ฐานเศรษฐกิจ. (24 พฤศจิกายน 2566). 6 อาชญากรรมออนไลน์ ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.thansettakij.com/technology/technology/581744

 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


Opmerkingen


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page