top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทักษะการให้คำปรึกษา (Counseling skill) ทักษะที่ HR และองค์กรควรมี


นักให้คำปรึกษา, นักจิตวิทยา

ปัจจุบันแนวโน้มการเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตในที่ทำงานมีมากขึ้น ทั้งภาวะความเครียดสะสม ภาวะหมดไฟหรือ Burnout โรคซึมเศร้า หรือแม้กระทั่งปัญหาส่วนตัวที่มีผลกระทบต่อจิตใจ อย่างการสูญเสียบุคคลสำคัญ ปัญหาความสัมพันธ์ หรือปัญหาด้านการเงิน ที่อาจกระทบผลการทำงาน ยิ่งทำให้คนทำงานต้องการความช่วยเหลือด้านจิตใจเพิ่มมากขึ้น การจะกำจัดปัจจัยที่กระตุ้นความเครียด ความกดดัน ปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งการเมืองในที่ทำงาน เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก องค์กรยุคใหม่มากมายจึงตื่นตัวและเพิ่มสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลด้านจิตใจ รวมถึงโปรแกรมด้านส่งเสริมสุขภาพจิตต่าง ๆ มากขึ้น บางที่ถึงขนาดมีทีมนักจิตวิทยาคลินิกและนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาประจำองค์กรเลยก็มี โดยปกติแล้วการดูแลด้านสุขภาพจิตจะเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา แต่หลายครั้งที่การดูแลอาจไม่ทั่วถึง และหลายกรณีที่ช่วยเหลือไม่ทันการ ดังนั้นบุคคลแรกที่ควรเป็นผู้ที่จะสามารถปฐมพยาบาล (ทางใจ) เบื้องต้นให้กับพนักงานในองค์กรได้ ก็คือฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ทักษะการให้คำปรึกษาคือการเยียวยาด้านอารมณ์และความรู้สึก เพื่อพาผู้ที่กำลังประสบปัญหาได้รู้สึกว่ามีคนรับฟัง มีคนที่พร้อมช่วยเหลือ มีคนช่วยสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นและมุมมองของพวกเขา จนกระทั่งสามารถนำพาให้ผู้ที่กำลังประสบปัญหาสามารถจัดการกับปัญหาที่กำลังเผชิญอย่างถูกต้องเหมาะสม นักให้คำปรึกษาคือผู้ที่คอยสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยและไว้วางใจพอ ที่ผู้เข้ารับคำปรึกษาจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และอนุญาตให้นักให้คำปรึกษาได้เข้าถึงความรู้สึก อารมณ์ และเรื่องราวส่วนตัว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างให้คนในองค์กรมีทักษะการให้คำปรึกษา คือ จรรยาบรรณในการรักษาความลับของผู้รับคำปรึกษา >> ความแตกต่างระหว่างไลฟ์โค้ช (Life Coach) กับนักให้คำปรึกษา (Counselor) คุณค่าที่พนักงานจะได้รับจากการที่องค์กรมีบุคคลที่มีทักษะด้านการให้คำปรึกษา

  • พนักงานได้รับการช่วยเหลือทางจิตใจเบื้องต้น

  • พนักงานรู้สึกมีพื้นที่ปลอดภัยในการได้พูดถึงปัญหาที่ตนเองกำลังเผชิญ

  • ช่วยให้พนักงานได้เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดของตัวเองมากยิ่งขึ้น

  • ช่วยพนักงานได้ฝึกทักษะการเยียวยาและฟื้นฟูตัวเอง

  • ได้เข้าสู่กระบวนการการให้คำปรึกษาที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา

  • ได้เรียนรู้มุมมองต่อปัญหาในเชิงบวกมากขึ้น หรือมองเห็นในมุมที่แตกต่างออกไป

ประโยชน์ที่จะเกิดกับองค์กรหากมี HR หรือบุคลากรที่มีทักษะการให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง

  • ผลการทำงานของพนักงานและขององค์กรโดยรวมดีขึ้น

  • ลดอัตราการขาดงานของพนักงาน

  • ลดอัตราการเข้าออกของพนักงาน

  • เกิดกระบวนรับมือกับปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างมีขั้นตอนและถูกต้องเหมาะสม

ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นนักให้คำปรึกษาอย่างถูกวิธีนั้น จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องจากนักจิตวิทยาคลินิกและนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา เรียนรู้จิตวิทยาที่หลากหลายด้านเพียงพอ และมีชั่วโมงการฝึกปฏิบัติที่มากพอ เพราะการให้คำปรึกษานั้นมักเกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาพจิตใจและอารมณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและเปราะบางมาก หากผู้ให้คำปรึกษาไม่รู้วิธีพูด วิธีการคุย วิธีการแสดงออกที่ถูกต้อง อาจยิ่งทำให้ทุกอย่างแย่ลง นอกจากนี้ ข้อจำกัดของนักให้คำปรึกษาที่ไม่ใช่นักจิตวิทยาอาจมีขอบเขตในการดูแลปัญหาที่แตกต่างจากนักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ซึ่งหากผู้รับคำปรึกษาได้รับการวินิจฉัยว่ามีสภาวะของโรคทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ ฯลฯ จำเป็นต้องส่งต่อให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกดูแลต่อไป


หากคุณต้องการพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยา เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์และในชีวิตประจำวัน สามารถดูคอร์สเรียนจาก iSTRONG ได้ที่นี่

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

Kommentare


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page