เราเชื่อในสิ่งที่เราอยากเชื่อ คำอธิบายด้วยหลักการจิตวิทยา
ในช่วงวิกฤตของ COVID-19 สิ่งหนึ่งที่แพรสังเกตเห็นก็คือ กลุ่มคนแบ่งเป็นฝักฝ่ายด้วยความเชื่อที่เหมือนกัน และแม้ว่าจะมีหลักฐานต่าง ๆ ออกมา พวกเขาก็เลือกที่จะเชื่อข้อมูลที่สนับสนุนความคิดของตัวเอง ในบทความนี้แพรเลยอยากเอาหลักการทางจิตวิทยาว่าด้วยเรื่อง confirmation bias หรือ การเลือกที่จะเชื่อในแบบที่ตัวเองอยากจะเชื่อมาฝากกันค่ะ
confirmation bias เป็นประเภทของ cognitive bias รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์เราในการเลือกเสพข้อมูล หรือเชื่อข้อมูล หลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อเดิมของตัวเอง
ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มคนที่เชื่อว่า การใส่หน้ากากอนามัยไม่ได้ช่วยในการปกป้องตัวเองจากเชื้อโรค เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาเจอบทความ หรือ หลักฐานอะไรก็ตามที่สนับสนุนความเชื่อเดิมของพวกเขา พวกเขาก็จะยิ่งตอกย้ำกับตัวเองว่าความเชื่อที่พวกเขามีนั้นถูกต้อง และปฏิเสธข้อมูล หลักฐานที่บอกว่า หน้ากากอนามัยช่วยในการปกป้องตัวเองจากเชื้อโรคเป็นต้น
ความเชื่อในรูปแบบ confirmation bias มีผลต่อการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงของเรา และยังมีผลต่อการตีความและการจดจำข้อมูลในอดีตอีกด้วย ตัวอย่างเช่น คนกลุ่มหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์ไม่ดีกับประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้รับข้อมูลว่า ประเทศไทยไม่ดี ก็จะสนับสนุนข้อมูลนั้น หากมีข้อมูลว่า จำนวนผู้เสียชีวิตที่เกิดจาก COVID-19 มีจำนวนน้อย ก็จะตีและหาหลักฐานมาสนับสนุนความเชื่อตัวเองว่า ประเทศไทยไม่ดี อาจเป็นเพราะ ปกปิดข้อมูล เป็นต้น
เนื่องจากความเชื่อ ส่งผลต่อการกระทำ หากเรามีความเชื่อในรูปแบบ confirmation bias ก็มีผลต่อการกระทำของเราด้วย เช่น เชื่อว่า การใส่หน้ากากอนามัยไม่ได้ช่วยป้องกันเราจะเชื้อโรค คนกลุ่มนี้ก็จะไม่ใส่หน้ากากอนามัย ในทางกลับคน คนที่เชื่อ ก็จะหาหน้ากากอนามัยมาใส่ ซึ่งเราจะเห็นได้อย่างขัดเจน จากการปฏิบัติตัวระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก และ ประเทศในเอเชีย เป็นต้น
ในปี 1960 นักจิตวิทยาด้าน cognitive ชื่อว่า Peter Cathcart Wason ได้ทำการทดลอง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Wason’s Rule Discovery Task โดยเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า คนเรามักจะหาข้อมูลและเลือกที่จะเสพข้อมูลที่สนับสนุนความคิดเดิมของพวกเขา ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คิด ความเชื่อประเภทนี้ทำให้คนเราไม่มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และมีเหตุผล และที่สุดนำมาซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการที่ผิดพลาด ส่งผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น
ตัวอย่างของผลกระทบได้แก่ คนที่ชื่นชอบในตัวนักการเมือง หรือพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ๆ มักจะหาข้อมูลเพื่อที่จะสนับสนุนความเชื่อว่าว่าพรรคที่ตนชอบ หรือนักการเมืองที่เราชอบดี โดยมองข้ามข้อเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น และหาข้อมูลในเชิงลบที่เกิดขึ้นกับฝั่งตรงข้ามเพื่อสนับสนุนว่า สิ่งที่ตัวเองเชื่อดีแล้ว ทำให้การตัดสินใจเลือกไม่ได้มาจากข้อมูลและหลักฐานที่แท้จริง แต่มาจาก ความเชื่อและความรู้สึกส่วนตัว เท่านั้น
นอกจากนี้ C. James Goodwin นักจิตวิทยา ยังได้ยกตัวอย่าง confirmation bias ที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่อง ความหยั่งรู้อนาคต ของคนบางกลุ่มไว้ดังต่อไปนี้
คนที่เชื่อว่าตัวเองหยั่งรู้อนาคตจะนึกถึงบางสิ่งบางอย่างมากกว่าปกติ เช่น การคิดถึงแม่ และถ้าคิดถึงแม่แล้วจะสามารถสื่อถึงแม่ ทำให้แม่โทรมาหา เมื่อใดก็ตามที่คิดถึงแม่ และแม่โทรมาหา พวกเขาก็จะรู้สึกตอกย้ำความคิดว่าพวกเขามีญาณพิเศษ และหยั่งรู้อนาคต โดยมองข้ามว่า 1) มีหลายครั้งที่คิดถึงแม่แล้วแม่ไม่ได้โทรหา หรือ 2) หลายครั้งที่ไม่ได้คิดถึงแม่ แต่แม่โทรหา เป็นต้น
Catherine A. Sanderson นักจิตวิทยาสังคม ยังได้กล่าวไว้ว่า confirmation bias ส่งผลต่อการ เหมารวมว่า คนอื่น ๆ เป็นเหมือนกันจากความเชื่อที่เรามีอีกด้วย เช่น เรามีความเชื่อว่า ฝรั่งมีเงิน เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นฝรั่ง ไม่ว่าเขาความจริงแล้ว เขาจะมีเงิน หรือไม่มีเงิน เราก็จะคิดว่าเขามีเงิน ก่อนเสมอ ๆ
confirmation bias ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความเชื่อส่วนบุคคล และการดำเนินชีวิตของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อ หน้าที่การงานของเราด้วย
Peter O. Gray นักจิตวิทยา ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการรักษาคนไข้ของหมอที่มีความเชื่อแบบ confirmation bias ไว้ดังต่อไปนี้
คุณหมอเชื่อว่า อาการบางอย่างที่เกิดขึ้นกับคนไข้ กำลังแสดงถึงโรคหนึ่ง ที่คุณหมอตรวจเจอเป็นประจำ โดยมองข้ามอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้เกี่ยวกับโรคนั้นส่งผลให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาด เป็นต้น
จากหลักการทางจิตวิทยาเรื่อง confirmation bias จะทำให้เราเห็นได้ว่า เราทุกคนสามารถมี confirmation bias ได้ แม้ว่าเราจะเชื่อว่าเรา เป็นคนใจกว้าง และรับฟังเหตุผลก่อนที่จะเชื่อว่า ข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร วิธีการที่เราจะก้าวข้าม confirmation bias ได้คือ การตั้งคำถามกับความเชื่อของเรา พยายามหามุมมองที่ตรงข้าม และฟังอย่างเปิดใจ สิ่งนี้จะทำให้เรามองเห็นข้อเท็จจริงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตของเรามากขึ้นค่ะ
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
Comments