top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

เลี้ยงลูกอย่างไร ถึงกลายเป็นเด็กที่หลงตัวเอง

self-esteem เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมีผลต่อบุคลิกภาพ และวิธีในการดำเนินชีวิตของคนคนหนึ่ง การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการที่จะสร้าง self-esteem ให้กับลูก เด็กที่มี self-esteem ต่ำ จะไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง และมักจะถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ ๆ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กที่มี self-esteem ที่สูงเกินไป ก็จะกลายเป็น คนที่หลงตัวเอง (narcissism) ไม่สนใจความรู้สึกผู้อื่น และมักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบตัว


Narcissism



นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาวิธีการเลี้ยงลูกที่อาจส่งผลให้เด็กกลายเป็นคนที่หลงตัวเอง (narcissism) ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้


Narcissistic Personality Disorder หรือ พฤติกรรมที่คนมีความหลงตัวเอง สนใจแต่เรื่องของตัวเอง ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งเด็กที่มีอาการนี้ มักจะต้องการความรัก ความสนใจ จากพ่อกับแม่เป็นพิเศษ (มากจนผิดปกติ) ซึ่งสามารถเกิดได้จากสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดูลูก ดังต่อไปนี้





สิ่งแวดล้อมแบบที่ 1 : ครอบครัวที่มีการแข่งขันสูง


เด็กที่ถูกเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง และจะได้รับคำชมเชย ความสนใจ หรือรางวัล ก็ต่อเมื่อเขาได้ทำอะไรบางอย่างสำเร็จ ซึ่งมักพบว่า พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็น Narcissist เช่นกัน ครอบครัวนี้ มักจะกระตุ้น ให้ลูก แสดงศักยภาพที่สูงที่สุดของตัวเองออกมา เพื่อให้ได้รับการยอมรับ


เด็กเหล่านี้ จะได้รับความสนใจ หรือ ความรัก อย่างมีเงื่อนไข เช่น สอบได้ที่หนึ่ง ได้คะแนนดี ได้รางวัลต่าง ๆ จากโรงเรียน และเมื่อทำได้ พวกเขาก็จะได้รับคำชื่นชมยินดีอย่างมาก แต่เมื่อไรก็ตาม ที่เราไม่ได้รับรางวัลใด ๆ เด็กเหล่านั้นก็จะรู้สึกผิดหวัง และไม่ว่าเขาจะประสบความสำเร็จมากเพียงใด ก็ไม่เคยสิ้นสุด ความกดดัน ที่จะต้องทำให้ดีขึ้นยังคงอยู่


สิ่งแวดล้อมทำให้เขารู้สึกว่า เขาจะไม่ได้รับความรัก และ ความสนใจ ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ แทนที่พวกเขาจะมีความสุขในสิ่งที่ทำ พวกเขาวิ่งตามหาความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมเรื่อยๆ พ่อกับแม่ของพวกเขา ไม่ได้สนับสนุนในสิ่งที่เขาชอบ โดยไม่มีเงื่อนไข พวกเขาจะได้รับการสนับสนุน หรือ ชื่นชม ก็ต่อเมื่อเป็นความสำเร็จที่ครอบครัวยอมรับ ทำให้ครอบครัวดูดี เพื่อที่พ่อกับแม่ จะได้ไปคุยกับคนอื่น ถึงความสำเร็จของลูกได้


เด็กที่โตมาในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ จะรู้สึกมั่นคง หรือ มีคุณค่า ก็ต่อเมื่อพวกเขา ได้รับคำชื่นชมว่า “ดีที่สุด” ทำให้พวกเขาสับสน ระหว่าง ความสุขที่แท้จริง กับ ความสำเร็จที่พวกเขาตามหา


Child sitting with a teddy bear.

สิ่งแวดล้อมแบบที่ 2 : พ่อแม่ที่ชอบเปรียบเทียบ


เด็กมักจะโตขึ้นมา โดยการเปรียบเทียบกับคนที่เก่งกว่า ดีกว่า แล้วทำให้พวกเขารู้สึกไม่ดีพออยู่เสมอ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะได้รับคำชื่นชมในบางครั้ง แต่ก็จะถูกทำให้รู้สึกไม่มีคุณค่าได้เมื่อใดก็ตามที่ พ่อกับแม่โกรธ หรือ ไม่พอใจ


เด็กกลุ่มนี้ มักมีอารมณ์โกรธ อับอาย และ รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพออยู่เสมอ ๆ ทำให้พวกเขามีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น


เด็กขี้แพ้: เป็นเด็กกลุ่มที่รู้สึกว่า อย่างไรตัวเองก็ไม่มีทางทำได้ ไม่ดีพอ พวกเขารู้สึกไม่ชอบตัวเอง มีอาการของโรคซึมเศร้า และวิธีการที่พวกเขาใช้ในการหนีความเจ็บปวด ได้แก่ การเสพติดบางอย่าง เช่น ยาเสพติด เหล้า บุหรี่ หรือ เกมส์ เป็นต้น พวกเขามักไม่เคยประสบความสำเร็จอะไรเลยในชีวิต เพราะว่า พวกเขาคิดว่า พวกเขาไม่มีความสามารถพอ


เด็กต่อต้าน: เด็กกลุ่มนี้โตมาด้วยความรู้สึกโกรธที่พ่อกับแม่ มองว่าพวกเขาไม่คุณค่า และเมื่อโตขึ้น หากมีเหตุการณ์ใดก็ตามที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า ถูกกระทำคล้าย ๆ กับที่พ่อกับแม่ทำกับเขา พวกเขาก็จะระบายความโกรธอย่างรุนแรงกับคนเหล่านั้น พวกเขาชอบที่จะทำลาย ทำร้ายคนอื่น



สิ่งแวดล้อมแบบที่ 3 : ปกป้องลูกมากจนเกินไป


พ่อแม่กลุ่มนี้ ปกป้อง และ ทำให้ลูกหมดทุกอย่าง ไม่ว่าลูกต้องการอะไร หรือ อยากได้ อะไรก็จะตามใจ ลูกไม่เคยผิด พ่อแม่กลุ่มนี้ ชื่นชมลูกมากจนเกินความเป็นจริง สร้างแรงกดดันให้กับลูก ทำให้เขารู้สึกว่า เจาจะไม่ได้รับความรัก ถ้าพวกเขาไม่เป็นอย่างที่พ่อแม่ชื่นชม


เด็กที่ต้องพยายามทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้รับความรัก และ ความสนใจ ทำให้พวกเขาไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ไม่รู้ว่าตัวเอง ชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร หรือ มีความสุขอย่างแท้จริงกับการทำอะไร เพราะพวกเขาพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะได้รับการยอมรับจากพ่อกับแม่


อย่างไรก็ตาม Narcissistic Personality Disorder อาจจะพบในคนที่มี self-esteem ต่ำได้เช่นกัน

การเลี้ยงดูลูก และ พื้นฐานครอบครัวเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมาก ๆ หากครอบครัวไหน กำลังเผชิญปัญหาความสัมพันธ์​ หรือ พฤติกรรมของลูก การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักจิตวิทยาก็เป็นทางออกหนึ่งที่ดี เพื่อลดโอกาส ปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้

 

istrong.co ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิตและครอบครัว


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)


และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page