5 นิสัยของหัวหน้า ที่ทำให้ลูกน้องหมดไฟ (Burnout)
หากคุณกำลังประสบปัญหาลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชามาสาย หายบ่อย ส่งงานช้า แก้งานบ่อย นั่นกำลังเป็นสัญญาณว่า ลูกน้องกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ หรือ Burn Out อยู่ก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งนักจิตวิทยา ให้ข้อคิดว่า ปัจจัยสำคัญนอกจากภาระงาน ปัจจัยส่วนตัวของลูกน้องเอง และสิ่งแวดล้อมในการทำงานแล้ว อีกปัจจัยหนึ่ง ก็คือ ลักษณะของเจ้านาย หรือตัวเราเองที่ทำให้ลูกน้องของเราเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) ขึ้นมาค่ะ ทีนี้เรามาลอง Check List กันดูสิว่า เรากำลังเป็นเจ้านายที่ทำให้ลูกน้องเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) อยู่หรือเปล่านะ
1. เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
หากคุณยึดความคิดของตัวเองเป็นหลัก โดยลูกน้องพูดอะไรมาเราก็ขัดเขาไปหมด โดยไม่ได้ฟังเลยว่าเขาเสนออะไร หรือไม่ทันได้วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปรับใช้ในงานหรือไม่ การที่เรามีทัศนคติว่า “โลกต้องหมุนรอบตัวฉัน” เช่นนี้ จะทำให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) เกิดความเอือม เบื่อ ไม่อยากทำงาน ส่งผลให้งานออกมา ไม่มีประสิทธิภาพ เสียหายกันไปทั้งองค์กรได้เลยค่ะ
2. รับชอบ แต่ไม่ยอมร่วมรับผิด
อีกหนึ่งลักษณะของเจ้านายที่นักจิตวิทยากล่าวว่า เป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกน้องเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) ก็คือ เจ้านายที่รับเอาแต่ความชอบ แต่โยนความผิดให้ลูกน้องไปเต็ม ๆ การเป็นเจ้านายเช่นนี้นอกจากจะทำให้ลูกน้องไม่อยากทำงานด้วยแล้ว ยังจะทำให้ลูกน้องย้ายงาน ลาออก ส่งผลให้องค์กร เสียบุคลากรที่มีคุณภาพไปอีกค่ะ
3. คิดถึงแต่ตัวเอง ลืมคิดถึงลูกน้อง
การเป็นเจ้านายประเภทที่ว่าสิทธิ หรือสวัสดิการของตัวเองต้องมาก่อน แต่ลืมใส่ใจว่าลูกน้องอยู่ดีสบายหรือเปล่า หรือเวลาไปเที่ยวไหน ไปไหนมาไหน ไม่เคยมีของฝากมาให้ วันเกิด วันสำคัญ ไม่เคยอวยพร หรือไม่เคยชื่นชมลูกน้องเลย มีแต่ด่า การเป็นเจ้านายที่คิดถึงแต่ตัวเองเช่นนี้ ทำให้ลูกน้องเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) และกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองได้ว่า “ฉันจะทนอยู่ที่นี่ไปทำไม”
4. อารมณ์ร้าย ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
คุณลักษณะร้าย ๆ ของเจ้านายแบบหนึ่งที่นักจิตวิทยายืนยันว่าทำให้ลูกน้องเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) ก็คือ เจ้านายที่ใช้แต่อารมณ์ หรือเจ้านายที่อารมณ์แปรปรวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ จะทำให้ลูกน้องเกิดความเครียด มีอาการผวา วันทำงาน ไม่มีความสุขในขณะที่อยู่ในที่ทำงาน หากอยู่กับเจ้านายเช่นนี้นาน ๆ เข้า ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคทางจิตเวช ทั้งโรคซึมเศร้า โรคเครียด และโรคอื่น ๆ ได้สูงกว่าคนทั่วไปค่ะ
5. เก็บความลับไม่เป็น
เจ้านายที่ไม่ว่าลูกน้องพูดอะไรก็ไปเล่าต่อ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวนั้น จะทำให้ลูกน้องที่มารู้ทีหลังเสียความรู้สึกเพราะถูกหักหลังที่ไว้ใจเล่าเรื่อง หรือระบายความรู้สึกให้ฟัง แต่กลับถูกนำเอามาขยายต่อ เกิดความอับอาย เกิดความโกรธเจ้านาย จนทำให้เกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) ไม่อยากทำงาน ให้เจ้านายคนนี้ ไม่อยากสู้หน้าคนที่ทำงาน จนนำไปสู่การลาออกในที่สุด
บทความแนะนำ “5 วิธีเด็ดรับมือกับ Toxic People ในที่ทำงาน”
หากคุณลอง Check List แล้วพบว่าเรามีลักษณะของเจ้านายที่ทำให้ลูกน้องเกิดภาวะหมดไฟ (Burn Out) แม้เพียงข้อเดียว ขอให้ลองปรับปรุงตัว หรือเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่อให้ลูกน้องซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีคุณภาพ ยังอยู่กับเรา ยังสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์ได้
และหากคุณต้องการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจตนเองและผู้คนมากขึ้น เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว และในชีวิตประจำวัน คุณสามารถสมัครเรียน "หลักสูตรนักให้คำปรึกษากับนักจิตวิทยา" จาก iSTRONG ได้ที่นี่
หรือหากคุณต้องการพัฒนาภาวะผู้นำ สู่การเป็นผู้นำที่ใช้ "หัวใจ" ทาง iSTRONG ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอนาคตของผู้นำ จึงได้ออกแบบ "คอร์ส Heart-to-Heart Leadership" ที่จะพัฒนาให้คุณเป็น "ผู้นำ" ที่ใช้ "หัวใจ" อย่างแท้จริง
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก
บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช.
และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี
เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี
ปัจจุบันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยา ในการปฏิบัติงานมากว่า 6 ปี
Comments