ภาวะหมดไฟ (Burnout) หรือโรคซึมเศร้ากันแน่
ช่วงนี้คนไทยอาจจะได้ยินเกี่ยวกับอาการซึมเศร้าบ่อย ไม่ว่าจะในข่าว จากเสียงเล่าลือ หรือว่าในโซเชียล มีหลาย ๆ คนที่รู้จักคนที่เป็นซึมเศร้า บางคนอาจจะมีความคิดว่าตัวเองเป็นซึมเศร้าและต้องการคำตอบว่า จริง ๆ เราเป็นหรือไม่ แต่ทว่า ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงเท่าอาการซึมเศร้าที่หน้าตาคล้ายคลึงกับอาการซึมเศร้าพอสมควร สิ่งนั้นก็คือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) กับ โรคซึมเศร้า (Depressed) มีลักษณะที่คล้ายกันอยู่หลายประการและอาจจะทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่า ‘เอ๊ะ ตกลงเราเป็นอะไร’ แต่ว่า สองอาการนี้ มีข้อสังเกตของมันอยู่ที่จะช่วยให้เราพอมีไอเดียว่า จริง ๆ แล้วเราน่าจะเป็นอาการไหน เพราะฉะนั้นลองมาดูว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน และ โรคซึมเศร้า แยกแยะได้อย่างไร
ถึงแม้ว่าภาวะหมดไฟจะสังเกตได้ยากกว่าอาการซึมเศร้าเพราะว่าไม่เป็นที่พูดถึงซักเท่าไหร่และเกิดขึ้นใน setting ของการทำงานเท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่จัดว่าเป็นอาการป่วยบนคู่มือวินิจฉัยโรคทางจิตของนักจิตวิทยา (DSM-5) อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะหมดไฟก็เป็นที่ยอมรับในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นจริง และ เป็นภาวะที่เยียวยาได้โดยการใช้การให้คำปรึกษา (counseling) หรือการใช้การบำบัด (therapy) เหมือนโรคซึมเศร้า
Checklist
Checklist ของโรคซึมเศร้าจะมีด้วยกันอยู่ 8 อาการ โดย หากว่าคุณมีอาการดังกล่าว 5 อาการเป็นต้นไป แปลว่า คุณกำลังมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า
1. มีอาการซึมเศร้าแทบทั้งวัน (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้) ** 2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่าง ๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมากแทบทั้งวัน ** 3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือ มีอาการเบื่ออาหาร หรือ เจริญอาหารมาก 4. นอนไม่หลับ หรือ นอนเยอะเกินไป 5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือ เชื่องช้าลง 6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7. สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด 8. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
** ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ
** ต้องมีอาการเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ข้ึนไป และ ต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเพียงแค่วันสองวัน หายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่
Checklist ของอาการหมดไฟจะมีด้วยกันอยู่ 15 อาการ หากว่าคุณมีอาการดังกล่าว 3 อาการเป็นต้นไป แปลว่า คุณกำลังมีแนวโน้มที่จะเป็น ภาวะหมดไฟในการทำงาน
1. รู้สึกหมดพลังทั้งกายและใจ ไม่กระตือรือร้น และไม่มีแรง ต่อสู้กับอะไรเหมือนอย่างเคย 2. เริ่มคิดลบเกี่ยวกับงานที่ทําหรือองค์กร 3. เริ่มไม่แคร์ความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานคนอื่น 4. เริ่มหงุดหงิดกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ง่ายขึ้น 5. รู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานมักไม่เห็นค่าหรือเข้าใจผิดในสิ่งที่ทํา 6. รู้สึกเหมือนไม่มีใครที่ฉันจะพูดคุยหรือปรึกษาเรื่องที่อึดอัดใจได้ 7. รู้สึกว่าตัวเองทําอะไรสําเร็จน้อยกว่าที่ควร 8. รู้สึกกดดันและเครียดเกินควรเพื่อทํางานให้สําเร็จ 9. ภาระงานของฉันมีมากเกินกว่าที่ตัวเองจะรับมือไหว 10. สมาธิในการทํางานแย่ลง 11. คิดถึงเรื่องการลาออกหรือขอย้ายงาน 12. เริ่มมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง 13. นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือตื่นกลางดึก 14. ดื่มมากขึ้น ติดซีรีย์ หรือ เกม มากขึ้น หรือใช้เงินมากขึ้นเพื่อระบายความเครียด 15. กินมากขึ้นหรือเบื่ออาหาร
แยกแยะโรคซึมเศร้า vs. ภาวะหมดไฟในการทำงาน
อาการของ โรคซึมเศร้า :
บุคคลจะมีภาวะที่ทำงานไม่ได้ หรือ กินไม่ได้ หรือ รวบรวมสมาธิไม่ได้ หรือ หากจะตอบโต้อะไรก็ต้องฝืนเต็มที่
ผู้ที่ประสบภาวะนี้อาจจะรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังเผาผลาญตนเองและช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เพราะต้องการที่จะยุติความโศกเศร้า เสียใจ ที่กำลังจับหัวใจของตนเองอยู่ในเวลานี้
ทั้งความรู้สึกและอารมณ์จะหายไปหมด จนไม่อยากจะรับหน้าที่หรือบทบาทอะไรเลย มีความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า น่าเบื่อ หรือมีความเศร้าเสียใจแทรกเข้า และ ท่วมท้นไปทุกซอกทุกมุมของชีวิต ไม่มีอะไรที่จะมาเปลี่ยนแปลงความรู้สึกสูญเสียนี้ได้
สาเหตุของ โรคซึมเศร้า :
เกิดจากการเคยประสบกับเหตุการณ์ที่สะเทือนอารมณ์และทำให้อ่อนแรงหรือหมดสิ้นพลังใจ
อาจเคยช็อคเพราะเหตุร้ายที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนจนทำให้อยากไว้ทุกข์ให้เหตุนั้นตลอดไป
อาการของ ภาวะหมดไฟในการทำงาน :
บุคคลจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนไป อาจเปลี่ยนจากคนสงบสุขุม กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด ขี้โมโห มีพฤติกรรมหรือทัศนคติที่เปลี่ยนไป จากที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจคน กลายเป็นคนชอบเยอะเย้ย ถากถาง เปลี่ยนจากการรับรู้และเข้าใจว่าโลกนี้ปลอดภัย เป็นการมองเห็นว่าโลกนี้มีแต่อันตราย
การตัดสินใจเปลี่ยนจากคนใช้เหตุผล เป็นการเบี่ยงเบน ตกขอบ ความซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจะเป็นไปนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังงานในกายตนที่หมดไป และการเอากลับคืนมา
ไม่ได้แสดงอาการเดียวกันกับทุกสถานการณ์ โดยอาจมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง เมื่อต้องอยู่ในที่ทำงาน แต่กลับดีเวลาที่อยู่ในหมู่เพื่อนฝูงที่รู้ใจ
สาเหตุของ ภาวะหมดไฟในการทำงาน :
เกิดจากการต่อสู้จนสุดฤทธิ์เพราะต้องการไขว่คว้าสิ่งที่มุ่งหวังหรือรางวัล แต่สิ่งนั้นไม่สำเร็จตามที่ต้องการ
เกิดจากการเพิกเฉย ละเลยตนเอง หรือ การตัดตัวเองออกจากความสัมพันธ์ที่มีมานานอย่างหมดสิ้น
เพราะฉะนั้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เราควรจะทำอย่างไรเมื่อค้นพบว่า เราอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ขณะนี้
ดังที่ระบุไว้ข้างต้นว่า ทั้งสองอาการสามารถเยียวยารักษาได้โดยการคุยกับนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา บริษัท iStrong
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
Comments