top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

เช็คด่วน! โรคกลัวความผิดพลาดจน ไม่กล้าทำอะไร คุณเป็น Atelophobia อยู่หรือไม่



คุณกำลังประสบปัญหาไม่กล้าลงมือทำอะไรเพราะกลัวความผิดพลาดอยู่หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเป็น “โรคกลัวความผิดพลาด” หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า Atelophobia อยู่ก็เป็นได้ โดยผู้ที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) มักจะเป็นคนเก่ง เป็นคนดี มีความสามารถ แต่ไม่กล้าที่จะใช้ความสามารถของตนเองสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เพราะรับมือกับความผิดพลาดไม่ไหว 


โดยตามตำราจิตวิทยา Atelophobia จัดอยู่ในกลุ่มโรคกลัวผิดปกติ หรือ Phobia ซึ่งจะเกิดอาการกลัวอย่างรุนแรงต่อบางสิ่งบางอย่าง โดยในกรณีของโรคกลัวความผิดพลาด คือ กลัวที่จะผิดหวัง จึงไม่กล้าลงมือทำอะไรสักอย่าง จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) มักจะแยกตัวโดดเดี่ยว อาจมีภาวะซึมเศร้า จนนำไปสู่อาการทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง (Imposter Syndrome) โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) เป็นต้น


โรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) มีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

1.การถูกลงโทษอย่างรุนแรงในวัยเด็ก

โรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากแผลใจในอดีต เช่น โดนตีเมื่อได้คะแนนสอบน้อย โดนดุด่าอย่างรุนแรงเพราะสอบไม่ผ่าน เป็นต้น จึงทำให้ผู้ที่ถูกลงโทษรุนแรงเกิดการเรียนรู้ที่ผิดว่า หากทำพลาด = ถูกลงโทษ ดังนั้นวิธีที่ผิดพลาดน้อยที่สุด ก็คือ ไม่ทำอะไรเลยนั่นเอง 


2. การมีประสบการณ์ได้รับความอับอายเมื่อเกิดความผิดพลาด

สาเหตุอีกประการตามตำราจิตวิทยาที่ทำให้เกิด Atelophobia ก็คือ การมีประสบการณ์ได้รับความอับอายเมื่อเกิดความผิดพลาด เช่น โดนล้อเลียนขณะนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดนโห่ไล่เมื่อแสดงความสามารถบนเวที เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นภาพจำ เป็นฝันร้าย จนทำให้ไม่กล้าลงมือทำอะไรอีกเลย


3. พ่อ แม่ ญาติสนิทมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety) หรือโรคกลัวผิดปกติ (Phobia) 

ถึงแม้ว่าโรควิตกกังวล และโรคกลัวผิดปกติ จะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่สามารถส่งต่อกันผ่านการเลี้ยงดู ผ่านความเชื่อ และการมองโลกได้ เพราะหากเด็กใกล้ชิดกับคนไหน ผู้ปกครองคนนั้นก็จะกลายเป็นต้นแบบ (Role Model) ให้แก่เด็กคนนั้น และหากต้นแบบมีความเชื่อไม่สมเหตุสมผล เด็กก็จะรับแนวคิดนั้นมา และกลายเป็นว่าเด็กมีภาวะของโรคกลัวความผิดพลาดตามไปด้วย


4. การถูกกดดันจากครอบครัว

หากเด็กได้รับการคาดหวังจากครอบครัวมากเกินไป เด็กคนนั้นจะมีความเครียดสูง และจะแสดงออกมาในสองรูปแบบ คือ ต่อต้าน และยอมตาม สำหรับเด็กที่ต่อต้านความคาดหวังจากครอบครัว ก็อาจกลายเป็นโรคเกลียดคนในบ้าน และสำหรับเด็กที่ยอมตาม ก็อาจจะกลายเป็นเดอะแบก คาดหวังกับตนเองหนัก จนกลายเป็นโรคกลัวความผิดพลาดได้


5. การเลี้ยงดูที่เข้มงวด

ในครอบครัวที่อยู่กันด้วยความเข้มงวด มีระเบียบวินัยสูง คนในบ้านมักจะรู้สึกอึดอัด คับข้องใจ ต้องการอิสระในการใช้ชีวิต แต่หากไม่สามารถพาตัวเองออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านได้ ก็จะถูกบีบคั้นให้เดินตามกรอบ จนคนในบ้านกลายเป็นโรคกลัวความผิดพลาดในที่สุด


ทั้งนี้ ตามตำราจิตวิทยายังบอกอีกว่า คุณสามารถสังเกตตัวเองได้ว่ากำลังเป็นโรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) อยู่หรือไม่ จาก 6 สัญญาณ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่อาจมีความผิดพลาด

คนที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาด มักจะเป็นคนแรกที่โหวตตัวเองออกจากกิจกรรมหรือโพรเจกต์ต่าง ๆ เพราะเหตุผลเดียวเลยค่ะ ไม่อยากจะผิดพลาด นั่นจึงทำให้เขาดูเหมือนคนที่ไม่รับผิดชอบอะไร เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมานั่นเอง 

  • ไม่ยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นมา คนทั่วไปจะมีความคิดว่า “ไม่เป็นไร มาลงมือทำใหม่” แต่กับคนที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาด การพลาดของเขามีค่าเท่ากับโลกล่มสลายเลยค่ะ เขาจะเครียดมาก รับตัวเองไม่ได้ เพราะเขามีความเชื่อว่า ความผิดพลาดคือตราบาปของเขา ความผิดพลาดคือการตอกย้ำว่าเขาไม่เก่ง ไม่มีคุณค่า

  • เมื่อเกิดข้อผิดพลาดมักจะโทษตนเองอย่างรุนแรง

เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น คนที่มีภาวะ Atelophobia จะโทษตัวเองอย่างรุนแรงเพราะเขาคิดว่าความผิดพลาดของเขามันเลวร้ายมาก ซึ่งในอาการส่วนนี้จะแตกต่างจากคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) เนื่องจากเมื่อเกิดความผิดพลาด คนที่มีภาวะ Perfectionism จะแก้ไข และทำใหม่จนกว่าจะออกมาดีเยี่ยม แต่กับคนที่มีภาวะ Atelophobia จะล้มเลิกไปเลยทันที และด้อยค่าตัวเองว่า ฉันไม่ควรทำอะไรอีกแล้ว 

  • คาดหวังและกดดันตนเองอย่างมาก

ด้วยความกลัวที่จะผิดพลาด กลุ่มคนที่มีภาวะ Atelophobia จึงคาดหวังและกดดันตนเองอย่างหนักในการทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เพราะเขามีความเชื่อว่าความผิดพลาด = ความล้มเหลว และเป็นตัวยืนยันว่าเขาไม่มีคุณค่า ดังนั้นเมื่อลงมือทำสิ่งใดก็ตาม คนที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาดจึงมีความเครียดสูงกว่าคนทั่วไป

  • กลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด

เมื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งจบลงแล้ว สิ่งที่คนทั่วไปจะทำก็คือ ถ้าไม่ชื่นชมกับผลงาน ก็ไปทำงานอื่นต่อ แต่กับคนที่มีภาวะ Atelophobia จะกลัวผลลัพธ์ของการทำงานอย่างมาก เพราะเขากลัวว่างานจะไม่ถูกใจเจ้านาย งานจะไม่ถูกใจลูกค้า กลัวว่าจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น และเขาจะไม่มีคุณค่าในงานที่ทำ

  • รับไม่ไหวกับคำวิจารณ์  

สำหรับคนมองโลกในแง่ดี จะมีทัศนคติต่อคำวิจารณ์ว่า นั่นคือสิ่งที่นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตปกติ จะมองว่า คำวิจารณ์คือเรื่องปกติที่ทุกคนต้องพบเจอ แต่กับคนที่เป็นโรคกลัวความผิดพลาด คำวิจารณ์คือมีดกรีดใจ ทุกคำวิจารณ์ไม่ต่างจากยาพิษ


หากมาถึงตรงนี้แล้ว คุณพบว่าคุณมีสัญญาณของโรคกลัวความผิดพลาด ตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป อย่าพึ่งกังวลใจไปค่ะ ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาสามารถช่วยคุณได้ โดยการเข้ารับการบำบัดรักษา ดังต่อไปนี้

  1. ารปรับความคิดและพฤติกรรมด้วย Cognitive Behavioral Therapy (CBT)  Cognitive Behavioral Therapy (CBT) เป็นเทคนิคจิตวิทยายอดนิยมในการบำบัดความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติ โดยมีแนวคิดว่าระบบความคิด สภาวะอารมณ์ และพฤติกรรม ส่งผลซึ่งกันและกัน หากสามารถค้นหาความคิดที่ผิดปกติ และแก้ไขได้ จะช่วยปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ 

  2. ารบำบัดด้วยการเผชิญหน้ากับความกลัว (Exposure therapy) โดยให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว เพื่อให้เกิดความเคยชินและรู้สึกกลัวลดลงอย่างเป็นลำดับ ซึ่งเป็นจิตบำบัดที่นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลัวผิดปกติ (Phobia) โรค PTSD (Post - traumatic Stress Disorder) หรือ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ และโรคแพนิค (Panic Disorder)

  3. ารฝึกสติ (Mindfulness) อาการ “กลัว” ของผู้ป่วยโรคกลัวความผิดพลาดมักจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการฝึกสติจึงเป็นทางออกหนึ่งที่ได้ผลดีในการรักษา โดยมีหลักการบำบัด คือ การฝึกความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอเพื่อหยุดความคิดทางลบ  ความคิดฟุ้งซ่าน และเพื่อผ่อนคลายจิตใจ

  4. ารใช้ยารักษา เพื่อลดความวิตกกังวลลง โดยยาที่จิตแพทย์นิยมใช้ในการบำบัดโรคกลัวความผิดพลาด คือ ยาในกลุ่มยาคลายกังวล (Antianxiety Drugs) ได้แก่ ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) ยาต้านเศร้าในกลุ่ม SSRI หรือ SNRI และยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta - Blocker)


แม้กระบวนการรักษาโรคกลัวความผิดพลาด (Atelophobia) จะต่อเนื่อง และอาจยาวนาน แต่การลดความกลัวความผิดพลาดลงได้ ก็เท่ากับเราเพิ่มความกล้าในการใช้ชีวิตมากขึ้น และยิ่งเรากลัวน้อยลง เราก็ยิ่งมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นตามไปด้วยค่ะ


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong


 

บทความแนะนำ : 


อ้างอิง : 1. Cleveland Clinic. (2021, 22 September). Atelophobia (Fear of Imperfection). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567 จาก https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21932-atelophobia-fear-of-imperfection

2. Pobpad. (2565). Atelophobia โรคกลัวตัวเองไม่ดีพอและวิธีรับมืออย่างถูกต้อง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.pobpad.com/atelophobia-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%AD

3. TUXSA. (2567, 15 พฤษภาคม). เช็กด่วน! “Atelophobia” โรคกลัวความผิดพลาด ใครเป็นบ้าง?. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=854509840054064&id=100064851664739&mibextid=oFDknk&rdid=VN4wBFqi5fnE2y8r


 

จันทมา  ช่างสลัก บัณฑิตจิตวิทยาคลินิกจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้ 


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด

iSTRONG ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต Solutions ด้านสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง รวมถึงบทความจิตวิทยา

© 2016-2024 Actualiz Co.,Ltd. All rights reserved.

contact@istrong.co                     Call 02-0268949

  • Facebook Social Icon
  • YouTube Social  Icon
  • Instagram
  • Twitter
bottom of page