top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร (Aphasia) โรคร้ายทำลายชีวิต ของ บรูซ วิลลิส



ในวันที่ 17 ตุลาคม 2566 สื่อบันเทิงทั้งไทยและต่างประเทศต่างประกาศข่าวที่น่าตกใจ คือ บรูซ วิลลิส (Bruce Willis) นักแสดงฮอลลีวู้ดชื่อดัง ฉายา “คนอึด” วัย 68 ปี อยู่ในภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร หรือในทางจิตวิทยาและการแพทย์เรียกว่า Aphasia ส่งผลให้บรูซ วิลลิส ไม่สามารถสื่อสาร หรืออ่าน เขียนได้อีกแล้ว ซึ่งภาวะ Aphasia ที่บรูซ วิลลิส เผชิญอยู่นั้นเป็นผลมาจากโรคสมองส่วนหน้าเสื่อม (Frontotemporal dementia) หรือ FTD จึงทำให้การสื่อสารของเขาบกพร่อง และไม่สามารถรับงานแสดงที่เขารักได้มาตั้งแต่ปี 2565 แล้ว โดยเกลนน์ กอร์ดอน คารอน (Glenn Gordon Caron) ผู้สร้างซิตคอม Moonlighting ซึ่งบรูซ วิลลิส ได้แสดงไว้ก่อนอาการ Aphasia จะคุกคามรุนแรง ได้กล่าวถึงอาการป่วยของบรูซ วิลลิส ว่า “เขาพูดไม่ได้เลย เขาเคยเป็นนักอ่านตัวยง แต่ตอนนี้เขาไม่ได้อ่านแล้ว ทักษะทางภาษาทั้งหมดเหล่านั้นไม่มีให้เขาอีกต่อไปแล้ว แต่เขายังคงเป็นบรูซ”


ในปัจจุบันนี้ ภาวะ Aphasia และโรคสมองส่วนหน้าเสื่อม ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่รักษาให้ดีขึ้นได้ และชะลอความเสื่อของสมองได้ ถึงกระนั้นก็ตามภาวะ Aphasia ก็สามารถทำลายชีวิตของคนเราได้อย่างร้ายกาจ ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับบรูซ วิลลิส ดาราระดับเอลิสต์ของฮอลลีวู้ด ที่ในยุคสมัยหนึ่งภาพยนตร์ที่มีบรูซ วิลลิสนำแสดง สามารถการันตีได้ว่าปังแน่นอน แต่ในวันนี้กลับกลายเป็นว่า แม้แต่จะพูด จะสื่อความคิด ความรู้สึก หรืออ่านข้อความง่าย ๆ ยังทำได้ลำบาก


ดังนั้น เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความร้ายกาจของภาวะ Aphasia บทความจิตวิทยานี้จึงขอนำเสนอความอันตรายของภาวะ Aphasia เพื่อให้เราใส่ใจสุขภาพสมอง และเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับอาการต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม หรือมีคนใกล้ชิดมีภาวะดังกล่าว โดยผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลเอาไว้ดังนี้ค่ะ


ภาวะ Aphasi เป็นภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร โดยมีสาเหตุมาจากอาการเจ็บป่วยทางสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยประสบปัญหาในการสื่อสารอย่างรุนแรง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง ใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้องตามที่ต้องการจะสื่อสาร เขียนไม่ได้ เขียนไม่เป็นคำ เมื่อจะสื่อสารจะพูดออกมาเป็นคำ ๆ ไม่เป็นประโยค มีการเรียบเรียงคำผิดไปจากหลักไวยากรณ์ ฟังภาษาพูดไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจคำศัพท์ง่าย ๆ ที่เคยเข้าใจมาก่อน เป็นต้น โดยสามารถแบ่งอาการตามตำแหน่งในสมองที่บกพร่อง ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. Broca’s aphasia/non fluent aphasia ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการเด่น คือ ไม่สามารถออกเสียงได้ หรืออกเสียงได้เป็นคำสั้น ๆ ไม่เป็นประโยค แต่ยังคงสื่อสารผ่านท่าทางได้

  2. Wernicke’s aphasia/ fluent aphasia ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะยังคงพูดได้เช่นปกติ แต่ไม่เข้าใจความหมายของคำที่พูด หรือไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่คู่สนทนาจะสื่อสาร โดยข้อสังเกตคือผู้ป่วยจะพูดคนละเรื่องกับคู่สนทนา เช่น ถามว่า “ไปไหนมา” กลับตอบว่า “กินข้าวแล้ว” เป็นต้น

  3. Global aphasia ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีอาการมากกว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม คือ บกพร่องทั้งการพูด และไม่สามารถเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ ได้แล้ว

ทั้งนี้สาเหตุของภาวะ Aphasia มาจากความผิดปกติทางสมอง เช่น โรคเลือดสมอง สมองได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรง เนื้องอกในสมอง สมองติดเชื้อ และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งอาการข้างต้นสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจสุขภาพ และตรวจคลื่นสมอง แต่ด้วยการใช้ชีวิตโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่แล้ว กว่าจะรู้ตัวว่าสมองบกพร่องก็เมื่อมีอาการแสดงออกชัดเจนแล้ว นั่นจึงทำให้การชะลอความเสื่อมของสมองไม่ได้ผล ทำได้แต่เพียงเยียวยาตามอาการเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาได้แนะนำเทคนิคในการชะลอความเสื่อมของสมอง และลดความเครียด เพิ่มความปลอดโปร่งให้สมอง โดยเทคนิค Mindfulness หรือ การเจริญสติ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้


1. ฝึกการผ่อนคลายสมอง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้ชีวิตของคนเราในทุกวันนี้ โดยเฉพาะคนในเขตเมือง ต้องเผชิญกับปัญหาและความกดดันสารพัน จึงส่งผลให้สมองอ่อนล้า แต่เมื่อถึงเวลานอนกลับเครียดจนนอนไม่หลับ นั่นก็เพราะเรายังไม่ได้ผ่อนคลายสมอง นักจิตวิทยาจึงแนะนำว่าเมื่อถึงเวลานอน ให้คุณเปิดไฟในห้องให้สลัว แล้วเปิดเพลงบรรเลงหรือเสียงธรรมชาติเบา ๆ ประหนึ่งว่าอยู่ในร้านสปา แล้วปล่อยให้สมองได้พัก ไม่ต้องคิดอะไร ฟังเสียงที่ช่วยให้ผ่อนคลายนั้นไปแล้วเราจะสามารถหลับได้โดยใช้เวลาไม่นาน


2. โฟกัสทีละเรื่อง

ในโลกที่นอกจากคนทำงานต้องมาแข่งขันกันเองแล้ว ก็ยังต้องมาแข่งความสามารถกับ AI ไปอีก จึงทำให้เราพัฒนาตัวเองให้มีทักษะเป็นมนุษย์เป็ด (Multipotentialite) เพื่อให้สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ และในหลาย ๆ ครั้งเราก็ต้องทำหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย จึงทำให้สมองทำงานหนักมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดในสมองอย่างมาก ดังนั้นเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง และรักษาชีวิตให้มีสุขภาพดีที่ยืนยาว จึงขอแนะนำให้จดจ่อ หรือโฟกัสทีละเรื่อง เพราะเมื่อเรามีสมาธิจดจ่อทีละเรื่อง เราจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้สมองพัฒนา แบบไม่เครียดเกินไปด้วย


3. ใช้จินตนาการช่วยลดความเครียด

ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดจนรู้สึกเหมือนสมองจะแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราสามารถลดความเครียดในจิตใจ และลดความกดดันของสมองด้วยการใช้จินตนาการช่วยให้เราผ่อนคลาย เช่น เมื่อเราทำงานหนักมาก เราอาจจะต้องพักสายตาสัก 12 – 20 นาที โดยจินตนาการว่าเราไปอยู่ในสถานที่ที่เรารู้สึกสดชื่น เช่น ริมทะเล บนภูเขา จุดชมวิวที่มีสายลดพัดเย็น เพียงแค่เราคิดถึงการไปเที่ยว หรือการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องกังวลอะไรในสถานที่เหล่านั้นก็ช่วยให้เราผ่อนคลายได้มาก


4. รักษาสมดุลชีวิต

และคำแนะนำสุดท้ายในบทความนี้ที่นักจิตวิทยาแนะนำ ก็คือ รักษาสมดุลของชีวิตให้ดี เพราะทุกวันนี้เราส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบ Work ไร้ Balance แทนที่จะ Work – Life Balance จึงทำให้เราคิดเรื่องงานเกือบตลอดเวลา ไม่เว้นแม้กระทั่งตอนทานข้าว ตอนกลับบ้าน หรือแม้แต่ในฝัน เราก็ถูกงานคุกคามชีวิตส่วนตัวจนปั่นป่วนไปหมด เพราะฉะนั้นหากเรายังปล่อยให้งานกระทบกับชีวิตส่วนตัว เราจะใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุข เพราะมีความเครียดสูง และไม่นานสมองของเราก็จะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จนเสื่อมก่อนเวลา


ถึงแม้ว่าสังขารจะเป็นสิ่งไม่เที่ยง แต่ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ และเทคนิคในการดูแลสุขภาพกาย การดูแลสุขภาพใจที่หลากหลาย ก็สามารถช่วยให้เราสามารถชะลอความเสื่อมของร่างกาย จิตใจ และสมองได้ค่ะ เพียงแค่เราต้องใส่ใจร่างกายและจิตใจของเราให้มากขึ้น


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :


อ้างอิง : 1. จุฑาณัฐ ยศราวาส. (2565, 15 เมษายน). ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร (Aphasia). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/aphasia

2. ไทยรัฐออนไลน์. (2566, 17 ตุลาคม). บรูซ วิลลิส สื่อสารไม่ได้แล้ว หลังมีภาวะสมองเสื่อมส่วนหน้าจนต้องอำลาวงการ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2566 จาก https://www.thairath.co.th/entertain/inter/2733476

 

จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้


コメント


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page