top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

วิธีดูแลสุขภาพใจ ในสมัยที่ความแปลกแยกทางสังคมเป็นเรื่องปกติ



ความแปลกแยกทางสังคม” หรือคำศัพท์ทางจิตวิทยาเรียกว่า Alienation หมายถึง สภาวะที่บุคคลคนหนึ่งหลีกหนีออกจากสังคม เก็บตัว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสังคม เพราะว่าเกิดความรู้สึกแปลกแยกในจิตใจ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่สภาพสังคมโดยส่วนใหญ่มีส่วนทำให้ผู้คนเกิดความแปลกแยกทางสังคมมากขึ้น อยู่ห่างจากกันมากขึ้น


ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือติดต่อสื่อสาร หรือเทคโนโลยีทันสมัย แต่คนเหงา คนที่รู้สึกโดดเดี่ยว คนที่อยู่ตัวคนเดียว คนที่รู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นกลับมีมากยิ่งขึ้น จนทำให้ผู้นั้นรู้สึกว่าตนเองเป็นเอเลี่ยน (Alienation) เป็นตัวประหลาด จนนำมาซึ่งการทำร้ายตนเอง และทำร้ายผู้อื่นตามข่าวที่เราได้เห็นกัน


Sartre ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาผู้คิดค้นทฤษฎีจิตวิทยามากมาย ได้แสดงแนวคิดว่า ความแปลกแยกทางสังคม หรือ Alienation คือสภาวะที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากสิ่งแวดล้อม หรือผู้คนรอบข้างมากเหลือเกิน จนเกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจ และไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ โดย Sartre ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของความแปลกแยกทางสังคม ไว้ดังนี้


1. ความผูกพันในสังคมที่ลดลงอย่างมาก


จากการที่สังคมโลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วตามกระแสของโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ส่งผลให้การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ เจริญเติบโตขึ้นมาก เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ซึ่งสวนทางกับการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ นั่นจึงทำให้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ หรือมุ่งสู่ความสำเร็จ โดยละเลยการมุ่งสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือแม้กระทั่งการให้ความใส่ใจตัวเอง


2. การให้ความสำคัญของสมาชิกครอบครัว


จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่ได้พูดไปในข้อ 1 คือ ทุกคนต้องเร่งพัฒนาให้ทันโลก จึงทำให้เวลาส่วนใหญ่ในการใช้ชีวิตถ้าไม่หมดไปกับการพัฒนาตนเอง ก็หมดไปกับการทำงาน จนแม้กระทั่งในวันหยุด สมาชิกในครอบครัวก็ยังไม่มีเวลาที่จะมานั่งคุยกัน ไม่มีเวลาแม้แต่จะรับประทานอาหารร่วมกัน ต่างคนต่างใช้ชีวิต เราละเลยกันขนาดที่ว่าใครอยู่ในบ้านหรือออกนอกบ้านไปไหนเราก็ยังไม่รู้ หรือคนในบ้านเจ็บป่วยทางกาย มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างไรก็ไม่มีใครทราบ จะมารู้ก็ต่อเมื่อมันกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปเสียแล้ว


3. สภาวะเศรษฐกิจ


ถึงแม้ว่าเงินจะซื้อทุกอย่างไม่ได้ แต่เงินก็ซื้อได้เกือบทุกอย่าง จึงทำให้บรรดาพ่อ แม่ ต้องเสาะแสวงหาเงินมาเพื่อเลี้ยงดูลูก สนับสนุนทางการเรียนให้ลูก หรือแม้แต่สนับสนุนความสะดวกสบายให้ลูก จึงทำให้ต้องออกบ้านแต่เช้าเพื่อมาเข้างานเร็ว แล้วก็ทำโอทีต่อหลังเลิกงานเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น หรือบางครอบครัวพ่อ แม่ ต้องทิ้งลูกไว้กับตา ยาย เพื่อที่ตัวเองจะได้มาหางานทำในเมืองซึ่งมีโอกาสในการทำงานมากกว่า หาเงินได้มากกว่า แล้วส่งเงิน ส่งของใช้กลับไปให้ลูก นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าเพราะอะไรเด็กวัยรุ่นบางคนถึงเป็นจอมสร้างปัญหา นั่นก็เพราะเขากำลังเรียกร้องให้พ่อ แม่ที่อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้แต่ไม่เคยสนใจให้หันมาสนใจเขานั่นเองค่ะ


4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


จุดแรกเริ่มของการมีเทคโนโลยี ก็เพื่อให้คนเรามีความสะดวกสบายในการทำงานหรือ มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายมากขึ้นแม้ว่าจะอยู่คนละด้านของโลกก็ตาม แต่เมื่อนานวันเขากลับกลายเป็นว่า เทคโนโลยีทำให้คนไกลสนิทกันได้ แต่คนใกล้กลับห่างเหิน บางบ้านลูกแชทกับเพื่อนไม่หยุด จนไม่ได้คุยกับพ่อ แม่ที่อยู่ในบ้านเดียวกัน และเช่นเดียวกัน บางบ้านพ่อ แม่ก็ประชุมออนไลน์หลังเลิกงาน จนไม่มีเวลาอยู่กับลูก


จากสาเหตุที่ได้กล่าวถึงไปนั้น ส่งผลให้คนเราเกิดความแปลกแยกทางสังคม คือ รู้สึกว่าตัวเองเป็นอากาศ ไม่อยู่ในสายตาของคนที่บ้าน ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ความรู้สึกโดดเดี่ยว ห่างเหินเช่นนี้ได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิต จนทำให้เกิดผลที่ตามมาดังนี้ค่ะ


1. เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต


เมื่อคนเราเกิดความแปลกแยกทางสังคม (Alienation) รู้สึกว่าตนเองเข้ากับสังคมไม่ได้ จะเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนเกินของสังคม ไม่มีใครต้องการ รู้สึกถูกจับผิดจากสังคมตลอดเวลา จึงเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต


2. ขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ


เมื่อคนเรารู้สึกว่าสังคมไม่เห็นค่า หรือไม่มีตัวตนในสายตาใคร เขาก็ไม่มีใครเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ไร้ความหวังในการใช้ชีวิต ขาดความอบอุ่นทางจิตใจ ส่งผลให้สุขภาพจิตย่ำแย่ เป็นคนไร้ความหวัง ใช้ชีวิตไปวัน ๆ และเมื่อได้รับความกดดัน ก็มักจะแสดงออกในสองทาง คือ ยอมจำนนต่อชะตาชีวิต หรืออีกทาง คือ โกรธโลก พร้อมจะทำลายโลก


3. ไม่เห็นคุณค่าของชีวิต


สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของคนที่เกิดความรู้สึกว่าตนเองแปลกแยกทางสังคม คือ ไม่เห็นคุณค่าของชีวิต เพราะไม่เคยมีใครชื่นชม ไม่มีความผูกพันกับคนในครอบครัว หรือคนในสังคม ทำอะไรก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า จนนำมาซึ่งการใช้ชีวิตให้ลอยตามลม หรือการพาตัวเองไปสู่ความเสี่ยงในชีวิต หรือการทำร้ายตนเอง จนไปถึงการทำร้ายคนอื่น เพราะเขามีความเชื่อว่าทุกชีวิตไร้ค่า

ดังนั้นเพื่อดูแลรักษา และเยียวยาสุขภาพจิตของทุกคนให้เข้มแข็ง ดิฉันจึงได้รวบรวมแนวทางการดูแลสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยามาฝากกัน ดังนี้ค่ะ


4. หมั่นให้กำลังใจตัวเอง


ถึงแม้ว่าโลกนี้เราจะไม่เหลือใคร แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอนะคะ ว่าเรายังมีตัวเราเองที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเราเสมอ ถ้าเราไม่เทตัวเอง ไม่ทิ้งตัวเอง เราจะยังคงยืดหยัด และใช้ชีวิตต่อไปอย่างเข้มแข็งค่ะ เพราะฉะนั้นอย่างลืมให้กำลังใจตัวเองนะคะ


5. สร้างคุณค่าของชีวิตด้วยตัวเราเอง


คุณค่าของคนอยู่ที่ผลของการกระทำ หากเราทำสิ่งดี ๆ เป็นคนใจดี เป็นมิตร มีน้ำใจ เชื่อเถอะค่ะว่าใคร ๆ ก็เห็นคุณค่า และถ้าเราคิดว่าเราเก่งไม่พอ ดีไม่พอ มีความสามารถไม่พอ ก็ไปเติมความสามารถ ไปฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ไปเสริมศักยภาพและสมรรถนะ เพื่อที่เราจะได้เก่งพอ ดีพอ มีความสามารถมากพอ


6. มองมุมบวกเข้าไว้


หากชีวิตมันโหดร้าย สิ่งที่ช่วยเยียวยาจิตใจเราได้ คือ การมองโลกบวกค่ะ เพราะการมองโลกในแง่ดี หรือการมองมุมบวก คือการสร้างแสงสว่างแห่งความหวังให้ชีวิต โลกใจร้ายกับเรามากพอแล้ว เราอย่าโหดร้ายกับตัวเองอีกเลยค่ะ


7. ยืดหยุ่นให้เป็น


ความยืดหยุ่น เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ช่วยให้คนเราปรับตัวได้แม้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือในสถานการณ์ยากลำบาก เพราะเมื่อเรายืดหยุ่นมากพอ เราจะมองหาทางออกของปัญหาได้เสมอ แม้เราจะเจอทางตันอยู่ก็ตาม


8. หา Safe Zone ให้ตัวเอง


การหา Safe Zone หรือจุดปลอดภัยให้ตัวเองเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ เพราะการที่เรามั่นใจได้ว่าชีวิตเราจะมีที่ให้พักใจเสมอนั้น ย่อมดีกว่าเมื่อเราเจอปัญหาแล้วเราไม่มีที่ไป การที่เรามี Safe Zone ก็เหมือนกับการที่เราสร้างหลุมหลบภัยในจิตใจของเรา แม้พายุอารมณ์จะถล่มใส่ เราก็ยังปลอดภัยได้เสมอ


แม้ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงโลกในทันทีทันใดไม่ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนมุมมองความคิด ทัศนคติที่เรามีต่อโลกได้ ดังนั้นหากเราคิดดี มองหามุมบวก และเห็นคุณค่าในตนเองอยู่เสมอ เราจะเป็นคนหนึ่งที่เข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถใช้ชีวิตในโลกนี้ได้อย่างมีความสุขแน่นอนค่ะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่



 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ :


อ้างอิง :

1. ชาคริต แก้วทันคำ. (2562, 25 มิถุนายน). มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่แปลกแยกและโดดเดี่ยว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.matichonweekly.com/special-report/article_205208

2. สาคร สมเสริฐ. (2556, กรกฎาคม – กันยายน). ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่. วารสารนักบริหาร. 33 (3) : 69 – 72.

 

จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตจากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตจาก NIDA ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูก 1 ผู้เป็นทาสแมว ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาการเขียนบทความจิตวิทยาให้โดนใจผู้อ่าน และสร้างแรงกระเพื่อมทางสังคม ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกบนโลกใบนี้


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page