top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

ทำงานไม่เคยเสร็จทัน คุณเข้าข่ายสมาธิสั้นรึเปล่า


โรคสมาธิสั้น เป็นโรคหนึ่งที่ท้าทายความเป็นผู้ปกครองในยุคดิจิตอล เนื่องจากการควบคุมเวลาของลูกในการใช้ smart phone และอุปกรณ์ electronic ต่างๆ เป็นเรื่องที่ยากมาก มีการศึกษาของนักจิตวิทยาพบว่า การที่เด็ก (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) ใช้เวลากับโลก digital มากจนเกินไป มีผลต่อการเกิดโรค ADHD (Attention-deficit/hyperactivity disorder) หรือ เรียกสั้นๆ ว่าโรคสมาธิสั้นนั่นเอง



เด็กเล่นเกมส์ เสี่ยงสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร

โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดความตั้งใจ ถูกดึงดูดความสนใจได้ง่าย สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น


โรคนี้มักเกิดขึ้นในเด็ก ซึ่งคิดเป็น 5-10% โดยเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) จะไม่สามารถที่จะมีสมาธิในการตั้งใจเรียน หรือ ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้เป็นเวลานานๆ และมักจะนั่งเหม่อลอยอยู่บ่อยๆ หรือพวกเขาอาจจะต่อต้านผู้ปกครอง และกฎระเบียบต่างๆ มีปัญหาการเข้ากับเพื่อน ครู และคนรอบตัว มีผลกระทบกับความสามารถในการวางแผน การควบคุมอารมณ์ และการตัดสินใจ



ทำงานเสร็จไม่ทัน เป็นสมาธิสั้นรึเปล่า

อาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD)

นักจิตวิทยาแบ่งอาการของโรคสมาธิสั้น (ADHD)เป็นสองประเภท หลักๆ ดังนี้

1.ขาดความตั้งใจ - ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะไม่สามารถสนใจอะไรได้เป็นเวลานานๆ จะโดนดึงดูดความสนใจจากสิ่งแวดล้อมได้ง่าย ไม่สามารถที่จะโฟกัสกับรายละเอียด หรือขั้นตอนต่างๆ ได้ ส่งผลให้งานที่ทำมักมีข้อผิดพลาด หรือไม่สามารถจะทำงานใดๆ ให้เสร็จสิ้นได้ รวมไปถึง อาการขี้ลืมด้วย

2.ขาดสมาธิ/หุนหันพลันแล่น - ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ มักจะรู้สึกกระตือรือร้นตลอดเวลา พูดมากเกินไป และมักจะรบกวนผู้อื่นในเวลาที่ไม่เหมาะสม


อ่านบทความ "14 อาการของผู้ใหญ่สมาธิสั้น" ได้ที่นี่


อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจมีอาการทั้งสองกลุ่มรวมกัน ซึ่งคนปกติก็อาจจะมีอาการที่กล่าวมาได้ แต่คนที่จะจัดว่ามีปัญหา เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) และต้องการการบำบัด คือผู้ที่อาการที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันนั่นเอง



สาเหตุของโรคสมาธิสั้น (ADHD)

นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาและพบว่า มีปัจจัยมากมายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคสมาธิสั้น (ADHD) ได้แก่ พันธุกรรม คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD), ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจากสารตะกั่วและควันบุหรี่ หรือการดื่มเครื่องดื่ม alcohol มากๆ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาค้นพบว่า ผู้ที่ทานหวานจนเกินไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสมาธิสั้น (ADHD) ได้เช่นกัน


ในส่วนของบทบาทของผู้ปกครองที่ปล่อยปละละเลยลูกหลานของตนเอง โดยเฉพาะให้ใช้เวลามากเกินไปกับ smart phone หรือโลก digital ก็มีผลอย่างมาก ที่จะทำให้ลูกหลานของคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) เนื่องจากเด็กๆ จะได้รับความบันเทิงจากสื่อเหล่านี้ได้ง่าย และต่อเนื่อง เมื่อใช้เวลาจำนวนมากกับความบันเทิงตลอดเวลา จะทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อง่าย ไม่มีเป้าหมายในการใช้เวลา ขาดฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว ส่งผลถึงพัฒนาการในการสร้างทักษะการสร้างความสัมพันธ์ เมื่อพวกเขาไม่ได้เล่น smart phone หรือใช้เวลากับโลก digital พวกเขาก็จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรทำ มีผลต่อ การทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิต



รักษาโรคสมาธิสั้น


วิธีการรักษา

นักจิตวิทยาใช้วิธีการรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) ด้วยกันอยู่สองวิธี นั่นคือ

1. บำบัดพฤติกรรม โดยการฝึกฝน และ

2. การให้ยา

ซึ่งส่วนมากแล้วจะใช้สองวิธีร่วมกันในการรักษา


ผู้ปกครองสามารถช่วย ลูกหลานของตนที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) โดยวิธีการบำบัดพฤติกรรมง่ายๆ ด้วยตัวเองด้วย การให้ความใส่ใจและสนใจลูกหลานของตัวเองให้มากขึ้น หากิจกรรมที่ทำร่วมกัน ฝึกให้พวกเขามีระเบียบวินัย จำกัดเวลาในการใช้เวลาบนโลก digital เป็นต้น



การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD)

เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มีอาการที่ส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง มีความสนใจกับสิ่งต่างๆ ในระยะเวลาสั้นๆ ไปจนถึงการขัดจังหวะผู้คนในเวลาที่ไม่เหมาะสม คนรอบตัวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจอาการเหล่านี้ของพวกเขา และพยายามที่จะช่วยพวกเขาโดยการสร้างกิจวัตรประจำวันที่เหมือนๆ กันให้พวกเขา สร้างระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต เป็นต้น



โรคนี้เป็นโรคใกล้ตัวคนในยุคปัจจุบันมาก จากสิ่งเร้าต่างๆ และโลกที่เชื่อมต่อตลอดเวลา การสังเกตบุคคลใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวเอง เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เราควรที่จะมีเวลาในการ disconnect และทำกิจกรรมร่วมกับบุคคลอื่น พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบตัวให้มากขึ้น การฝึกวินัยในตัวเอง ฝึกการโฟกัส ไม่ว่าจะเป็น การนั่งสมาธิ การอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง 10 นาที ก็สามารถช่วยได้มาก


แพรหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ

 

iStrong ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว

บริการให้คำปรึกษานักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page