7 วิธีป้องกันภาวะ Burnout จากการทำงานอยู่กับที่
การทำงานอยู่กับที่หรือช่วง Work from Home จากผลกระทบจากโรคระบาด COVID-19 ที่หลายคนอาจทำงานในพื้นที่จำกัดทำให้เกิด ความเครียด ซึ่งทำให้เกิดภาวะ Burnout หรือ ภาวะหมดไฟ ตามมาได้ ไหนจะต้องปรับตัวกับการทำงานที่บ้าน ซึ่งแต่ละคนนั้นมีปัญหาที่ต่างกันออกไป บางคนมีพื้นที่จำกัด บางคนสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย บางคนได้รับการรบกวนจากคนรอบข้างทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง บางคนนั่งทำงานทั้งวันแต่ทำไม่เสร็จตรงตามเวลา งานไม่เป็นชิ้นเป็นอันและไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ หากปล่อยเอาไว้แบบนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการงานในระยะยาวและเกิดเป็นภาวะ Burnout ได้นะคะ
บทความแนะนำ "ทำงานไม่เคยเสร็จทัน คุณเข้าข่ายสมาธิสั้นหรือเปล่า"
ทำไมการ Work from Home ถึงเหนื่อยเหมือนวิ่งมาราธอน
การ Work from Home อาจไม่ต้องเดินทางหรือออกแรงมากมายก็จริง แต่หากระหว่างนี้คุณมี ความเครียดจากการทำงาน อาจส่งผลให้คุณเกิดภาวะ Burnout ได้ค่ะ ทางการแพทย์กล่าวไว้ว่า อาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากร่างกายของคนเราสามารถส่งผลต่อจิตใจได้เช่นกัน เพราะร่างกายของเรานั้นรับรู้ถึงความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ดังนั้น การใช้ความคิดและพลังงานในการทำงานอยู่กับที่ จริง ๆ แล้วเหนื่อยพอ ๆ กับการวิ่งมาราธอนเลยก็ว่าได้ เนื่องจากสมองของเราสามารถคาดการณ์ที่เราจะต้องใช้พลังงานไปกับการทำงานแต่ละชิ้นเพื่อให้เสร็จทัน Deadline รวมถึงการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกจากคนรอบข้างที่เป็นอารมณ์ด้านลบ จะยิ่งทำให้เหนื่อยล้าลงไปได้ง่าย ยิ่งในการทำงานที่ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมากอาจทำให้เราอ่อนเพลียหรือล้มป่วยได้ วันนี้กวางจึงมีวิธีป้องกันภาวะ Burnout ที่เกิดจากการทำงานอยู่กับที่ ที่อาจทำให้เหนื่อยพอกับการวิ่งมาราธอนมาฝากคุณในช่วง Work from Home ค่ะ
7 วิธีป้องกันภาวะ Burnout จากการทำงานอยู่กับที่
1. ดื่มน้ำให้ได้ 8 -10 แก้วต่อวัน
เมื่อเราทำงาน สมองจะต้องการน้ำเป็นพิเศษเพราะระหว่างทำงานนาน ๆ สมองของเราอาจขาดน้ำได้ค่ะ ทั้งนี้ เมื่อเราดื่มน้ำบ่อย ๆ ก็จะทำให้ได้ลุกไปเข้าห้องน้ำได้บ่อยขึ้น ซึ่งช่วยในการขยับร่างกาย
2. การขยับเคลื่อนไหว ออกกำกลังกายทุกเช้า
การขยับร่างกายจะส่งผลที่ดีต่อสมองและจิตใจของเราให้กระปรี้กระเปร่าสดชื่นแจ่มใส ที่สำคัญ อย่าลืมตื่นมาสูดอากาศในตอนเช้า ตากแดดเพื่อรับวิตามินดีด้วยนะคะ
3. เพิ่มงานอดิเรก
งานอดิเรกสำหรับบางคนแล้ว คือตัวตนของคน ๆ นั้น หากมันหายไปแล้ว อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหรือเกิดความเครียดได้ การหันมาหางานอดิเรกใหม่ ๆ ทำ อาจทำให้คุณเพลิดเพลินได้เช่นกัน หลายคนอาจจะได้ใช้ช่วงนี้ฝึกทำอาหารจนเป็นเชฟ ปลูกต้นไม้จนบ้านจะเป็นป่า แต่ก็เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ดีเลยนะคะ
บทความแนะนำ "เพราะอะไรคนประสบความสำเร็จถึงต้องมีงานอดิเรก"
4. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมด้วยการจัดโต๊ะทำงานใหม่
โต๊ะทำงาน คือ ที่ที่เราอยู่ด้วยมากที่สุด ดังนั้น จงแบ่งเวลาเพื่อมาปรับเปลี่ยนและจัดโต๊ะทำงานของเราให้สะอาด เรียบร้อย และชวนให้เราทำงานนะคะ
5. ค้นหาไอเดียใหม่และความสุขจากการท่องโลกโซเชียล
ในการที่ต้อง Work from Home เช่นนี้ สิ่งที่เราจะพอค้นหาไอเดียและความเพลิดเพลินได้ก็คงจะเป็นโลกโซเชียลจากความทรงจำก่อนเหตุการณ์ COVID-19 ที่มีการแบ่งปันหลายช่องทางให้ทั้งข้อคิดและความสนุกเพลิดเพลินที่คุณจะพอทำได้ในตอนนี้ค่ะ
บทความแนะนำ "3 สิ่งดีที่คุณอาจได้มาในช่วง COVID-19"
6. ให้รางวัลตัวเองเมื่อคุณทำงานเสร็จ
หมั่นเติมพลังและกำลังใจดี ๆ ให้ตัวเองด้วยการให้รางวัลตัวเองเมื่อคุณทำบางอย่างสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ อาจจะเป็นขนมอร่อย ๆ การดูรายการโปรด หรือ การนอนพักผ่อนเพื่อเพิ่มพื้นที่ดีต่อใจให้ตัวคุณเองด้วยนะคะ
7. ไม่เก็บตัว
การกักกันตัวทำให้เกิดความเครียดเพียงพออยู่แล้ว ดังนั้น อย่าเก็บตัว ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างบ้าง สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานอย่างเปิดอกหากคุณมีเรื่องไม่สบายใจ หรือ มีปัญหาจากการที่ต้อง Work from Home เพื่อหาทางออกร่วมกันค่ะ
การทำงานอยู่กับที่ก็ใช้พลังงานไม่แพ้กับการออกแรง ยิ่งการทุ่มเทแรงกายแรงใจมาก ก็ยิ่งอ่อนล้าได้มากเช่นกันในช่วง Work from Home ด้วยการทำงานในพื้นที่จำกัด ด้วยหลายอย่าง อาจทำให้คุณเกิดภาวะ Burnout ได้ ดังนั้น ควรหมั่นตรวจสอบดูแลใจและกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
Comments