top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

นักจิตวิทยาแนะนำ 5 เทคนิคเด็ด สอนลูกอย่างไรไม่ให้เหยียดคนอื่น


จากประเด็นสุดร้อนในคลับเฮาส์ที่มีการเหยียดคนภาคอีสาน และเกิดเป็นกระแสสังคมอย่างดุเดือดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งอันที่จริงแล้ว “การเหยียด” ไม่ใช่สิ่งใหม่ในสังคมไทย หรือแม้แต่สังคมโลกก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่ใครจะทำกับใคร เพราะเป็นการกระทำที่จัดว่าเป็นการ Bully ประเภทหนึ่งที่ลดทอนเกียรติ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างรุนแรง และยังทำให้คนที่ “เหยียด” คนอื่นก็ถูกมองไม่ดี ไปด้วยเช่นกัน ในมุมมองของนักจิตวิทยาเด็ก และจิตวิทยาสังคม “การเหยียด” ถือเป็นต้นตอสำคัญของโรคทางจิตเวชมากมาย เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น และยังทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายทรัพย์สิน อาชญากรรม เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมากเลยค่ะ และจากงานศึกษา จากหนังสือ หรือตำราทางด้านจิตวิทยาต่าง ๆ ก็บอกไปในแนวทางเดียวกันว่าการจะกำจัด “การเหยียด” นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สามารถลดไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยการสอนหรือเลี้ยงดูเด็ก ๆ เพื่อไม่ให้ไปเหยียดคนอื่น หรือเหยียดหยามตัวเอง และในบทความจิตวิทยานี้ ดิฉันก็ได้รวบรวมเทคนิคในการสอนลูกอย่างไรไม่ให้เหยียดคนอื่น มากฝากกันค่ะ


1. ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี


วิธีการสอนลูกที่ดีที่สุด ก็คือ การทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะเด็ก ๆ ในวัย 1 – 5 ขวบนั้นกำลังอยู่ในวัยที่ลอกเลียนแบบ และตัวแบบที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด ก็คือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองนั่นเอง ซึ่งวิธีการเป็นตัวอย่างที่ดีนั้นใช้ได้ดีในทุกเรื่องเลยค่ะ รวมไปถึงเรื่องสอนลูกไม่ให้เหยียดคนอื่นด้วย หากคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง แสดงออกกับคนในครอบครัว คนที่รู้จัก หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างให้เกียรติ เคารพ ลูก ๆ หลาน ๆ ของเรา เขาก็จะเรียนรู้ และจดจำวิธีการเข้าหาคนอื่น หารพูดคุยกับคนอื่นอย่างเคารพ และ ให้เกียรติเช่นเดียวกันค่ะ


2. สร้างความเข้าใจว่าคนทุกคนแตกต่างกัน


ประเด็นใหญ่ที่ทำให้คนเรามองคนไม่เท่ากัน ก็คือ รูปลักษณ์ และความเชื่อที่ไม่เหมือนกันค่ะ แต่ถ้าให้จำแนกลงไปกว่านั้นก็มีประเด็นมากมาย ทั้งสีผิว ลักษณะผม สีฟัน รูปร่าง หน้าตา ศาสนา เชื้อชาติ การเมือง และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ทำให้คนเราเถียงกัน ทะเลาะกัน เกลียดกัน หรือแม้แต่ทำสงครามกัน แต่ถ้าเราสร้างความเข้าใจให้ลูก หลานของเราเข้าใจว่าคนทุกคนมีความแตกต่างกัน เช่น แม่กับลูกแตกต่างกันพ่อกับลูกแตกต่างกัน พ่อกับแม่แตกต่างกัน แต่เราก็รักกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน หรือ แม้แต่แฝดที่เกิดมาไล่เลี้ยกัน ก็ยังมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้น ขอให้บอกลูก หลานของเรานะคะว่า เราทุกคนมีความเป็น Limiter Edition คือ ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร ขอให้ภูมิใจในตัวเรา และเคารพในความแตกต่างของคนอื่น


3. ปลูกฝังให้ลูกมอง “คน” อย่างเท่าเทียม


เมื่อเราได้สอนให้ลูกเข้าใจว่าทุกคนแตกต่างกันแล้ว ขั้นต่อมาที่เราควรสอนลูก ก็คือ การสอนให้ลูกมองคนอย่างเท่าเทียมกันค่ะ ถึงแม้เราจะต่างกัน เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว สีผม หรืออะไรก็ตามนั้นไม่ได้ทำให้ “ความเป็นคน” ของแต่ละคนลดลง เพราะทุกคนมีสิทธิในการใช้ชีวิตของตัวเอง ที่ใครจะละเมิด หรือจำกัดสิทธิโดยไม่ชอบไม่ได้ และต่อให้ความรู้ ความสามารถของแต่ละคนจะไม่เท่ากันแต่ก็สามารถเรียนรู้ให้ทันกันได้ค่ะ


4. พาลูกพบปะผู้คนที่หลากหลาย


วิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้ลูก หลานของเราได้เรียนรู้ผ่านความแตกต่าง ก็คือ การออกนอกบ้านไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมทางสังคมที่หลากหลาย เช่น ไปโรงเรียน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือการดูภาพยนตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของผู้คนที่แตกต่างจากเขา และได้เห็นคุณค่าในความแตกต่าง เช่น วัฒนธรรมที่สวยงาม การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ล้ำค่า ภาษาที่สละสลวย เป็นต้น และการที่เราให้ลูกได้เรียนรู้ความแตกต่างจากผู้คนที่หลากหลายนั้น ก็ยังเป็นการส่งเสริมให้เขาภาคภูมิใจในตนเองผ่านการนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง ถึงแม้ว่าผลจะออกมาไม่ตรง ตามความคาดหวังของเรา เช่น โดนล้อ โดนดูถูก แต่นั้นก็จะทำให้เด็ก ๆ ของเราแข็งแกร่งมากขึ้นค่ะ


5. ลด Hate Speech ในครอบครัว

และวิธีสุดท้ายที่จะมาแนะนำในบทความนี้ ก็คือ การลด Hate Speech ในครอบครัวค่ะ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในข้อที่ 1 ว่า คนในบ้านคือตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก ๆ ฉะนั้นแล้ว หากคนในบ้านใช้คำพูดรุนแรงต่อกัน ดูถูกกัน ล้อเลียนกัน หรือเหยียดกันตั้งแต่ในบ้านแล้ว เราจะปลูกฝังให้เด็กใช้คำพูดเชิงลบเหล่านั้นกับคนนอกบ้าน หรือในสังคมที่เขาอยู่โดยไม่รู้ตัว ทำให้เขากลายเป็น Toxic people ที่สร้างบาดแผลทางใจให้กับคนอื่นต่อไป ดังนั้น เราต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยการลด Hate Speech ในครอบครัวค่ะ

หากเราต้องการให้คนนอกบ้านให้เกียรติลูกเรา เคารพลูกเรา ไม่ทำร้ายลูกเรา อย่างเช่นที่เราดูแลลูก เราก็ต้องเริ่มโดยการสอนลูกของเราไม่ให้ไปทำร้าย หรือลดทอนคุณค่าของคนอื่นด้วยการเหยียด หรือล้อเลียน หรือดูถูก หรืออะไรก็ตามที่ไปสร้างแผลใจให้คนอื่นค่ะ และถ้าลูกเราดีกับคนอื่น ก็มีโอกาสมากที่คนอื่นจะดีกับลูกเรา อย่างเช่นคำพูดที่ว่า “อยากได้อะไร ต้องให้เขาก่อน” นั่นเองค่ะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ


iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความแนะนำ

[1] 4 วิธีปลูกฝังความเท่าเทียม หยุดการ bullying ในวัยเด็ก (https://www.istrong.co/single-post/equality-can-stop-bullying)

[2] 5 วิธีสอนลูกให้มี Empathy ตามคำแนะนำนักจิตวิทยา (https://www.istrong.co/single-post/empathy)

[3] 5 เคล็ดไม่ลับปรับพฤติกรรมเด็กไม่ให้แกล้งเพื่อน (https://www.istrong.co/single-post/stop-kids-bullying)


อ้างอิง : JS100. กรมสุขภาพจิต ชู 5 แนวคิด สอนลูกให้เรียนรู้ความแตกต่าง ไม่เหยียดและไม่เกลียด จากประเด็น #คลับเฮาส์toxic. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564 จาก https://today.line.me/th/v2/article/8nnrm9K?utm_source=lineshare

 

ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก บัณฑิตสาขาวิชาเอกจิตวิทยาคลินิก เกียรตินิยมอันดับ 2 จากรั้ว มช. และมหาบัณฑิตด้านการพัฒนาสังคม NIDA มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาเด็ก 4 ปี เป็นผู้ช่วยนักวิจัย ด้านจิตวิทยา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และคุณแม่ของลูก 1 คน แมว 2 ตัว ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางจิตวิทยาในการใช้ชีวิต


Bình luận


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page