top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เคล็ดลับจูงใจให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา

สำหรับนักจิตวิทยา นักจิตบำบัดนั้น การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือผู้ปวยทางใจว่ายากแล้ว แต่การจูงใจให้ผู้ป่วยมารับการทำจิตบำบัดนั้นยากกว่ามาก เพราะถ้าผู้ป่วยทางใจที่มีอาการไม่หนักมากก็มักจะไม่รู้ตัว และละเลยการแก้ไขปัญหาของตัวเอง นานวันเข้าความเครียด ความเศร้า ก็สะสมและกัดกร่อนจิตใจจนทำให้เจ็บป่วยทางใจในหลายๆ โรค ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล สมาธิสั้นในผู้ใหญ่ โรคเครียด ซึ่งนำไปสู่อาการนอนไม่หลับ และอาจทำให้เกิดความรู้สึกอยากตายได้ ดังนั้น การจูงใจให้ผู้ป่วยทางใจมารับการทำจิตบำบัดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ



การจูงใจให้ผู้ป่วยทางใจมารับการทำจิตบำบัดเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และสำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วยมากเลยนะคะ เพราะการที่เขาจะหายหรือไม่หาย ขึ้นอยู่กับการพาเขาไปรับการรักษาร่วมกับการทำบำบัดล้วน ๆ เลย และผู้ที่รับหน้าที่สำคัญนั้นไม่ใช่จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือพยาบาลจิตเวชแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรา ๆ ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยต่างหากที่ต้องจูงใจให้พวกเขารู้ตัวว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเขา เขาต้องได้รับการทำจิตบำบัดเพื่อให้กลับมามีสุขภาพจิตปกติ



ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้อ่านและคนใกล้ชิดผู้ที่กำลังเป็นผู้ป่วยทางใจ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมวิธีจูงใจให้ผู้ป่วยยอมรับการบำบัดมาฝากกัน 5 วิธีด้วยกันค่ะ



1.เป็นผู้ฟังที่ดี

เราจะเป็นผู้พูดจูงใจที่ดีไม่ได้เลยหากเราไม่เป็นผู้ฟังที่ดีมาก่อน โดยคุณหมอชัชวาลย์ ศิลปกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนไว้ในบทความ “ทักษะการสื่อสารในเวชปฏิบัติ” ว่า การเป็นผู้ฟังที่ดีต้องฟังอย่างตั้งใจ สนใจ มีการตอบสนองอย่างเหมาะสม ใส่ใจกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้พูด ไม่ขัดจังหวะผู้พูด ปล่อยให้ผู้พูดได้ระบายความรู้สึกอย่างอิสระ แสดงการยอมรับและไม่ตัดสินผู้พูดจากสิ่งที่เขาพูด และเมื่อผู้ป่วยทางใจได้พูดในสิ่งที่อัดอั้น เขาก็จะเปิดใจต่อเรามากขึ้น และเมื่อเปิดใจต่อกันแล้ว ทีนี้เมื่อเราเป็นผู้พูดบ้าง เขาก็จะรับฟังเรามากขึ้นด้วยค่ะ



2.ประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยทางใจ

ในการจูงใจให้ผู้ป่วยมารับการทำจิตบำบัดนั้น หากจะไปชวนกันโต้ง ๆ เลยว่า วันนี้ไปทำจิตบำบัดที่โรงพยาบาลกันเถอะ แล้วก็จูงมือกันไปหานักจิตบำบัดเลยคงเป็นไปได้ยากค่ะ เพราะการไปหานักจิตบำบัดไม่ได้สนุกเหมือนไปช็อปปิ้ง ก่อนอื่นเลยเราต้องดูก่อนว่าผู้ป่วยทางใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำจิตบำบัดมาก – น้อยแค่ไหน หากเขาเข้าใจไปในทางลบก็คงต้องให้เวลาในการทำความเข้าใจกันเสียหน่อยละ เพราะถ้าเรายังดึงดันจะพาเขาไปในขณะที่เขาไม่รู้อะไรเลย ก็จะยิ่งไปทำให้เขาต่อต้านเราไปอีก ในขั้นตอนนี้คุณหมอชัชวาลย์ ก็ได้แนะนำว่า เราสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยทางใจได้ 3 วิธีค่ะ คือ พูดให้ความรู้ ใช้โปสเตอร์หรือสื่อช่วยแนะนำ และสาธิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจ



3.สร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดี

หากผู้ป่วยทางใจสบายใจที่จะอยู่กับเรา หรือสนิทใจกับเราแล้ว เราชวนเขาไปทำจิตบำบัดยังไงเขาก็ไปค่ะ แต่ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ป่วยทางใจไม่ดี ต่อให้เรามีจิตวิทยาในการพูดอย่างไร หรือให้ของรางวัลจูงใจแค่ไหน เขาก็จะรู้สึกต่อต้านและไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีไว้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นค่ะ ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “10 วิธีการสร้างความไว้วางใจในครอบครัว” ได้เลยค่ะ



4.ชวนด้วยวิธีการที่นุ่มนวล

ขอย้ำว่าต้องนุ่มนวลนะคะ การบังคับใจกันไม่เคยให้ผลดีในทุกกรณีเลย โดยการชวนนั้นคุณหมอชัชวาลย์ก็ได้ให้เทคนิคไว้ว่า ต้องพูดถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางใจจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการมองโลกที่สดใสขึ้น การมีความสุขในการใช้ชีวิต การมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง เป็นต้น



5.ใช้การแลกเปลี่ยน

วิธีนี้ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือการให้รางวัลนั่นเอง โดยจะเป็นรางวัลที่เป็นสิ่งของก็ได้ หรือสิทธิประโยชน์ที่ผู้ป่วยทางใจจะได้รับก็ได้ค่ะ วิธีนี้เป็นวิธีเสริมจาก 4 วิธีข้างต้น แต่หากคุณผู้อ่านทำ 4 วิธีข้างต้นได้ไม่ครบ หรือไม่ดีพอ วิธีนี้ก็ไม่ช่วยอะไรเลยคค่ะ เพราะฉะนั้นแล้วต้องทำ 4 วิธีข้างต้นให้ดีเสียก่อนนะคะ


ผู้ป่วยทางใจ

การจูงใจให้ผู้ป่วยทางใจเข้ารับการทำจิตบำบัดนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยแรงใจ เวลา ความอดทน และความพยายามอย่างสูง ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถนำเทคนิคการดูแลผู้ป่วยทางใจจากบทความ “7 วิธีอยู่เคียงข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า” และ “5เคล็ดลับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยทางใจในครอบครัว” ได้นะคะ



นอกจากนั้นแล้วคุณผู้อ่านก็อย่าลืมดูแลจิตใจของตัวเองด้วยนะคะ เพราะเราซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของผู้ป่วยทางใจ ก็เหมือนกับเป็นที่ยึดเหนี่ยว ที่พึงพิงของเขา หากเราล้มผู้ป่วยทางใจก็ไม่สามารถจะสู้กับโลกที่โหดร้ายด้วยตัวเองได้ไหว เพราะฉะนั้นแล้วหากเครียดเกินไปสามารถขอรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญจาก iStrong ได้เสมอนะคะ


หากคุณต้องการพัฒนาทักษะด้านจิตวิทยา เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว ความสัมพันธ์และในชีวิตประจำวัน สามารถดูคอร์สเรียนจาก iSTRONG ได้ที่นี่

 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS


สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง : ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. กรกฎาคม 2548. ทักษะการสื่อสารในเวชปฏิบัติ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 354 – 365.

Komentar


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page