นักจิตวิทยาเตือน! เตรียมรับ 4 ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพจิต ในโลกดิจิทัล
สังคมโลกในปัจจุบันนี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นโลกดิจิทัลเต็มรูปแบบ เพราะแทบจะทุกขณะของการใช้ชีวิตเราต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวก ตั้งแต่ปลุกให้ตื่น สั่งอาหาร จ่ายเงิน เดินทาง หรือแม้แต่การรักษาพยาบาล นั่นทำให้โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนบ่อยครั้งเราก็ตามไม่ทัน ทีนี้พอโลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มันก็ไปกระทบกับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี จนสุดท้ายก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) เรื่อง “Mental Health Atlas 2020” พบว่า ผู้คนทั่วโลกต่างเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการแพร่ระบาดของโรค Covid – 19 ซึ่งสวนทางกับการให้บริการด้านสุขภาพจิตที่ยังเข้าถึงยาก ไม่ครอบคลุม และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่งานศึกษาทางจิตวิทยา ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เตือนให้เรารับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในโลกดิจิทัล 4 ปัจจัย ดังนี้ค่ะ
1. ต้องพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อแข่งกับหุ่นยนต์
ในโลกดิจิทัลนั้น มีแนวโน้มสูงอย่างมากที่งานหลายประเภทจะมีการเปลี่ยนจากแรงงานมนุษย์ เป็นการใช้หุ่นยนต์ และ AI แทน เช่น งานควบคุมเครื่องจักร งานด้านการคำนวณ งานด้านการติดต่อสื่อสาร เพราะศักยภาพของแรงงานมนุษย์มีอยู่จำกัด และค่าแรงของมนุษย์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุงาน และความเชี่ยวชาญ ในขณะที่หุ่นยนต์ และ AI สามารถอัปเดตได้ตลอด มีอายุการใช้งานนานมาก อีกทั้งเมื่อเทียบค่าบำรุงรักษากับค่าแรงที่ต้องจ่ายให้กับคน ๆ หนึ่งจนเกษียณแล้ว คุ้มค่ากว่ามาก นั่นจึงจำเป็นอย่างมากที่เราทุกคนต้องหมั่นพัฒนาตนเองทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ ศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาความรู้หรือทักษะเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI มาแทนไม่ได้อย่างแน่นอน เช่น งานด้านจิตวิเคราะห์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ เป็นต้น
2. เกิดความรู้สึกเกลียดวันจันทร์
จริง ๆ แล้วเราเกิดความรู้สึกเกลียดทุกวันที่ทำงาน แต่ความรู้สึกที่ว่ารุนแรงมากในวันจันทร์ นักจิตวิทยาให้เหตุผลว่า เพราะเป็นแรกของการเริ่มงานในสัปดาห์ นั่นก็เพราะสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ค่าเงินผันผวน ความมั่นคงทางการเงินเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ จึงทำให้เราต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาให้พอกับรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังมีความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และทางสังคมสูง ทำให้ทุกคนต้องปากกัด ตีนถีบ แข่งขันกันเพื่อให้อยู่รอดในสังคม จนทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า Gig Economy คือ ฟรีแลนซ์ครองตลาดแรงงาน เนื่องจากค่าแรงจากงานหลักไม่เพียงพอ คนวัยทำงานจึงต้องหางานเสริมเข้ามาด้วยการเป็นฟรีแลนซ์ ส่งผลให้คนวัยทำงานเหนื่อยล้า ท้อแท้ สิ้นหวัง แบกรับภาระ ความเครียด มีความกดดันสูง และมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา
3. โหยหาความสุขในการใช้ชีวิต
จากความเครียดในการทำงานหนัก และแบ่งรับภาระหลายอย่างจากข้อที่ 2 ส่งผลให้คนวัยทำงานหลาย ๆ คนแสดงหาความสมดุลในชีวิต ที่เรียกว่า “Work Life Balance” จึงมีความคาดหวังต่อที่ทำงานสูงว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีการประเมินผลงานตามความเป็นจริง และยุติธรรม เมื่อที่ทำงานไม่ตอบสนองต่อความคาดหวัง ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงาน ลาออกจากงานสูง ซึ่งส่งผลให้ที่ทำงานตอบรับกลับมาใน 2 รูปแบบ คือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์องค์กรเพื่อรักษาทรัพยากรบุคคล คือคนทำงานเอาไว้ หรือเลือกใช้งานหุ่นยนต์ และ AI แทน เพราะเรื่องน้อยกว่า ไม่งอแง สามารถทำงานหนักได้ 24 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายระยะยาวถูกกว่า แล้วก็จะเกิดปัญหาที่คนวัยทำงานต้องต่อสู้แย่งงานกับหุ่นยนต์ และ AI อย่างเช่นในข้อ 1 และเกิดความเครียด ความเสี่ยงต่อการตกงานตามมา
4. ความต้องการความมั่นคงทางด้านรายได้และสวัสดิการ
ด้วยภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเหลื่อมล้ำสูงในปัจจุบัน ส่งผลให้คนวัยทำงานเกิดความกลัว ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องรายได้ และความเป็นอยู่ของตนเอง และด้วยความที่โลกปัจจุบันเป็นโลกดิจิทัล จึงทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวสารจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว นั่นจึงมักเกิดการเปลี่ยนเทียบเรื่องรายได้ สวัสดิการ และคุณภาพชีวิตของเรากับคนวัยทำงานในต่างประเทศ ดังเช่นประเทศฟินแลนด์ที่ได้มีโครงการ Pilot Project ในการทดลองจ่ายเงินเดือนให้กับคนจนและคนว่างงานเป็นเวลา 2 ปี ปรากฏว่าทำให้คนในประเทศมีความมั่นใจในคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองมากขึ้น ประเทศมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมน้อยลง จึงทำให้เกิดความคาดหวังต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงทางรายได้ รวมถึงพัฒนาสวัสดิการที่ถ้วนหน้า และมีคุณภาพ เพื่อลดความวิตกกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก
สำหรับประเทศไทยนั้น สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute ; IFI) ได้ทำการศึกษาแนวโน้มอนาคตของประเทศไทย ร่วมกับ Future Tales LAB by MQDC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาวิจัยด้านอนาคตศาสตร์ โดยจัดทำรายงานวิจัยการคาดการณ์อนาคตประเทศไทยปี พ.ศ.2573 พบว่า 4 ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจิตข้างต้น คือ (1) ต้องพัฒนาทักษะการทำงานเพื่อแข่งกับหุ่นยนต์ (2) เกิดความรู้สึกเกลียดวันจันทร์ (3) โหยหาความสุขในการใช้ชีวิต และ (4) ความต้องการความมั่นคงทางด้านรายได้และสวัสดิการ จะทำให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น นั่นหมายความว่า เรามีเวลาอีกเพียงแค่ 8 ปี ที่จะรับมือกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตดังกล่าว ในการดูแลสภาพจิตใจของเราให้เข้มแข็งมากพอที่สู้ชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ
iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่
iSTRONG Mental Health
ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร
บริการของเรา
สำหรับบุคคลทั่วไป
• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa
• คอร์สฝึกอบรม การเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา : http://bit.ly/3RQfQwS
สำหรับองค์กร
• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8
โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong
บทความแนะนำ :
อ้างอิง :
1. เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์. (27 กรกฎาคม 2020). พรมแดนความรู้ในโลกยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2563. หน้า 9.
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (20 กรกฎาคม 2565). อนาคตควรรู้ โลกการทำงานจะเปลี่ยนไปแค่ไหนและจะมีอะไรเข้ามาเปลี่ยนชีวิตการทำงานของเราบ้าง. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2565 จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/infographic/7612-650720general2.html
3. Natetida Bunnag. (15 ตุลาคม 2021). รายงานของ WHO ระบุว่า แม้ประเด็นสุขภาพจิตได้รับความสนใจมากขึ้น แต่มีการใช้เงินลงทุนเฉลี่ยแค่ 2% จากรายจ่ายด้านสุขภาพของรัฐ. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2565 จาก https://www.sdgmove.com/2021/10/15/who-mental-atlas-2020-shortfall-in-investment/
ประวัติผู้เขียน : จันทมา ช่างสลัก คุณแม่ของลูก 1 คน แมว 1 ตัว ที่พยายามใช้ความรู้ทางจิตวิทยาที่ร่ำเรียนมาและประสบการณ์การทำงานด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก มาสร้างความสุขในการใช้ชีวิต ดูแลครอบครัว และการทำงาน รวมถึงมีความสุขกับการได้เห็นว่าบทความจิตวิทยาที่เขียนไปมีประโยชน์กับคนอ่าน
コメント