top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

3 เทคนิคการเลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตดี ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา


เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนมีความตั้งใจที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดี ดังนั้น วิธีการเลี้ยงลูกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ การให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูก ไม่เพียงแต่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวคุณเองกับลูกแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของเขา ส่งผลต่อวิธีการตัดสินใจ และการดำเนินชีวิตของเขาในอนาคตอีกด้วย สังคมที่ดี เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า ครอบครัวนี่แหละคะ


วันนี้มีบทความจิตวิทยา เขียนโดย ดร. Marty Nemko, a career and personal coach เกี่ยวกับ หลักการในการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กดีและมีสุขภาพจิตที่ดี 3 ข้อ มาฝากกันค่ะ


1. เล่นกับลูก และ สร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ร่วมกัน (positive)


เราควรสร้างสิ่งแวดล้อมในแนวบวกให้กับลูก ตัวของพ่อแม่เองควรจะมีความอ่อนโยน ใจดี ไม่สร้างกฎหรือข้อบังคับมากมายจนเกินไป มีเหตุมีผล สนับสนุนลูกด้วยคำชื่นชน และตำหนิลูกด้วยถ้อยคำให้น้อยที่สุด ที่สำคัญไม่ควรลงโทษลูก โดยไม่มีเหตุผล เด็ดขาด!


ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูยาก ถ้าหากเราเหนื่อยจากการทำงาน มาเจอกับลูกที่ซนและดื้อ และดูเหมือนจะไม่เชื่อในสิ่งที่เราพูดง่ายๆ แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น การมีกิจกรรมที่ทำร่วมกับลูก เช่น อ่านหนังสือให้ลูกฟัง เล่นกับลูก ฟังเพลงกับลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรหาเวลาทำ


เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี

2. ใช้เหตุผล แทนการสั่งให้ทำตาม


การให้เหตุผลกับลูก หรือกระตุ้นให้ลูกคิด เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่เราจะบอกให้ลูกทำอะไรสักอย่าง และเรากำลังยุ่งอยู่ การที่จะพูดว่า “ก็เพราะว่า พ่อ/แม่ บอกให้ทำ”​ เป็นเรื่องที่ง่าย แต่การให้เหตุผลกับลูก เป็นการสร้างตัวอย่างให้ลูกเป็นคนมีเหตุมีผล


นอกจากนี้ การกระตุ้นให้ลูกคิดหาเหตุผล ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ​เช่น หากลูกไม่อยากทำการบ้าน ไม่คิดว่าสิ่งที่เขาต้องทำเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ การตั้งคำถามว่า “ไหนลูกลองหาเหตุผลว่า ข้อดีของการที่เราทำมันคืออะไร” และถ้าหากลูกมองไม่เห็นข้อดีของสิ่งที่ทำเลย เราอาจจะช่วยให้เหตุผล สั้นๆ เช่น “การทำสิ่งนี้มันก็ช่วยสอนให้เรามีวินัยในการทำในสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จ และผลที่ได้คือ เราก็จะได้เกรดที่ดีถ้าเราทำมันได้ดี” เป็นต้น


อีกหนึ่งตัวอย่าง เช่น ถ้ามีเพื่อนมาเล่นของเล่นของลูกเรา แล้วเขาอยากได้คืน แล้วลูกก็ตะโกนออกไปว่า “นั่นมันของเล่นของเรา เราจะเอาคืน” เราอาจจะพูดกับลูกว่า “มันก็จริงว่านั่นเป็นของเล่นของหนู แต่ลูกคิดว่าจะดีไหมนะ ถ้าเราแบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่นบ้าง อย่างน้อยก็แค่ตอนนี้?”


เราควรใช้เหตุผลกับลูกในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การเลือกดูหนังการเมือง เช่น ในระหว่างดูหนังด้วยกัน แล้วมีเหตุการณ์บางอย่างที่อยู่ในหนัง แทนที่เราจะใส่ความคิดเห็นของเราไปในทันที เราอาจจะถามลูกก่อนว่า “ลูกคิดยังไง”​เป็นต้น





เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี

3. วิธีอื่นๆ


หากเราพยายามสร้างสิ่งแวดล้อม สายสัมพันธ์ที่ดี และให้เหตุผลกับลูก แต่ลูกบางคน หรือบางสถานการณ์ก็ยังไม่เชื่อฟัง นักจิตวิทยามีวิธีการอื่นๆ ดังต่อไปนี้


3.1 เพิกเฉย

หากเราพยายามให้เหตุผลแล้ว ไม่เป็นผลสำเร็จ เมื่อใดก็ตามที่ลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การเพิกเฉยก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่พ่อกับแม่สามารถใช้ได้ เพราะสิ่งที่ลูกทำบ่อยครั้ง ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจกับเรา


3.2 ทำหน้าดุ

บ่อยครั้งที่เราไม่ต้องพูดอะไร แต่ลูกของเราก็จะรู้ว่า เราไม่โอเคกับพฤติกรรมที่เขากำลังแสดงออก


3.3 อธิบายสั้นๆ

การสื่อสารยังเป็นสิ่งที่สำคัญ การหาโอกาสในการพูดคุยในช่วงเวลาอาหารค่ำ เป็นประโยชน์มากๆ


3.4. สอนให้ลูกรู้สึกผิด

ตัวอย่างเช่น ถ้าถึงเวลากินข้าว แล้วลูกไม่ยอมมากินข้าว เราอาจจะพูดว่า “ลูกโตแล้วนะคะ แล้วลูกก็น่าจะรู้ว่า เวลากินข้าวเป็นเวลาที่สำคัญ แม่รู้สึกผิดหวังที่เราต้องต่อรองเรื่องนี้กันอีก” หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่ลูกไม่เก็บของเล่น เราอาจจะพูดว่า “ตอนที่แม่เข้าไปในห้องนั่งเล่น แม่เห็นของเล่นวางไว้เต็มพื้น แม่เกือบที่จะเหยียบแล้วหกล้ม แม่จะบังคับให้ลูกเก็บของเล่นก็ได้ แต่แม่เห็นว่าลูกโตแล้ว ลูกควรที่จะรู้หน้าที่ของตัวเอง”


3.5. รางวัลและการลงโทษ

เด็กบางคนการใช้เหตุผลอาจไม่ได้รับผลที่น่าพอใจเท่าที่ควร การให้รางวัลเมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้อง หรือลงโทษ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เขาทำสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตราย ต่อตนเองหรือผู้อื่น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้





และหากคุณต้องการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เข้าอกเข้าใจตนเองและผู้คนมากขึ้น เพื่อปรับใช้ในการทำงาน ครอบครัว และในชีวิตประจำวัน คุณสามารถสมัครเรียน "หลักสูตรนักให้คำปรึกษากับนักจิตวิทยา" จาก iSTRONG ได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

.

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page