เช็ค 25 อาการเสี่ยงโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าและภาวะซึมเศร้านั้นแตกต่างกัน คนทั่วไปมีโอกาสที่จะเกิด "ภาวะซึมเศร้า" ได้บางโอกาส เช่น ช่วงที่กำลังมีปัญหาเรื่องงาน ช่วงที่ปัญหารุมเร้าหลายอย่าง ช่วงหลังเลิกกับแฟน ช่วงหลังคลอดลูก ฯลฯ แต่คำว่า "โรค" นั้น มีลักษณะที่ถาวรกว่า และหากคุณสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายซึมเศร้า แนะนำให้ลองตรวจสอบอาการเบื้องต้นก่อน
คนไทยกำลังมีอัตราการเกิดภาวะและโรคซึมเศร้ามากขึ้นทุกที อันเนื่องมาจากความกดดันทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะคนที่อาศัยในเมืองใหญ่
"ฉันเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?" คือคำถามที่หลาย ๆ คนกำลังสงสัยตัวเอง
25 อาการต่อไปนี้ มีไว้เพื่อสังเกตตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน และเพื่อหาทางออกได้ทันท่วงที หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนรอบตัวมีอาการเหล่านี้ อย่างน้อย 3-5 อาการ ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบหาทางออกก่อนจะสายเกินไป
1. เศร้า หรือรู้สึกไม่มีความสุขเป็นเวลานาน หรือบ่อยครั้ง
2. มักพูดเรื่องลบ ๆ กับคนอื่น หรือมักโพสเรื่องลบ ๆ ใช้คำในทางลบในโซเชียลมีเดีย
3. รู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด ใครชวนทำอะไรก็ไม่อยากทำ
4. รู้สึกสิ้นหวังกับอนาคต ทุกอย่างมืดมน มองไม่เห็นว่าอะไรจะดีขึ้น วิตกกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ชอบมองอนาคตในทางลบ
5. ไม่มีสมาธิ จดจ่อกับงานได้ยากขึ้น
6. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีอะไรดี ไม่สมควรได้รับความรัก
7. รู้สึกผิดแบบไม่สมเหตุสมผล มักโทษตัวเอง
8. ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
9. หมดไฟ หรือหมดพลังใจ ไม่อยากทำอะไร
10. ไม่กล้าตัดสินใจ ลังเลแม้กับเรื่องเล็กน้อย
11. เริ่มนึกถึง และพูดถึงเรื่องความตายหรือการทำร้ายตัวเอง
12. ลงมือทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาย
13. เหนื่อยล้า หมดแรง ไม่มีพลัง
14. อยู่ดี ๆ ก็อยากร้องไห้ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล
15. มีปัญหาการนอนหลับ เช่น นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นในเวลาที่ไม่ควรตื่น
16. เจ็บหรือปวดที่อวัยวะบางส่วนโดยไม่ทราบสาเหตุ
17. เฉื่อย คิดช้าลง พูดช้าลง หรือว้าวุ่นใจผิดปกติ
18. พฤติกรรมการกินหรือความอยากอาหารผิดปกติไปจากเดิม ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
19. ความต้องการทางเพศลดน้อยลง
20. วงจรประจำเดือนผิดปกติไปจากเดิม
21. น้ำหนักเพิ่มหรือลดแบบผิดปกติ
22. มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
23. ผลงานตกต่ำลง ทำงานได้แย่ลง
24. ปลีกตัว หายหน้าจากกลุ่มเพื่อน
25. เงียบ ออกห่างจากสังคม สุงสิงกับคนอื่นน้อยลง
หากคุณสงสัยว่าตัวเองหรือคนรอบตัวกำลังเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า แนะนำให้พบจิตแพทย์ หรือพูดคุยกับนักจิตบำบัดเพื่อวินิจฉัยอาการเบื้องต้น
อย่างไรก็ตาม แม้คุณกำลังรักษาโดยการรับประทานยา การจะบำบัดให้หายจากโรคซึมเศร้า ต้องทำพฤติกรรมและจิตบำบัดควบคู่ไปด้วย รวมถึงคุณต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ในการรับสื่อที่ให้กำลังใจ ฝึกคิดทางบวก และทำกิจวัตรประจำวันที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงขึ้น
ที่ istrong.co/service มีบริการพูดคุยทางโทรศัพท์กับนักจิตวิทยาคลีนิคและนักจิตบำบัดที่มีใบประกอบวิชาชีพ หากต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการพูดคุย คลิกที่นี่
____________________________________________________
iStrong ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว
บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง
สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)
รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย
Contact : https://www.istrong.co/service
Comments