top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

10 ประโยชน์ของการฝึกอบรมทักษะทางจิตวิทยาให้กับพนักงานในองค์กร


บ่อยครั้งเวลาที่ให้นึกถึงปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จบรรลุผลตามเป้าหมาย คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงทักษะการบริหารจัดการเวลา การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ การเป็นผู้นำ วิธีการแก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีม หรือทักษะการตัดสินใจ แต่มักจะมองข้ามปัจจัยทางด้านจิตใจไปทั้งที่มันมีบทบาทสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากเพราะมันมีส่วนสำคัญต่อบรรยากาศในการทำงานและประสิทธิภาพของคนทำงาน


ลองนึกถึงช่วงเวลาที่องค์กรต้องการให้พนักงานเค้นศักยภาพของตัวเองออกมาเพื่อให้งานมันออกมาดี พนักงานก็มักจะเกิดความเครียด วิตกกังวล อารมณ์ไม่สดชื่น หรือเกิดอาการ burnout ซึ่งพนักงานที่มีสภาวะเหล่านั้นอาจส่งผลกระทบแตกต่างกันไป เช่น มีปัญหาในการตัดสินใจ มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ตั้งสมาธิได้ยาก คิดอะไรไม่ค่อยออก หรือมีปัญหากับการนำเอาทักษะของตัวเองมาปรับใช้กับงาน


ซึ่งมันอาจจะกลายมาเป็นอุปสรรคในการประสบความสำเร็จขององค์กร ยกตัวอย่างของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าประสิทธิภาพของคนทำงานลดลงไปมากโดยมีสาเหตุมาจากความเครียดในที่ทำงาน ความเหนื่อยล้าของพนักงาน และการที่พนักงานไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความเกี่ยวโยงอะไรกับองค์กร


การฝึกอบรมทักษะทางจิตวิทยาให้กับพนักงานในองค์กรมีประโยชน์อย่างไร?


1. ช่วยเพิ่มการตระหนักรู้และการมีทัศนคติที่ดีทั้งในด้านส่วนตัวและด้านการทำงาน

การตระหนักรู้จะช่วยให้พนักงานสามารถปรับจูนโลกภายในและภายนอกได้ดีขึ้น และจะช่วยให้สามารถระบุหรือโฟกัสแต่ด้านที่เกี่ยวข้องซึ่งมันมีผลต่อผลงานและสุขภาวะของคนในองค์กร 


2. ช่วยให้สามารถสังเกตเห็นและจัดการกับอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้

การสังเกตเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นคือก้าวแรกที่จะพาไปสู่การจัดการกับอารมณ์ หากไม่สามารถสังเกตเห็นอารมณ์ก็จะทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการยังไง ซึ่งการจัดการกับอารมณ์จะต้องอาศัยความสามารถในการหยิบเอาทักษะต่าง ๆ มาใช้เพื่อลดความเข้มข้นของอารมณ์ลงมาอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมพฤติกรรมการแสดงออกได้ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น คนที่โกรธหรือปรี๊ดแตกไปมากมักจะคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้จนทำให้แสดงพฤติกรรมแย่ ๆ ออกไป หากสามารถสังเกตเห็นและรู้วิธีเอาอารมณ์ตัวเองลงได้ก็จะควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น


3. ช่วยเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์

ซึ่งคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์มักจะเป็นคนที่มีความเข้าอกเข้าใจ มีการปรับตัวยืดหยุ่นได้ดี ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และเป็นคนที่มีแรงจูงใจ


4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานภายใต้ความกดดัน

คนที่ทำงานภายใต้ความกดดันได้มักจะสามารถตีโจทย์สถานการณ์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถขับเคลื่อนทิศทางการทำงานได้แม้ว่าจะมีความกดดันเกิดขึ้น


5. ช่วยให้รับมือกับความเครียดและวิตกกังวลได้ดีขึ้น

ในการรับมือกับความเครียดและวิตกกังวลนั้นจะต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าอะไรที่ทำให้ตัวเองมีอารมณ์เหล่านี้ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นมันส่งผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งความสามารถในการรับมือกับความเครียดและวิตกกังวลไม่เพียงช่วยลดอารมณ์เหล่านั้นลงได้แต่จะช่วยลดพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากอารมณ์เหล่านั้นด้วย 


6. ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดีขึ้น

การมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดีขึ้นจะช่วยให้สามารถคงความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทางบวกกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในที่ทำงานจะช่วยให้พนักงานสามารถปรับตัวต่อปัญหาหรือสถานการณ์ยาก ๆ ไปได้

 

7. ช่วยเพิ่มการเติบโตภายใน (Personal growth)

ซึ่งมันเป็นกระบวนการที่แต่ละคนนำเอาทักษะที่เคยเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยโฟกัสอยู่ที่ปัจจุบันว่าจะทำยังไงให้ตัวเองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสุขภาวะที่ดี


8. ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับตัวต่ออุปสรรค

การฝึกฝนทักษะทางจิตวิทยาจะช่วยให้มีทักษะเพิ่มขึ้นและรู้ว่าจะนำเอาทักษะดังกล่าวมาใช้อย่างไร ยิ่งถ้าเคยใช้ทักษะและผ่านอุปสรรคไปได้ก็จะยิ่งทำให้สามารถปรับตัวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นในครั้งถัดไปได้ดีขึ้น


9.  ช่วยให้ performance ของพนักงานมีความยั่งยืน

เพราะสิ่งสุดท้ายที่มักไม่อยากให้เกิดขึ้นก็คือ performance ที่มีความผันผวนขึ้น ๆ ลง ๆ การฝึกอบรมให้พนักงานมีทักษะทางจิตวิทยาจะช่วยให้พนักงานคงประสิทธิภาพและผลงานได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น


10. ช่วยเพิ่มการควบคุมกำกับตัวเอง (self-regulation)

ในชีวิตคนเรานั้นมีทั้งสิ่งที่ควบคุมได้และไม่ได้ การควบคุมกำกับตัวเองจะช่วยให้สามารถจัดการกับพฤติกรรม ความคิด อารมณ์ โดยมีความมั่นใจว่าตัวเองจะสามารถควบคุมกำกับสิ่งเหล่านั้นได้


แม้ว่าทักษะในการปฏิบัติงานของพนักงานจะมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร แต่ต้องไม่ลืมว่าพนักงานทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจ และส่วนมากแล้วทุกคนก็ยังคงต้องร่วมงานกับมนุษย์ เช่น หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้าหรือผู้รับบริการ ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่าการฝึกอบรมให้พนักงานมีทักษะทางจิตวิทยายังคงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและไม่ถือว่าล้าสมัยแม้ AI จะเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ  และหากคุณเป็นองค์กรที่ต้องการดูแลสุขภาพใจหรือทักษะด้านจิตวิทยาของพนักงานเพื่อสร้างความสุขในการทำงานให้มากขึ้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ >> บริการสำหรับองค์กร


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa  

  • คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS 

สำหรับองค์กร

โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

[1] Psychology in the Workplace: 10 Benefits of Psychological Training. Retrieved from https://www.linkedin.com/pulse/psychology-workplace-10-benefits-psychological-

 

ประวัติผู้เขียน

นิลุบล สุขวณิช (เฟิร์น) มีประสบการณ์ทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นวิทยากรเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต/การพัฒนาตนเองให้แก่นักศึกษาเป็นเวลา 11 ปี ปัจจุบันเป็นแม่บ้านในอเมริกาที่มีความสนใจเกี่ยวกับ childhood trauma และยังคงมีความฝันที่จะสื่อสารกับสังคมให้เกิดการตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต 

Nilubon Sukawanich (Fern) has work experiences as a counseling psychologist and speaker in university for 11 years. Currently occupation is a housewife in USA who keep on learning about childhood trauma and want to communicate to people about mental health problems awareness. 


Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page