top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

4 วิธีรับมือหากคุณต้องตกงานจากวิกฤต COVID-19


COVID-19.

เมื่อคุณต้องตกงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิด ความเครียด อาการซึมเศร้า เข้ามารุมเร้าจิตใจ อย่างไรก็ตาม กวางอยากให้คุณรับรู้ว่า ไม่ใช่แค่คุณเพียงคนเดียวที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์นี้ค่ะ แต่ยังมีคนอีกมากมายทั่วโลกกว่า 25 ล้านคนที่ต้องตกงาน ซึ่งข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) เผยข้อมูลว่า ประชาชนทั่วโลกจะต้องตกงานราว 5.3-24.7 ล้านตำแหน่ง จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และมีคนมากมายที่ต้อง Work From Home ที่บ้าน สามารถอ่านบทความ 7 วิธี Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพ ตามคำแนะนำของนักจิตวิทยา ได้ตามลิ้งค์นี้เลยค่ะ


ทำอย่างไรเมื่อเครียดจากการตกงานจากวิกฤต COVID-19?

เนื่องจากภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่คุณต้องแบกรับไว้ และ จากการระบาดของโรค COVID-19 เป็นอุปสรรคในการทำงาน และ การออกไปนอกบ้าน จึงทำให้ภาวะความเครียดเพิ่มขึ้น จากเหตุการณ์สิ่งที่ต้องเยียวยาเป็นอย่างแรกเลยก็คือด้านจิตใจค่ะ สามารถปรึกษาได้จากผู้เชี่ยวชาญได้แก่ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจ เพื่อปลุกพลังใจให้ลุกขึ้นมาสู้ต่อไปอีกครั้งค่ะ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่ https://www.istrong.co/service และ มาทำความรู้จักกับวิธีรับมือกับการตกงานในหัวข้อถัดไปกันค่ะ



Man sitting with his laptop, stressed out.

4 วิธีรับมือหากคุณต้องตกงานจากวิกฤต COVID-19

1. การลงทะเบียนใช้สิทธิกรณีว่างงานจากสถานการณ์ COVID-19

ในช่วงที่คนได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 ก็ได้มีหลายหน่วยงานออกมาให้ความช่วยเหลือในเรื่องของรายได้ที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็นจากประกันสังคม หรือ เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ที่เปิดให้ผู้ที่มีผลกระทบได้ลงทะเบียน เพื่อได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล สิ่งนี้จะช่วยเยียวยา ความเครียด ของคุณลงได้ช่วงหนึ่งก่อนหาหนทางแก้ไขต่อไปค่ะ

2. การพูดคุยและระบายความรู้สึกกับคนรอบข้าง

การได้พูดคุย และ ระบายความรู้สึกที่คุณมีออกมาให้กับผู้คนได้รับรู้บ้าง จะช่วยแบ่งเบาความรู้สึกเครียด ความกังวล ลงได้ซึ่งคุณจะรู้สึกดีขึ้น นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ เพราะคุณไม่ได้เผชิญหน้าเพียงคนเดียวสิ่งนี้ จึงทำให้มนุษย์เชื่อมถึงกันและเข้าใจความรู้สึกกันมากขึ้น



Woman smiling at her phone.

3. การติดตามข้อมูลข่าวสารที่ดีต่อใจและไม่ขาดการติดต่อจากผู้คน

เพื่อไม่ให้สถานการณ์สร้าง ความเครียด จนเกินไปคุณควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นระยะ ซึ่งควรเลือกข่าวสารที่คุณเสพด้วยนะคะ เพราะทุกวันนี้มีข่าวสารออกมามากมายหลายข่าวเป็นแง่ลบ ข่าวปลอม ซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจ ทำให้คุณเกิดความเครียดได้ ดังนั้น ควรเสพข่าวที่มีข้อเท็จจริง และ ทางออกที่ดีให้แก่คุณจะดีกว่าค่ะ และที่สำคัญ คือ อย่าขาดการติดต่อนะคะ จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และเมื่อต้องการความช่วยเหลือกระทันหัน จะได้รับการช่วยเหลือได้ทันท่วงทีค่ะ

4. ใช้ช่วงเวลานี้สร้างงานที่คุณสามารถ Work From Home ได้จากความสามารถของคุณ

วิกฤตหรือโอกาส ใครจะไปรู้ อย่าเพิ่งด่วนตัดสินตัวเอง และ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือเลวร้าย เพราะ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไป อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงที่ดีรอคุณอยู่ก็ได้ ดังนั้น จงใช้ความสามารถที่คุณมีดึงศักยภาพนั้นออกมาสร้างคุณค่า และ รายได้จากอาชีพที่สามารถ Work From Home ได้ค่ะ


Woman smiling.

การเตรียมจิตใจให้เข้มแข็งไว้จะช่วยให้คุณมีกำลังใจในการไปต่อ


อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนทำให้เราต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน ดังนั้นจงทำจิตใจของคุณให้เข้มแข็ง ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งและพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อตัวคุณเองและเพื่อคนที่คุณรัก และอย่าลืมว่า ในเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่คุณเพียงคนเดียวที่กำลังเผชิญอยู่แต่เป็นคนทั่วโลกและคนรอบข้าง อย่างไรอย่าลืมพูดคุย และ ช่วยเหลือกันบ้างนะคะ เผื่อว่าสถานการณ์แบบนี้จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและรอยยิ้มกลับมาเป็นการตอบแทนค่ะ



สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page