top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

8 วิธีเอาชนะโรคซึมเศร้า เข้าสู่โหมดแห่งความสุข


เอาชนะโรคซึมเศร้า

ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามีจำนวนมากขึ้นทุกวันๆ และด้วยข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่ถูกเผยแพร่เพื่อให้ผู้คนได้ตรวจสอบสอบสุขภาพจิตของตัวเอง ทำให้เราสามารถประเมินตัวเองเบื้องต้นได้ว่ากำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือไม่ อาการของโรคซึมเศร้าได้แก่ ไม่อยากเข้าสังคม รู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิต รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา และมากไปถึงมีความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองกำลังเริ่มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า แพรมี 8 วิธีที่จะช่วยต่อสู้กับโรคนี้มาฝากกันค่ะ



1. รู้เท่าทันความคิดลบที่เกิดขึ้น

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มักจะรู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ไม่ดีพอ และจะมีความคิดลบนี้เกิดขึ้นกับตัวเองอยู่เสมอๆ และเชื่อว่าเป็นความจริงแบบนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามักมี self-esteem ต่ำ วิธีการแก้ไขก็คือ มีสติ รู้เท่าทันความรู้สึก และความคิดลบที่เกิดขึ้น เมื่อใดก็ตามเมื่อความคิดลบนี้เกิดขึ้น ให้บอกตัวเองว่า มันไม่ใช่ความจริง และลงมือทำชีวิตตัวเองให้ดีขึ้น เรียนรู้ที่จะรักตัวเอง และบอกตัวเองว่า เราจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้





2. ถามตัวเองว่าเรากำลังโกรธอะไรอยู่

คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนมาก ใช้ความโกรธเป็นตัวช่วยปกปิดความรู้สึกอื่นๆ ในจิตใจ พวกเขามักจะแสดงอารมณ์โกรธกับคนรอบๆ ตัว ซึ่งทำให้พวกเขารู้สึกไม่ชอบตัวเองอยู่เสมอ เนื่องจากเราถูกสอนว่า ความโกรธเป็นสิ่งที่ไม่ดี และเราไม่ควรทะเลาะกับคนอื่น ดังนั้นเราจึงควรฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกโกรธให้เรา ถามตัวเองว่า เรากำลังโกรธอะไรอยู่ และทำไมต้องเป็นเช่นนั้น การตั้งคำถามนี้กับตัวเองจะทำให้เราใช้เหตุและผลมากขึ้น



3. ออกกำลังกาย

มีงานวิจัยจำนวนมากเปิดเผยว่า การออกกำลังกายช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากเมื่อเราออกำลังกาย ร่างกายจะหลังสาร Endorphin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ที่จะมาช่วยปรับอารมณ์ให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ ดังนั้น ให้เวลากับตัวเองในการออกกำลังอายอย่างน้อยวัน ละ 15 นาที ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็วในหมู่บ้าน หรือ ทำกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจของเราก็ได้



4. อย่าอยู่คนเดียว

เมื่อเรากำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า เรามักต้องการที่จะอยู่คนเดียว เรารู้สึกอับอายในการที่จะบอกเล่าปัญหาของเราให้คนอื่นฟัง จงจำไว้ว่า การพูดถึงปัญหาของตัวเองกับคนท่ีรักเรา ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย และคนที่รักเราจะยินดีที่จะรับฟังและช่วยเหลือเราเสมอ ดังนั้น อย่าคิดว่าตัวเราเองมีปัญหาอยู่คนเดียวในโลก และแยกตัวเองออกจากสังคม



5. ทำในสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข

แน่นอนโรคซึมเศร้า ทำให้เรารู้สึกหมดพลัง และไม่อยากทำอะไรเลย สิ่งที่เคยทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขก็ไม่ทำให้เรารู้สึกดีเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป แต่เราควรที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่าง อย่าให้โรคซึมเศร้าเอาชนะ และทำลายชีวิตที่ดีของเรา เราสามารถเริ่มต้นด้วยการทำในสิ่งที่เราชอบ ไม่ว่าจะเป็น ทำขนม วาดภาพ หรือ ทำสวนและเชื่อมั่นว่า ทุกอย่างจะดีขึ้น



6. ดูรายการ/หนังตลก

คำแนะนำนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องง่ายที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลับมามีความสุขอีกครั้งได้ โดยการตระหนักได้ว่า สมองของคุณ และตัวของคุณสามารถกลับมายิ้มและหัวเราะได้อีกครั้งกับเรื่องตลกง่ายๆ



7. อย่าลงโทษตัวเองเมื่อรู้สึกแย่

การต่อสู้กับโรคซึมเศร้า คือ การต่อสู้กับความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นกับคุณ​ หลายๆ ครั้งคุณจะพบว่า ไม่ว่าคุณจะพยายามมากแค่ไหน คุณก็ยังรู้สึกแย่อยู่ แต่จำไว้ว่าการรักษาต้องใช้เวลา และคุณจะหายกลับไปมีความสุขได้อย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อรู้สึกแย่ ก็ให้รู้ว่ากำลังรู้สึกแย่ อย่าลงโทษตัวเอง ว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือแยกตัวเองออกจากสังคม เรียนรู้ที่จะรักและอ่อนโยนกับตัวเอง ไม่มีอะไรที่จะอยู่อย่างนั้นไปถาวร ทุกอย่างกำลังจะดีขึ้น




8. พบนักจิตบำบัด

การขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ อย่างเช่น นักจิตบำบัด เป็นเรื่องที่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากพวกเขาจะถูกฝึกให้รับฟังปัญหาของเราอย่างมืออาชีพ เพื่อให้เรารู้ถึงสาเหตุและที่มาของปัญหา แนะนำวิธีจัดการกับมัน รวมถึงให้ยาเพื่อช่วยรักษาอาการของเราได้อีกด้วย



จากบทความจิตวิทยาที่ได้อ่านไป แพรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณจะสามารถนำวิธีการไปปรับประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า และกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้ง นะคะ

 

iStrong.co ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและครอบครัว


บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบรับรอง

สามารถเลือกคุยทางโทรศัพท์หรือการพูดคุยแบบส่วนตัว (Private Counseling)


และคอร์สออนไลน์ | Classroom Workshop

รวมถึงบทความจิตวิทยาอีกมากมาย


Comentarios


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page