top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

5 เทคนิคปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ


นานมาแล้วกวางเคยอ่านหนังสือที่ชื่อว่า The last lecture ซึ่งถูกเขียนโดย แรนดี้ เพาช์ และเจฟฟรี่ย์ ชาส์โลว์ ซึ่งเป็นเรื่องราวในการทำความฝันในวัยเด็กให้เป็นจริงของ แรนดี้ เพาช์ ก่อนอื่นกวางต้องขอเกริ่นถึงเรื่องราวของแรนดี้ เพาช์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลอน หนึ่งในจินตวิศวกรของวอลต์ ดิสนีย์ สวนสนุกอันโด่งดัง ซึ่งเกิดจากความฝันและแรงบันดาลใจในวัยเด็กของเธอนั่นเอง



คุณสามารถจำเรื่องราวในอดีต ตอนที่คุณอายุ 3 - 5 ขวบได้มากน้อยแค่ไหน ?


หากกวางจะถามคุณว่าคุณสามารถจำเรื่องราวในอดีต ตอนที่คุณอายุ 3 - 5 ขวบได้มากน้อยแค่ไหน คุณผู้อ่านจะจินตนาการถึงตอนนั้นว่าอย่างไรบ้างคะ ?


เเรนดี้ เพาช์ คือนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่เก่งมาก เป็นอาจารย์ที่เป็นที่รักของลูกศิษย์

เป็นพ่อลูกอ่อนที่มีลูก ๆ วัยกำลังน่ารัก วันหนึ่งเขาก็ได้รับข่าวร้ายว่าเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 6 เดือน เมื่อเขาต้องเผชิญกับโรคที่รักษาไม่หาย นี่คือที่มาของคำถามที่ว่าคุณมีความทรงจำตอนที่คุณอายุ 3 - 5 ขวบ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งที่น่าเศร้าที่สุดคือ การที่เขาได้รู้ว่าลูกของเขาจะจดจำเขาได้แค่นั้นและจะเลือนรางไปตามกาลเวลา


สิ่งที่เขาได้ปาฐกถาเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจากโลกนี้ไป คือหัวข้อที่ว่า "จงทำความฝันวัยเด็กของคุณให้เป็นจริง" ซึ่งได้สร้างความประทับใจและมีเสียงปรบมือให้อย่างล้นหลามในวันนั้น และสามารถสร้างแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา ฝันเล็ก ๆ ในวัยเด็กของเขาก็คือการทำห้องใต้หลังคา การทาสีผนังตามใจชอบ ในเวลาต่อมาเขาได้เป็นจินตวิศวกรของวอลต์ ดิสนีย์ และเขาได้เปิดสอนวิชา Building Virtual Worlds ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากอีกด้วย รวมถึงเรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมายที่เขาประสบความสำเร็จ ก่อนจากโลกนี้ไป เขาได้บอกรักและได้ใช้เวลากับคนที่รักอย่างคุ้มค่า ต่อมาเขาได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 แต่เรื่องราวของเขาไม่จากไป ยังคงทำหน้าที่ส่งต่อพลังชีวิตด้านบวกต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีวันจบสิ้น แท้จริงแล้วเรามีความไร้ขีดจำกัด และจินตนาการที่แสนล้ำเลิศที่สุดตั้งแต่ตอนเด็ก จงรักษามันไว้ นี่เป็นสิ่งที่แรนดี้ เพาช์ พยายามจะบอกเรา



พลังความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ


จินตนาการในวัยเด็ก

อัจฉริยะอีกท่านอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการคิดและจินตนาการ เพราะเขาต้องการพลังของจินตนาการมากกว่าตรรกะและเหตุผล ทำให้เขาสามารถจินตนาการถึงผลลัพธ์ได้ และกวางเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" เราสามารถมีความคิด จินตนาการไม่มีที่สิ้นสุด เราต่างมีความไร้ขีดจำกัดในตัวเอง และสิ่งที่กวางสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่องราวของแรนดี้ เพาช์ ก็คือ



1.จงมีสมองแบบผู้ใหญ่และหัวใจแบบเด็ก

การที่เราไม่หลงลืมความเป็นเด็กไป จะทำให้เราสามารถมีความสุขได้ง่ายขึ้น มีพลังความคิดที่สร้างสรรค์ จินตนาการ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในการทำงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์



2.มีความรักในสิ่งที่ทำ

การที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้นั้นย่อมเกิดจากความรักในงานที่ทำ จากการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอของเขา ที่สำคัญคือคนเราต้องค้นหาสิ่งที่รักให้เจอถึงจะสามารถทำสิ่งที่รักได้อย่างมีความสุข



3.การไม่ทิ้งความฝันของตัวเอง

ความฝันคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงจิตใจ และคือความหมายของชีวิต การที่คนเราไม่ทิ้งความฝันของตัวเองไปสักวันมันต้องเป็นจริงขึ้นมาอย่างแน่นอน อย่างที่ ดร.แรนดี้ เพาช์ ได้แสดงให้เราเห็นและทำให้ฝันเป็นจริง หากเราไม่ล้มเลิกไปเสียก่อน



4.การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและดูแลเอาใจใส่คนรอบข้าง

เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ชีวิตจะยืนยาวไปถึงเมื่อไหร่ สิ่งที่เราทำได้คือใช้ชีวิตให้ดีและมีความสุขที่สุด ที่สำคัญคือการที่เราหมั่นดูแลเอาใจใส่คนที่เรารักให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ค่ะ



5.การส่งต่อคุณค่าให้กับผู้คน

จากสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้น จากผลงานและการประสบความสำเร็จ รวมถึงข้อคิดที่เขาได้จากการเรียนรู้จากการป่วยครั้งนี้ ที่ทำให้จากโลกไปก่อนวัยอันควร สิ่งสุดท้ายที่เขาได้ฝากไว้ให้กับโลกนี้คือความรู้ แรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง คือการให้ที่ยิ่งใหญ่และไม่สูญหายไปแม้เขาจะจากโลกนี้ไป เป็นการให้ที่ทรงคุณค่าแก่โลกใบนี้จริง ๆค่ะ และกวางเชื่อว่าสิ่งสุดท้ายที่เขาจะบอกเราก็คือ คนเรานั้นเกิดมาเพื่อสร้างคุณค่าให้กับโลกใบนี้


ความสดใจ

ขอให้ผู้อ่านทุกคนไม่หลงลืมหัวใจที่เบิกบาน ความฝันและความสดใสในวัยเด็กและทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาให้ได้นะคะ

 

iStrong บริการให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยาที่มีใบรับรอง คุยทางโทรศัพท์หรือคุยแบบพบหน้า https://www.istrong.co/service

 

ที่มา

http://www.mascoops.com

http://www.tesa.or.th

https://th.wikipedia.org

Comments


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page