top of page
GDN 980 x 120 psychiatrist.jpg

3 สิ่งดีที่คุณอาจได้มาช่วงวิกฤต COVID-19

เหมือนกับหลายเหตุการณ์ในชีวิต ในความโชคร้ายมักจะมีความโชคดี ในวิกฤต COVID-19 ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นใจ ไหนจะต้องกักกันตัวมาเกิน 1 เดือนแล้ว ไหนจะเคอร์ฟิว บางรายตกงาน บางรายทำงานเท่าเดิมแต่เงินเดือนลดลง บางรายมีคนรักหรือคนรู้จักที่เป็น COVID-19 เลยพูดได้ว่าปัญหารุมล้อม แต่เป็นไปได้ไหมว่าในความมืดที่มากับ COVID-19 จะมีแสงสว่างในแง่ของสุขภาพจิตและการใช้ชีวิต วันนี้เรามีมุมมองทางจิตวิทยาที่น่าสนใจมาแชร์กันค่ะ


1. การเปรียบเทียบทางสังคมลดลง


แต่ก่อนหลายคนอาจเคยมีความอิจฉา หรือ รู้สึกล้มเหลว รู้สึกว่าชีวิตเราไม่ดีเท่าชีวิตคนรอบข้าง เนื่องจากการที่ทุกคนลงในโซเชียลว่าวัน ๆ ใช้ชีวิตอย่างไร เที่ยวหรูหรา กินดีอยู่ดี ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ต้องไปร้านคาเฟ่น่ารักทานอาหารญี่ปุ่นดี ๆ หรือ ไปเที่ยวกับครอบครัวหรือกับแฟน ทำให้คนที่ไม่ได้ชีวิตแบบนั้นรู้สึกด้อย ไถ app ไปดิ่งไป เพราะกำลังเอาตัวเองไปเปรียบกับเขาว่า ทำไมเราไม่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นบ้าง ทำไมชีวิตเราไม่สดใสเหมือนเขา ทำไมเราไม่มีสิ่งที่เขามี ทำไมนี่ ทำไมนั่น ฯลฯ


แต่เมื่อวิกฤต COVID-19 มากระทบการใช้ชีวิตคนทั่วประเทศ ทุกคนถูกบังคับด้วยนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ทุกวันนี้ การใช้ชีวิตของคนไทยทุกคนจึงเหมือนกันหมด ถึงแม้ว่าบางบ้านอาจจะสบายกว่าบ้านอื่นเพราะด้วยฐานะหรือการมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ แต่สุดท้ายแล้ว ทุกคนก็ไม่สามารถออกจากบ้านไปทำอะไรที่ตัวเองต้องการได้ ถูกกักกันตัวเหมือนกันหมด อาจทำให้เราคิดได้ว่า การที่เราเอาชีวิตเราไปเปรียบกับชีวิตคนอื่นนั้นไร้ประโยชน์​และเปลืองพลังของเราเปล่า ๆ และ สอนให้เราขอบคุณและ enjoy กับสิ่งที่เรามี


และในส่วนนี้ นักจิตวิทยามีคำอธิบายค่ะ ว่าเพราะเหตุใด เราจึงมักเผลอเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่น ทั้ง ๆ ที่มันมักไม่ทำให้เรารู้สึกดี นักจิตวิทยาอธิบายว่า สมองมนุษย์เราพัฒนามาเพื่อเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่น เป็นเพราะเรื่องของความปลอดภัย เพราะว่า เมื่อใดก็ตามที่เรารู้ว่าเราด้อยกว่าหรือไม่เท่าคนอื่น เราจะฮึดขึ้นมาทำให้ศักยภาพของเราเท่าคนอื่น “เพื่อที่จะได้อยู่รอด” ฉะนั้นสมองจะสั่งให้เราเอาตัวเองไปเปรียบกับคนอื่นอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะอยากเปรียบหรือไม่ เป็นสิ่งที่เรียกว่า แทบจะห้ามไม่ได้


แต่สิ่งที่เราห้ามได้คือความคิดของเรา และช่วงกักกันตัวนี้แหละค่ะ จะช่วยให้เราได้พักจากการเอาตัวเราไปเปรียบกับคนรอบข้าง และลองจัดการกับความคิดใหม่ ว่า เราไม่มีความจำเป็นต้องรู้สึกแย่นี่นะ เพราะโลกเราไม่เหมือนแต่ก่อนแล้ว การที่เราไม่ได้ไปใช้ชีวิตหรูหรา สะดวกสบาย แบบคนอื่น ไม่ได้แปลว่าชีวิตเราไม่ปลอดภัยหรือว่าเราจะอยู่ไม่รอด เมื่อเราเบรคตัวเองและคิดเช่นนี้ได้ เราก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของการเปรียบเทียบทางสังคม




2. เวลาที่เพิ่มขึ้น


ก่อนหน้านี้ มีหลายคนที่ต้องใช้ชีชีวิตแบบรีบ ๆ ชีวิตแบบอยู่ภายใต้ความกดดัน ใช้ชีวิตแข่งกับเวลา แล้วก็ต้องการเวลาพัก ต้องการวันหยุด หรือ free time เพิ่ม แต่ในเมื่อจู่ ๆ ทุกคนต้องอยู่บ้าน การทำงานถูกยับยั้งไปหรือลดลง รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยได้ทำนอกบ้าน เช่น ไปดูภาพยนต์ ไปห้างสรรพสินค้า ไปเล่นกีฬากับเพื่อนฝูง กลายเป็นมีเวลาว่างมากจนแทบจะล้นมือ และแทนที่จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้รู้สึกดี กลับทำให้บางท่านรู้สึกอึดอัด รู้สึกทำอะไรไม่ถูก


ความรู้สึกเหล่านี้ นักจิตวิทยาอธิบายว่า เกิดขึ้นเพราะสมองของเราโดยปกติแล้วจะปล่อยสารเคมีชื่อ โดปามีน (dopamine) เมื่อเราทำกิจกรรมอะไรสำเร็จ เป็นสารที่ทำให้เรารู้สึกดี กระฉับกระเฉง หรือ เป็นสารที่ทำให้เรามีความสุข เหมือนกับการได้รับของรางวัล ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเสร็จ ทำธุระ ทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ บน to-do list สมองจะให้รางวัลเราโดยการปล่อยโดปามีนให้รู้สึกดี แต่ในเมื่อตารางการใช้ชีวิตของเราถูกเปลี่ยนอย่างกลับตาลปัตรเพราะวิกฤต COVID-19 และฉวยโอกาสการทำอะไรให้สำเร็จของเราไป สารตัวนี้จึงหายไปหรือลดลง และสิ่งที่มาแทนคือความคิดลบ


แต่สิ่งที่หลายคนอาจจะเริ่มทำโดยไม่รู้ตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ คือ ตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน เพราะถึงแม้จะเล็กน้อยเพียงใด แต่เป้าหมายก็คือเป้าหมาย การตั้งเป้าว่า วันนี้ เราจะซักผ้า ตากผ้า และพับผ้าที่กองไว้ให้หมด และเมื่อได้ทำจริง ๆ แค่นี้ โดปามีนก็กลับมาแล้ว หรือ ชาวอินเตอร์เน็ตหลายคนตอนนี้หันมาร่วมทำ challenge ต่าง ๆ บนโซเชียลที่ชื่อว่า TikTok ซึ่งแต่ละ challenge นั้นต้องใช้เวลาฝึก บางอันอาจจะแทบหอบ เหมือนเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย ทำให้ได้รับทั้งโดปามีน และ สารที่ทำให้เรามีความสุขอีกตัวที่เรียกว่า เอ็นดอร์ฟิน (endorphin) มาช่วยให้อารมณ์ดี


ซึ่งการทำสิ่งเหล่านี้เป็นการรับมือกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ที่ดีค่ะ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเป็นการรักษาสุขภาพจิตของตัวเอง ให้มั่นคงและไม่ล้มลงเพราะวิกฤต เป็นทักษะที่เราอาจจะไม่เคยได้เรียนรู้ตอนก่อนหน้า COVID-19 แต่สามารถนำไปใช้ได้เมื่อวิกฤตสิ้นสุดลงค่ะ


3. ลับคมด้วยการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น


ก่อนโลกของอินเตอร์เน็ตจะเกิดมา คนเคยชอบโทษโทรทัศน์ว่าเป็นสื่อทำให้คนฉลาดน้อยลง เพราะคนหันมาดูโทรทัศน์มากขึ้นและละทิ้งการอ่าน แต่ทุกวันนี้ คนกลับได้อ่านมากขึ้น ไม่ว่าจะบนโซเชียลอย่าง Facebook และ Twitter, บล็อก, e-book หรือแม้กระทั่งบทความนี้ ทุกคนบนโลกออนไลน์ถูกท้าทายให้มาใช้ทักษะการอ่านและเขียนมากขึ้นเพราะการที่ต้องอยู่บ้านติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน


ซึ่งการถูกบังคับให้ใช้ทักษะการอ่านและเขียนเป็นสิ่งที่น่ายินดี จิตวิทยากล่าวว่า การอ่าน ทำให้คนฉลาดขึ้น เพราะการอ่านคือการที่ให้กล้ามเนื้อสมองได้ออกกำลัง ส่งผลให้เราตัดสินใจเก่งขึ้นและเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการป้องกันโรคทางสมองและโรคเกี่ยวกับความจำต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาในภายหน้า


สรุปแล้วว่า วิกฤตนี้ยังมีอะไรหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง และเปิดโอกาสให้เราได้ฝึกหลายทักษะที่เราอาจจะไม่มีโอกาสได้ฝึกมากเท่าในช่วงก่อนวิกฤต ไหนจะทักษะการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทักษะการปรับความคิด และทักษะการอ่านและเขียน ที่ยังเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตไปในตัวอีกด้วย ถือว่าเป็นแสงสว่างในความมืดนี้จริง ๆ ค่ะ


สำหรับใครที่กำลังเครียด กังวล คิดมาก ทั้งเรื่องของปัญหา Burn Out จากการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ ในครอบครัว คนรัก ไปจนถึงภาวะต่างๆ เช่น ซึมเศร้า ทุกปํญหาสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเราเสมอ

iSTRONG ยินดีให้บริการ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ดูรายละเอียดได้ที่นี่


 

iSTRONG Mental Health

ผู้ดูแลสุขภาพใจให้กับบุคคล ครอบครัว และองค์กร


บริการของเรา

สำหรับบุคคลทั่วไป

• บริการปรึกษา จิตแพทย์และนักจิตวิทยา : http://bit.ly/3lmThUa

• คอร์สฝึกอบรมทักษะด้านจิตวิทยา : http://bit.ly/3RQfQwS

สำหรับองค์กร

• EAP โปรแกรมสำหรับองค์กร : http://bit.ly/3RLI8Z8


โทร. 02-0268949 หรือ Line : @istrong

 

อ้างอิง : Breuning, L.G. (2020). What good can come of this? [Blog post]. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/intl/blog/your-neurochemical-self/202004/what-good-can-come

 

ประวัติผู้เขียน : นิเภา เมืองสมบูรณ์ บัณฑิตสาขาวิชาเอกนิติจิตวิทยา ทุนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากมหาวิทยาลัย Bay Path University และมีประสบการณ์เป็นผู้ให้คำปรึกษาฉุกเฉินในรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา 1 ปี ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาและทีมงานบริษัท iStrong

Comentarios


facebook album post - square (1).png
1.พวกหลีกเลี่ยงความผูกพัน (2).png
บทความล่าสุด
bottom of page